วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้านภูมิเมือง : ชาวจาม ภูมินักเดินเรือทะเลจากหมีเซิน

ภูมิบ้านภูมิเมือง : ชาวจาม ภูมินักเดินเรือทะเลจากหมีเซิน

วันอาทิตย์ ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2559, 06.00 น.
Tag :
  •  

คณะจากสถาบันอยุธยาศึกษาที่มี่เซิน

สมัยอยุธยานั้นมีเรื่องราวของแขกจามหรือกองอาสาจามปรากฏอยู่ เมื่อสถาบันอยุธยาศึกษา โดย ดร.จงกล เฮงสุวรรณ และคณะได้มีโครงการพาไปศึกษาเรื่องนี้ที่ประเทศเวียดนาม จึงเป็นที่สนใจ อาทิตย์นี้ได้ตามรอยค้นหาชาวจามจากโบราณสถานสำคัญที่ปราสาทหมีเซิน กับโครงการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 3 อาณาจักรจามหรือจามปานั้นเป็นอาณาจักรโบราณที่ตั้งขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 7 อยู่ทางใต้ของจีนและอยู่ทางเหนือของฟูนัน ปัจจุบันคือ เมืองเว้ กว่างนาม ถัวเถียน แผนรัง และ ญาจาง


สมัยก่อนพื้นที่นี้เป็นเขตทุรกันดารที่ทำให้จีนไม่สามารถครอบครองพื้นที่นี้ได้ ชนชาติจามนี้สืบเชื้อสายจากชาว มาลาโย-โพลินีเชียน ที่เชื่อว่ามีวัฒนธรรมซาหินห์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ชนชาติจามเป็นชาวทะเลที่มีความสามารถทางการเดินเรือ ต่อมาราว พ.ศ.999 กองทัพจีนได้ยกทัพมาตีเมืองหลวงของชาวจามได้ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 นั้นมีชาวจีนชื่อ มาตวนหลิน ได้เขียนเรื่องของชาวหลินยี่ หรือ ชาวจามกลุ่มนี้ว่า “ชาวบ้านสร้างบ้านด้วยอิฐแล้วฉาบด้วยปูน หญิงและชายมีผ้าฝ้ายผืนเดียวห่อหุ้มร่างกาย และชอบเจาะหูและห้อยห่วงเล็ก ผู้ดีใส่รองเท้าหนัง พวกไพร่เดินเท้าเปล่า พระราชาทรงพระมาลาทรงสูง ทรงช้าง
และล้อมรอบด้วยบริพารถือธงและกลดกั้น”

คณะจากสถาบันอยุธยาศึกษาที่ศึกษาเรื่องจาม

เมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น  ชาวจามถูกกองทัพของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 กษัตริย์เขมรตีได้ ต่อมาพ.ศ.1856 พ่อขุนรามคำแหงแห่งแคว้นสุโขทัยได้เข้าตีอีก พ.ศ.2014 ราชวงศ์เลของอาณาจักรไดเวียดได้ยกมาตีกรุงวิชัยเมืองหลวงของจาม ปัจจุบันคือเมืองบิญดิญ ครั้งนั้นชาวจามเสียชีวิต 6 หมื่นคน ตกเป็นเชลย 3 หมื่นคน ทำให้เสียความเป็นชาติไปพร้อมกับยอมสวามิภักดิ์เป็นเมืองขึ้นของญวนหรืออาณาจักรไดเวียด

ครั้งนี้จึงมีชาวจามส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาอาณาจักรสยามเมื่อพ.ศ.1991 และเป็นอาสาจามในสมัยอยุธยา ชาวจามกลุ่มแรกในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เข้าเป็นทหารชั้นดีในราชสำนักอยุธยาทำการรบ การเดินเรือ และการค้าทางทะเล ที่ขยายอาณานิคมของอาณาจักรอยุธยาลงทางใต้ ชาวจามได้เข้าตีเมืองชุมพรจากนครศรีธรรมราชได้ จึงปกครองดินแดนแถบเมืองชุมพร และเมืองไชยาคอคอดกระและยังกวาดต้อนชาวเมืองพงสาลี และชาวเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู เป็นพลเมือง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญตั้งแต่นั้นมา

จารึกที่ปราสาทหินจาม

สมัยพระนารายณ์ ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์ ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการเดินเรือทะเล โดยเป็นพนักงานกำปั่นหลวง ในรัชกาลที่ 3 ระหว่าง พ.ศ.2330-2394 ช่วงที่ญวนทำสงครามกับเขมรช่วงที่ญวนทำสงครามกับเขมร ชาวจามหรือแขกจามที่นับถือศาสนาอิสลามได้ถูกกวาดต้อนจากกัมพูชาเข้ามาอยู่ครั้งแรกที่ ตำบลนํ้าเชี่ยว แห่งเดียว ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ชาวจามได้อพยพหนีจากการบีบบังคับด้านศาสนาจากฝรั่งเศสที่ยึดเมืองเขมร จามกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า แขกจาม หรือจามปา เดินทางด้วยเรือมาเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งแยกย้ายตั้งถิ่นฐานอยู่แถวแหลมงอบ ปากนํ้าระยองและบ้านครัว

ปราสาทของจามที่หมีเซิน

ชาวจามนั้นเดิมนับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา เมื่อชาวมลายูเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ไปถึงชาวจามส่วนหนึ่งจึงหันมานับถือศาสนาอิสลามตาม เรียกกันว่า แขกจาม วัฒนธรรมจามนี้มีความเจริญรุ่งเรืองในหุบเขาหมี่เซินโดยพระเจ้าภัทรวรมันที่ 1 ในคริสตศวรรษที่ 4 ครอบครองพื้นที่ทางตอนใต้ของฮานอยไปถึงเวียดนามใต้และตะวันออกของกัมพูชา มีกษัตริย์ครองอาณาจักร 78 องค์ ใน 14 ราชวงศ์ บรรดาปราสาทที่สร้างขึ้นถวายพระศิวะนั้นมีอยู่มากมายกว่า 70 แห่ง แต่ถูกทำลายจากสงคราม

ที่น่าสนใจก็คือกลุ่มปราสาทที่หมีเซิน ซึ่งได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 23 เมื่อปี พ.ศ.2542 ณ เมืองมาร์ราเกช ประเทศโมร็อกโก ปราสาทแห่งนี้ เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีอิทธิพลมาก ผลักดันให้เกิดการพัฒนาด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องไปกว้างไกล ปราสาทที่หุบเขาหมีเซินนับเป็นโบราณสถานของศาสนาฮินดูที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดของอินโดจีน

กลุ่มปราสาทหมีเซิน

จารึกของปราสาทจาม

ปราสาทจามที่หมีเซิน

กลุ่มปราสาทหมีเซิน

ศิลปกรรมของเทวสถานจามที่หมีเซิน

โบราณวัตถุดินเผาของจาม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘กรมทะเล’นำทัพนักดำน้ำอาสาดำน้ำเก็บขยะ-ทำความสะอาดปะการัง อุทยาน‘เขาหลัก’

'ใหม่ - ดาวิกา โฮร์เน่'Gucci Brand Ambassador จากประเทศไทยเข้าร่วมชมแฟชั่นโชว์ Gucci Cruise 2026

นายกฯสั่งปลดล็อคส่งออก‘ข้าวไทย’ช่วย‘คนตัวเล็ก’ส่งออกด้วยตนเองได้

'เบสท์ ชนิดภา'เปิดโปงกลลวงมิจฉาชีพ ปั่นหัวหลอกโอนเงิน 1.2 ล้าน บูลลี่สวยแต่ไม่ฉลาด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved