วันอาทิตย์ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้านภูมิเมือง : ฮาเตียน ภูมิเมืองพุทไธมาศของพระราชาเศรษฐี’

ภูมิบ้านภูมิเมือง : ฮาเตียน ภูมิเมืองพุทไธมาศของพระราชาเศรษฐี’

วันอาทิตย์ ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.
Tag :
  •  

ศาลเจ้าหมักกื๊วหรือมอจิ่ว

ตามเส้นทางเศรษฐกิจอาเซียนที่รู้จักกันถึง ถนนสาย R10 นั้น ปรากฏว่ามีชื่อเมืองฮาเตียน ซึ่งเป็นเมืองชายแดนริมฝั่งทะเล ถือเป็นเมืองท่าเกือบสุดอ่าวไทย จึงน่าสนใจตรงที่ในอดีตนั้นเมืองนี้เป็นเมืองที่รู้จักกันในชื่อเมืองพุทไธมาศ อาทิตย์นี้ได้เดินตามวิสัยทัศน์ของผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ไปตามถนนสายตราด-เกาะกง-สีหนุวิลล์-เข้าเวียดนามไปยังเกียงยาง และคะเมา

สำหรับเมืองฮาเตียนนั้นเป็นเมืองหนึ่งในเกียงยางที่ในอดีตนอกจากเป็นเมืองท่าเสรีไม่มีการผูกขาดสินค้าแล้วยังเป็นเมืองท่าที่มีเส้นทางการค้าไปถึงสยาม ถึงแม้ว่าความหลากหลายของสินค้าไม่มากเท่ากรุงศรีอยุธยาก็ตาม เมืองฮาเตียน(Hà Tiên) นี้ เขียนคำเรียงอย่างเวียดนามว่าเหอเซียน( ) แปลว่าแม่น้ำเซียนหากเป็นคำจีนจะเรียก เป็นเซียนเหอ ดูจะคุ้นกับชื่อที่ระบุในแผนที่ว่า เซียน คือ เซียม หรือสยามนั่นเอง อีกชื่อหนึ่งจีนเรียกคือ กั๋งโข่ว ( ) แปลว่าปากท่า หรือปากอ่าว ทำนองเดียวกับชื่อเมือง เปียม ที่ปรากฏในพงศาวดารเขมรแปลว่า ปากน้ำ ทำให้ชวนเข้าใจว่าทั้งเหอเซียนหรือเปียมนั้นหมายรวมถึงปากน้ำที่แม่น้ำสายหนึ่งไหลมาออกอีกสายหนึ่ง เรียกง่ายก็คือปากน้ำที่มีทางออกทะเลนั่นแหละ


แผนที่เมืองฮาเตียน


เมืองพุทไธมาศหรือฮาเตียนแห่งนี้นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1757 นั้นได้เกิดการชิงอำนาจกันในเขมรโดย พระอุไทยราชา (นักองตน) ได้หนีไปพึ่งพระโสทัต (หมักเทียนตื๊อ) ที่เมืองเปียม และยกย่องให้หมักเทียนตื๊อเป็นพระบิดาเลี้ยง หมักเทียนตื๊อได้สนองคุณโดยประสานกับญวนสนับสนุนนักองตนขึ้นเป็นสมเด็จพระนารายณ์ราชาครองแผ่นดินเขมร จึงทำให้ญวนนั้นได้สิทธิ์ครองดินแดน Bassac (เมืองปาสัก ซึ่งปัจจุบันคือ Soc Trang), Tra Vinh, Sa Dec (คือ Dong Thap), Chau doc (คือ An Giang) ซึ่งก่อนหน้านั้นญวนได้ My Tho และ Vinh Long, มาครองตั้งแต่ปี ค.ศ.1732 แล้ว จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีเมืองอีกหลายเมืองและเป็นประเทศราชของญวนก๊กเหงียนกว๋างนาม เรื่องนี้ฝ่ายเวียดนามอ้างว่าพวกญวนเข้าไปตั้งรกรากในพื้นที่ที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ ในขณะที่เขมรเองก็ท้วงว่าญวนมาขับผู้คนยึดพื้นที่ของเขมร

คนสำคัญที่น่ารู้จักคือหมักเทียนตื๊อ ในพงศาวดารไทยเรียกว่าพระยาราชาเศรษฐีญวนนั้นผู้นี้ มีบิดาเป็นชาวจีนชื่อ ม่อจิ่ว ( ) เป็นชาวเหลยโจว ( ) มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งมีเรียกชื่ออย่างเวียดนามว่าหมักกื๋ว (Mạc Cửu) ได้มีการสร้างศาลเจ้าอยู่ที่ฮาเตียนด้วย ม่อจิ่วหรือหมักกื๋วนี้ได้ยอมรับนับถือเป็นบุคคลสำคัญของฮาเตียนที่มาลงรากปักฐานที่ฮาเตียนระหว่าง ค.ศ.1671-1679 ในขณะที่ญวนขยายอำนาจอยู่แถบยาดิ่ง พงศาวดารญวนกล่าวว่าปี ค.ศ.1679 (ราว จ.ศ.1941) สยามส่งกองทัพเข้าไปยึดครองเขมรและเมืองเปียม ม่อจิ่วถูกจับตัวมาไว้ที่สมุทรสาคร และอาศัยช่วงชุลมุนในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์จึงหนีกลับมาอยู่ที่เมืองเปียม เรื่องนี้ไม่ปรากฏในพงศาวดารไทย ส่วนพงศาวดารเขมรได้ว่าการมีปัญหาเรื่องการเมืองในเขมร ที่เจ้าเขมรฝ่ายอิงญวนกับฝ่ายอิงสยามขัดแย้งแย่งอำนาจกัน และกองทัพสยามได้ส่งกำลังเข้าไป นอกจากเมืองฮาเตียนหรือเมืองเปียมนี้แล้ว ม่อจิ่วหรือหมักกื๋วยังได้ขยายอำนาจออกไปตั้งเมืองอื่นๆ อีก 6 เมือง ได้แก่-เกาะฟูก๊วก เมืองรักย้า (Rạch Giá) เมืองคะเมา (Ca Mau) ในเวียดนาม เมืองเเครบ (Kep) เมืองกำปอต (Kampot) เมืองสาเรียม (Phsar Ream) ในเขมร อีกช่วงหนึ่งมีเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับสยามสมัยพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี มีความในพงศาวดารว่า “อนึ่ง พม่าตั้งอยู่ ณ เมืองธนบุรีแลล้อมกรุงเทพฯ ไว้นั้น ในกรุงก็ได้มีหนังสือไปถึงพระยาราชาเศรษฐี พระยาราชาเศรษฐีจัดแต่งกองทัพลำเลียงอาหารเข้ามาช่วยถึงปากน้ำ พะม่าคอยสะกัดทางทำอันตรายอยู่ไปมิถึงพอสิ้นเสบียงอาหารแล้วก็กลับไป เห็นว่าความชอบเมืองพุทไธมาศมีแก่กรุงอยู่ บัดนี้เราจะให้ศุภอักษรไป ให้พระยาราชาเศรษฐียกพลทหารเข้ามาช่วยกันรบพม่าซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองธนบุรี จึงจะเป็นความชอบแก่พระยาราชาเศรษฐีสืบไป นายทัพนายกองทั้งปวงก็เห็นด้วย จึงรับสั่งให้แต่งศุภอักษรออกไปเมืองพุทไธมาศ ก่อนกรุงแตกเพียงสองวัน ทูตจากพระยาตากก็ไปถึงพุทไธมาศ และกลับมาถึงระยองเมื่อกรุงแตกได้เกือบจะครบเดือนพอดี” หลายครั้งที่พงศาวดารไทยเรียกฮาเตียนว่าเป็นเมืองปากน้ำพุทไธมาศ ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองเก่าที่สัมพันธ์กับสยามมาก่อน ซึ่งต้องศึกษาต่อว่าเมืองพุทไธมาศ และเมืองบันทายมาศนั้นเป็นเมืองเดียวกันหรือคนละเมือง


ภาพเขียนในศาลเจ้าหมักกื๊ว


ปลาวาฬสัตว์ที่นับถือของชาวทะเลเวียดนาม


มอจิ่วหรือหมักกื๋ว บุคคลสำคัญของฮาเตียน


ตลาดขายของในฮาเตียนปัจจุบัน


ฮาเตียนเมืองท่าสำคัญติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา


ฮาเตียนหรือเมืองพุทไธมาศเมืองท่าสำคัญ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

วิเคราะห์ 7 ข้อตีแสกหน้า‘ภูมิธรรม’ เบี่ยงประเด็นโต้ครหา‘นายกฯ’ใช้เงินหลวงไปต่างประเทศ

’มิ้งค์‘คิวร้อน! ทะลุตัดเชือกชิงแชมป์โลก

หงส์เปิดบ้านฉลองแชมป์ลีก!เช็คเงื่อนไขล่าตั๋วยูซีแอลนัดสุดท้าย

นาทีชีวิต! กู้ภัยช่วยหญิง พยายามโดดสะพานพระราม4

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved