วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ‘คู่บุญคู่พระราชหฤทัย’ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ‘คู่บุญคู่พระราชหฤทัย’ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันศุกร์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559, 06.00 น.
Tag : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  •  

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) บ้านเลขที่1808 ถนนพระรามที่ 6 ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร อันเป็นบ้านของพระอัยกาฝ่ายพระมารดา ทรงเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคลกิติยากร (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) ประสูติแต่หม่อมหลวงบัวกิติยากร (สกุลเดิม สนิทวงศ์) มีพระพี่น้องคือ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์, หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ และหม่อมราชวงศ์หญิงบุษบา กิติยากร

สำหรับพระนาม “สิริกิติ์” เป็นพระนามที่ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7อันมีความหมายว่า “ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร”มีชื่อเล่นว่า “คุณหญิงสิริ” ส่วน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกว่า “แม่สิริ”


ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษและเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปเดนมาร์กและฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ ก็ยังคงเรียนเปียโนและตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส

ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ ได้มีโอกาสเฝ้าฯรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีสเพื่อทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ ทรงเยี่ยมพระอาการเป็นประจำและในช่วงระยะเวลาที่ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าถวายการดูแล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าศึกษาในโรงเรียนPensionnat Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้น หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์เป็นการภายใน เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492

หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ ยังคงศึกษาต่อ กระทั่งพ.ศ.2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนคร เพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์โปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับด้วย

เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม โดยมี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จเป็นองค์ประธาน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในทะเบียนสมรส และโปรดให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร พร้อมทั้งสักขีพยานลงนามในทะเบียนนั้น หลังจากนั้นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จออกในพระราชพิธีถวายน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทรงรดน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น “สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์” พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ในการนี้ด้วย

ต่อมา ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณี เมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ขึ้นเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี” หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ จนกระทั่งพระองค์ทรงมีพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงมีพระชันษาได้ 3 เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี จึงเสด็จนิวัติประเทศไทย

เมื่อพ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม-5 พฤศจิกายน เป็นระยะเวลา 15 วัน จึงต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ดังนั้น พระองค์ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถในอันที่จะรับพระราชภารกิจในคราวนี้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวช

ต่อมา ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศว่าตามราชประเพณี เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เคยมีประกาศให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวช และได้ปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์ด้วยพระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี ว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ” นับว่าทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ที่ 2 ของประเทศไทย โดยพระองค์แรก คือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ(ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

ตลอดระยะเวลาแห่งการดำรงพระอิสริยยศ “พระราชินี” จนถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงปฏิบัติภารกิจน้อยใหญ่นานัปการ ทั้งในฐานะ “พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของปวงชนชาวไทย” และในฐานะ “คู่บุญคู่พระราชหฤทัย” ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ ทั้งโดยตามเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงเยี่ยมราษฎรในชนบททั่วทุกภูมิภาค แม้ตรากตรำพระวรกายเนื่องจากการคมนาคมในสมัยนั้นยังไม่สะดวกสบายเหมือนในปัจจุบัน ก็มิได้ทรงย่อท้อแต่อย่างใด ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างต่อเนื่องและยาวนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ให้ทรงพระเกษมสำราญ ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดกาลนานเทอญ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญผ้าไตรและเครื่องไทยธรรม พร้อมกับเสาเทียนชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติ ณ วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ จ.นครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญผ้าไตรและเครื่องไทยธรรม พร้อมกับเสาเทียนชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติ ณ วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ ฯ จ.นครสวรรค์
  • คุณแหน : 3 กรกฎาคม 2568 คุณแหน : 3 กรกฎาคม 2568
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี  เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการแข่งขันกระชับมิตรฮอกกี้นํ้าแข็งจีน-ไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการแข่งขันกระชับมิตรฮอกกี้นํ้าแข็งจีน-ไทย
  • คุณแหน : 6 ตุลาคม 2567 คุณแหน : 6 ตุลาคม 2567
  • กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงานชุมนุมกาชาด ครั้งที่ 12 ประจำปี 67 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงานชุมนุมกาชาด ครั้งที่ 12 ประจำปี 67 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี  เสด็จฯ ทรงเปิดนิทรรศการ‘ราชภูษิตาภรณ์สยาม’(Royal Court Textiles of Siam) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดนิทรรศการ‘ราชภูษิตาภรณ์สยาม’(Royal Court Textiles of Siam)
  •  

Breaking News

‘ภูมิธรรม’รอ‘สมช.’เสนอขอใช้งบกลางช่วยเหลือ‘แคมป์ผู้ลี้ภัย’หลังสหรัฐตัดงบ

'สิริพงศ์'ฟาดกลับ'ทักษิณ'ไม่รู้ผู้นำเขมรมีจริยธรรมหรือไม่ แต่ผู้นำไทยเรียก'อังเคิล' อยากได้ไรบอก!

แสบจริง! ฟัง‘ทักษิณ’แล้วอยากให้‘นิรโทษกรรม’กลับมาเป็นนายกฯ โหวตเลย

พร้อมสละเพื่อแผ่นดิน! 'พลทหารธนพัฒน์'เล่านาทีเหยียบกับระเบิดจนต้องเสียขา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved