ฐานเสาธรรมจักรชิ้นสำคัญ
จากเหตุการณ์ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ถูกเรียกร้องให้ไม่มีการย้ายรวมได้ทำให้มีการหารือเพื่อพัฒนาขึ้นใหม่ในที่ดินของเรือนจำกลางนครปฐมเดิม 6 ไร่นั้น นายวีระโรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ได้นำคณะเดินทางไปร่วมประชุมหารือกับนายชาติชายอุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เพื่อร่วมกันวางแนวทางการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์โดยจัดใหม่ตามแนวคิดของ “ความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมทวารวดีในนครปฐม” นั่นคือ นครปฐมนั้นมีความสำคัญในฐานะเมืองทวารวดีที่เป็นจุดเริ่มของการเผยแพร่พุทธศาสนาให้รุ่งเรืองตลอดมาจนทุกวันนี้คงไม่ใช่เรื่องธรรมดาแล้ว เพราะนครปฐมนั้น ถูกอาคารสถานที่ถมทับเสียจนหลักฐานทางโบราณคดีถูกทำลาย จนมองไม่เห็นร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตได้จริง
ในจดหมายเหตุหลวงจีนอี้จิง หรือ พระภิกษุอี้จิง และหลวงจีนเฮียนจัง (ยวนฉ่าง) เมื่อ พ.ศ.1150 ได้ระบุไว้ว่า มี อาณาจักรอันใหญ่โตอาณาจักรหนึ่ง อยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (พม่า) และเมืองอิศานปุระ (เขมร) ชื่อโตโลปอตี้ (ทวารวดี) ซึ่งต่อมาภายหลังนักโบราณคดีได้สำรวจพบโบราณสถาน และพระพุทธรูปที่สร้างตามแบบฝีมือช่างครั้งราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (พ.ศ.860-1150) เป็นจำนวนมากที่นครปฐม และเมืองต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเผยแพร่ไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์ วัฒนธรรมจากศิลปะแบบ “ทวารวดี” นี้ ปรากฏว่าได้แผ่ขยายไปยังแหล่งชุมชนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ที่สำรวจพบแล้วประมาณ 15 แห่ง ทิศเหนือสุดจดจังหวัดพิจิตร ทิศใต้จดจังหวัดเพชรบุรี เมืองที่กระจายห่างออกไปทางตอนเหนือ เช่น เมืองหริภุญชัย ในภาคเหนือ และเมืองฟ้าแดด-สูงยาง ในจังหวัดกาฬสินธุ์ได้นั้น มีเมืองนครปฐมโบราณเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญของวัฒนธรรมทวารวดี
ภาพปูนปั้้นที่จุลประโทณเจดีย์
สำหรับนครปฐมนั้นเป็นพื้นที่ของชุมชนโบราณหรือสร้างเป็นเมืองขึ้นนั้นประมาณจากการสร้างพระปฐมเจดีย์เมื่อราว พ.ศ.300 ซึ่งเชื่อว่าเคยมีอำนาจสูงสุด และเคยเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรแห่งนี้ในพุทธศตวรรษที่ 11-16 ซึ่งพบว่าปูชนียสถานขนาดใหญ่สร้างไว้เป็นจำนวนมาก และยังเหลือให้เห็นอยู่อย่างเช่น โบราณสถานที่วัดพระประโทณเจดีย์ วัดพระเมรุ วัดพระงาม และวัดดอนยายหอม เป็นต้น โบราณสถานที่ค้นพบนั้นล้วนฝีมือประณีต งดงาม มีเครื่องประดับร่างกายสตรีทำด้วยดีบุก เงิน และทอง รูปปูนปั้นชาวต่างประเทศ ทำให้เชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการติดต่อกับประเทศอื่น เช่น จีน และชาวตะวันตก
จากการศึกษาและสำรวจได้พบว่านครปฐมนั้นมีกษัตริย์ครองแผ่นดินอยู่หลายพระองค์ พบว่ามีเนินปราสาทเดิมอยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ และพบว่ามีการทำเงินตราแต่ละรัชกาลขึ้นใช้เอง เป็น เงินตราหลายรูปแบบ เช่น รูปสังข์ ปราสาท แพะ ปูรณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม) เป็นต้น เป็นหลักฐานของความเป็นเมืองและราชวงศ์กษัตริย์ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส ได้อ่านจารึกที่เงินตราแล้วแปลได้ความว่า “บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี” นครปฐมโบราณแห่งนี้ซึ่งมีศูนย์กลางของเมืองโบราณอยู่นครชัยศรีแห่งนี้มีอำนาจสูงสุดอยู่ประมาณ200 ปี จึงค่อยเสื่อมลงในที่สุดขอมที่รุ่งเรืองตามมานั้นได้มีอำนาจในแถบลุ่มแม่น้ำท่าจีนและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้เข้ามาตีเมืองสำคัญจนพ.ศ.1500 เป็นอันจบสิ้นของอาณาจักรแถบนี้ส่วนจะเรียกให้นครปฐมให้เป็นอาณาจักรทวารวดีหรืออาณาจักรสุวรรณภูมิอย่างไรก็ว่ากันไปสิ่งสำคัญนั้นวันนี้นครปฐมต้องย้อนอดีตให้เห็นความรุ่งเรืองแห่งวัฒนธรรมทวารวดีที่เกิดขึ้นในอดีตสู่อนาคตให้ได้
ปูนปั้้นศิลปทวาราวดี
เงินตราทวาราวดี
แผนที่อาณาจักรทวราวดี
พระพุทธรูปศิลปทวารวดี
ภาพจำหลักชิ้นสำคัญ
หน้าพระพุทธรูปทวารวดี
เรือนจำกลางนครปฐม
ธรรมจักรความรุ่งเรืองพุทธศาสนา
รมว.ชมพิพิธภัณฑ์ปัจจุบัน
รมว.วัฒนธรรมและจังหวัดประชุมร่วมกัน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี