ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์แห่งสาธารณรัฐเอสโตเนียประจำประเทศไทย และประธานคณะ กก.กลุ่มโรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์ พร้อมภริยา ทิพวรรณ เตชะวิจิตร์ ต้อนรับ ดร.ศรีภูมิ ศุขเนตร ประธานคณะกงสุลกิตติมศักดิ์แห่งประเทศไทย และ ม.ร.ว.วรรณาภรณ์ ศุขเนตร
ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์แห่งสาธารณรัฐเอสโตเนียประจำประเทศไทย และประธานคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์เป็นประธานจัดงานเลี้ยงฉลองวันชาติเอสโตเนียครบรอบ 100 ปี โดยงานนี้ได้รับเกียรติจากคณะทูตานุทูตประจำประเทศไทย จากประเทศต่างๆ ตัวแทนทูต พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมแสดงความยินดี พร้อมชมการบรรเลงดนตรีคลาสสิก
จากผู้แทนนักเรียนโรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจ้นท์ กรุงเทพฯณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (หอประชุมเล็ก) กรุงเทพฯ เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561
โดย ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ ในฐานะกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์แห่งสาธารณรัฐเอสโตเนียประจำประเทศไทย ขึ้นกล่าวต้อนรับว่า “เป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ได้จัดงานฉลองครบรอบวันประกาศอิสรภาพของสาธารณรัฐเอสโตเนียปีนี้มีความพิเศษกว่าทุกปี เพราะเป็นปีที่ชาวเอสโตเนียมีการเฉลิมฉลองวันประกาศอิสรภาพครบรอบ 100 ปีในสัปดาห์นี้ทั่วทั้งประเทศ ก่อนหน้านี้สาธารณรัฐเอสโตเนียได้ฉลองความเป็นเอกราชในทุกๆ ปี จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1940 เมื่อรัสเซียได้เข้าปกครองสาธารณรัฐเอสโตเนีย รัฐบาลพลัดถิ่นก็ยังคงเฉลิมฉลองความเป็นเอกราชทุกปีนอกประเทศ จนเมื่อถึงปี ค.ศ. 1991 เมื่อรัฐบาลเอสโตเนียได้รับเอกราชคืนและสามารถกลับมาเฉลิมฉลองเอกราชอย่างเป็นทางการภายในประเทศอีกครั้ง โดยวันประกาศอิสรภาพตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี สาธารณรัฐเอสโตเนียและประเทศไทย ได้มีการเชื่อมสัมพันธไมตรีเมื่อ 26 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1992 หลังจากที่รัฐบาลไทยได้อนุมัติวีซ่า 30 วัน ให้กับผู้ที่ถือ
พาสปอร์ตของเอสโตเนีย ทำให้ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมามีชาวเอสโตเนียเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และส่งผลให้ชาวเอสโตเนียนเข้ามาติดต่อขอความช่วยเหลือจากกงสุลเอสโตเนียทั้งในกรุงเทพฯ และภูเก็ตเป็นจำนวนมากขึ้น
มร.เชวัง โชเฟล ดอร์จี ออท.ภูฏาน พร้อมภริยา
แม้ว่าเอสโตเนียจะเป็นประเทศเล็กๆ แต่มีคนรุ่นใหม่และคนวัยทำงานมากมายที่ทำงานด้านการดูแลระบบแอพพลิเคชั่นดิจิตัลในเมืองสำคัญต่างๆ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติมากที่ได้ต้อนรับกลุ่มสมาคมที่มีชื่อว่า Planetway ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิตัลและวิศวกรรม เป็นชาวเอสโตเนีย 10 คน และชาวญี่ปุ่น 10 คน ที่โรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจ้นท์ กรุงเทพฯ ซึ่งทั้ง 20 คนนี้ กำลังทำโปรเจกท์สาคัญให้แก่ อุตสาหกรรมประกันภัยของชาวญี่ปุ่น พวกเราได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะให้มีโซลูชั่น สำหรับอุตสาหกรรมด้านประกันภัยในเมืองไทยและสิงคโปร์ พวกเรากำลังวางแผนที่จะจัดตั้งสถาบันดิจิตัลอะคาเดมี่ในกรุงเทพฯ เพื่อที่จัดอบรมเกี่ยวกับโปรแกรมดิจิตัล รวมทั้งหลักสูตรที่เรียกว่า “White Hackers” และจะมีการประชุมเรื่องสกุลเงินดิจิตัลในวาระต่อไป ถ้าแผนการนี้สำเร็จลุล่วงจะช่วยแก้ปัญหาการบริหารจัดงานสกุลเงินดิจิตัลบิทคอยน์ได้ และชื่อเสียงของสาธารณรัฐเอสโตเนียจะเป็นสัญลักษณ์ของประเทศที่มีความเป็นหนึ่งในด้าน “ดิจิตัล” ใน 20 ปีที่ผ่านมานี้ กระผมได้รับแต่งตั้งให้เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ของสาธารณรัฐเอสโตเนีย มีนักเรียนชาวเอสโตเนียนมากกว่า 100 คนที่ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจ้นท์ กรุงเทพฯ และพัทยา มีนักเรียนหลายคนที่ได้โอกาสและสามารถไปศึกษาต่อที่ Oxford University, Cambridge University, Imperial College, London School of Economics และมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
และเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการแต่งตั้งท่านกงสุลของ Eastern Seaboard เพื่อให้ตอบสนองต่อการขยายแผนพัฒนากลุ่ม EEC ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกที่ได้ยื่นเรื่องและกำลังรอการอนุมัติจากรัฐบาลไทย ซึ่งความสาคัญของการเฉลิมฉลองครั้งนี้ ได้เตรียมสุนทรพจน์ของท่านประธานสาธารณรัฐเอสโตเนียและสุนทรพจน์ของกระผมเองในฉบับภาษาไทยที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า และมีภาพประกอบบทความที่สวยงามเกี่ยวกับสาธารณรัฐเอสโตเนีย ซึ่งในปัจจุบันได้รับการขนานนามว่าเป็นประเทศผู้นำทางด้านดิจิตัล สิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จของการเป็นประเทศด้านเทคโนโลยีหรือดิจิตัล คือรัฐบาลเอสโตเนียได้มีการคิดริเริ่มตลอดจนได้รับการสนับสนุนที่ดีจากหน่วยงานภาคเอกชนในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนสร้างกลุ่มstartup สาธารณรัฐเอสโตเนียให้เป็นที่รู้จักว่ามีเทคโนโลยีขั้นสูงที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจากข้อมูลในหนังสือพิมพ์จะพบว่าสาธารณรัฐเอสโตเนียมีชื่อเสียง
มร.ฟรานซิสกู วาช ปาตตู ออท.โปรตุเกส กับ ดร.สุธรรม วลัยเสถียร กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประเทศชิลี
ในการคิดค้นโปรแกรม Skype และ KSI Blockchain ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่คิดค้นขึ้นโดยชาวเอสโตเนียน รัฐบาลเอสโตเนียได้นำเสนอโปรเจกท์ด้านเทคโนโลยีต่างๆ มากมายรวมทั้ง e-Government ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชน ในด้านของความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพของการให้บริการด้านออนไลน์ รวมทั้งระบบลายเซ็นดิจิตัลและการเลือกตั้งออนไลน์ ซึ่งช่วยให้เกิดความโปร่งใสและลดปัญหาการทุจริตได้อีกด้วย ทั้งนี้รัฐบาลเอสโตเนียได้มีการจัด อบรมด้าน e-Governance ให้แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 60 ประเทศ ผมได้แนบแผ่นพับของโรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจ้นท์ ซึ่งเป็นโรงเรียนนานาชาติระบบอังกฤษ และระบบ IB รวมทั้งแผ่นพับของสถาบันการศึกษานานาชาติรีเจ้นท์ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรปริญญาตรีของ UOL-LSE ที่เปิดสอนที่กรุงเทพฯ พันธกิจสำคัญของผมคือการสร้างนักเรียนที่มีความเป็นผู้นำรอบด้าน ซึ่งพวกเขาจะเป็นบุคลากรที่ดีที่จะทำให้โลกของเราน่าอยู่ สงบสุข และสามารถเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐเอสโตเนียให้ดียิ่งขึ้นไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี