วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'เมืองลับแล' ภูมิเมืองแม่หม้ายผู้รักสัจวาจา

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'เมืองลับแล' ภูมิเมืองแม่หม้ายผู้รักสัจวาจา

วันอาทิตย์ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.
Tag : อุตรดิตถ์ ถ้ำหลวง เมืองลับแล ประวัติเมืองลับแล
  •  

เมืองลับแล

จากเหตุการณ์ถ้ำหลวงนั้นมีเรื่องลี้ลับกล่าวถึงเมืองลับแล จึงทำให้นึกถึงตำนานเมืองแม่หม้ายที่รู้จักกันมานานว่าเป็นเมืองลับแล  ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ อาทิตย์นี้ได้ตามรอยหาภูมิสถานแห่งนี้ไปกับเพื่อนธรรมชาติ ซึ่งนำพาไปชุมชนโบราณแห่งนี้นัยว่าเดิมเป็นชุมชนโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย  ก่อนจะถูกทิ้งร้างนั้นได้มีการอพยพเทครัวชาวเชียงแสนมาตั้งรกรากเพิ่มเติม ความเป็นมาของคำว่า “ลับแล” นั้น สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้สันนิษฐานไว้ว่าเดิมชาวเมืองแพร่ เมืองน่าน หนีข้าศึกและความเดือดร้อนมาซุ่มซ่อนตั้งชุมชนอยู่บริเวณนี้ ด้วยเหตุเป็นที่ป่ารก หลบซ่อนตัวง่ายและ ภูมิประเทศอยู่ในหุบเขาที่มีเนินสลับกับที่ต่ำ คนต่างเมืองหากไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศแล้วจะหลงทางได้ง่ายจึงลี้ลับเหมือนเมืองลับแลคือเมืองที่มองไม่เห็น


ชาวพื้นเมืองลับแล

จนเล่าว่าคนมีบุญเท่านั้นจึงจะเข้าไปถึงเมืองลับแลได้  นอกจากนี้มีตำนานเล่าขานว่า ครั้งหนึ่งมีชายคนหนึ่งเข้าไปหาของป่าและล่าสัตว์ในป่า ได้เห็นหญิงสาวสวยหลายคนเดินออกมาจากกลางป่า ครั้นมาถึงชายป่า นางเหล่านั้นก็เอาใบไม้ที่ถือมาไปซ่อนไว้ในที่ต่างๆ แล้วก็เข้าไปในเมือง ด้วยความสงสัยชายหนุ่มจึงแอบหยิบใบไม้มาเก็บไว้ใบหนึ่ง ตอนบ่ายกลุ่มหญิงสาวนั้นกลับมา ต่างก็หาใบไม้ที่ตนซ่อนไว้เมื่อพบแล้วก็ถือใบไม้นั้นเดินหายลับไป แต่มีหญิงสาวคนหนึ่งหาใบไม้ไม่พบ เพราะชายหนุ่มนั้นแอบหยิบใบไม้มา นางจึงวิตกที่กลับไปไม่ได้ ชายหนุ่มจึงปรากฏตัวให้เห็นและคืนใบไม้ให้และมีข้อแลกเปลี่ยนคือ ขอติดตามนางไปด้วย

การแต่งกายชาวลับแล

ด้วยอยากเห็นเมืองลับแลที่คนกล่าวขานถึงแม่หม้าย หญิงสาวจึงยินยอมแล้วนางพาชายหนุ่มเข้าไปในเมืองลับแล ซึ่งชายหนุ่มเห็นว่าทั้งเมืองมีแต่ผู้หญิง นางอธิบายว่า คนในหมู่บ้านนี้ล้วนมีศีลธรรม ถือวาจาสัตย์ ใครประพฤติผิดก็ต้องออกจากหมู่บ้านไป ผู้ชาย ส่วนมากมักไม่รักษาวาจาสัตย์ ทำให้ต้องออกจากหมู่บ้านไปจนหมด แล้วนางก็พาชายหนุ่มไปพบมารดาโดยชายหนุ่ม เกิดความรักใคร่ในตัวนางจึงขออาศัยอยู่ด้วย มารดาของหญิงสาวก็ยินยอมแต่ให้ชายหนุ่มสัญญาว่าจะต้องอยู่ในศีลธรรม ไม่พูดเท็จ ชายหนุ่มแต่งงานอยู่กินกับหญิงสาวชาวลับแลจนมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน

ชายหนุ่ม​ลับแล

วันหนึ่งขณะที่ภรรยาไม่อยู่บ้านนั้น ชายหนุ่มผู้เป็นพ่อเลี้ยงบุตรอยู่แล้วบุตรน้อยเกิดร้องไห้หาแม่ไม่ยอมหยุด ผู้เป็นพ่อจึงปลอบโกหกว่า “แม่มาแล้วๆ” มารดาของภรรยาได้ยินเข้าก็โกรธมากที่บุตรเขยพูดเท็จ  เมื่อบุตรสาวกลับมาก็บอกให้รู้เรื่อง  ฝ่ายภรรยาของชายหนุ่มเสียใจมากที่สามีไม่รักษาวาจาสัตย์ นางบอกให้เขาออกจากหมู่บ้านไปเสีย แล้วนางก็จัดหาย่ามใส่เสบียงอาหารและของใช้ที่จำเป็นให้สามี พร้อมทั้งขุดหัวขมิ้นใส่ลงไปด้วยเป็นจำนวนมาก จากนั้นก็พาสามีไปยังชายป่า ชี้ทางให้แล้ว  นางก็กลับไปเมืองลับแล  ชายหนุ่มจำต้องเดินทางกลับบ้านตามที่ภรรยาชี้ทางให้ ระหว่างทางที่เดินไปนั้น เขารู้สึกว่าถุงย่ามที่ถือมาหนักขึ้นเรื่อยๆ และหนทางก็ไกลมาก จึงหยิบเอาขมิ้นที่ภรรยาใส่มาให้ทิ้งเสียจนเกือบหมด

ผ้าทอลับแล

ครั้นเดิน  ทางกลับไปถึงหมู่บ้านเดิมญาติมิตรต่างก็ซักถามว่าเหตุที่หายไปอยู่ที่ไหนมาเป็นเวลานานชายหนุ่มจึงเล่าให้ฟังโดยละเอียดรวมทั้งเรื่องขมิ้นที่ภรรยาใส่ย่ามมาให้แต่เขาทิ้งไปเกือบหมด เหลืออยู่เพียงแง่งเดียว พร้อมทั้งหยิบขมิ้นที่เหลืออยู่ออกมา ปรากฏว่าขมิ้นนั้นกลับกลายเป็นแท่งทองคำ ชายหนุ่มรู้สึกแปลกใจและเสียดาย จึงพยายามย้อนไปเพื่อหาขมิ้นที่ทิ้งไว้ ปรากฏว่าขมิ้นเหล่านั้นได้งอกเป็นต้นขมิ้นไปหมดแล้ว และเมื่อขุดดูก็พบแต่แง่งขมิ้นธรรมดาที่มีสีเหลืองทองแต่ไม่ใช่ทองเหมือนแง่งที่เขาได้ไป เขาพยายามหาทางกลับไปเมืองลับแลก็หลงทางวกวนไปไม่ถูก จึงละความพยายามกลับไปอยู่หมู่บ้านของตนตามเดิม

ทุเรียนหลิน-หลง ลับแล

ตำนานเมืองลับแลนี้ในหลายแห่งเล่าเหมือนๆกันจะต่างก็ตรงสิ่งของที่ใส่ให้กลับมา เมืองลับแลแห่งนี้ต่อมาตั้งเป็นอำเภอลับแล มีบุคคลสำคัญชื่อพระศรีพนมมาศ (ทองอิน) เป็นนายอำเภอลับแลในสมัยรัชกาลที่ ๕ ถือเป็นคนสำคัญที่สร้างความเจริญให้อำเภอลับแลเป็นอย่างมาก เป็นผู้วางผังเมืองลับแล สร้างฝายหลวง พัฒนาการศึกษารวมทั้งส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ต้นคิดทำ “ไม้กวาด” ติดผ้าแดงเป็นของที่ระลึก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นั้นเคยเสด็จฯ มาอำเภอลับแล เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๔ ปัจจุบันอำเภอลับแลเป็นแหล่งทอผ้าลับแล ปลูกสวนทุเรียนพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงบนเขาคือ หลิน-หลง ทุเรียนที่ตั้งตามชื่อนางหลิน อุประและนายหลงปันลาด ผู้ปลูกทุเรียนชนะการประกวด อำเภอลับแลนี้มีอาหารพื้นถิ่นเช่น ข้าวแคบ หมี่พัน กระบองทอด ขนมจีนเค็ม ข้าวพันผัก ที่หากินได้แห่งเดียว

ผ้าเมืองลับแล

พระศรีพนมมาศ

สาวลับแลแต่งกาย

สาวลับแลปัจจุบัน

หญิงลับแลในอดีต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'รมว.ยุติธรรม'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม

ตลาดสี่มุมเมืองจัดงานเอ็กซ์โป ขายทุเรียนเริ่มต้นพูละ 5 บาท แจกทุเรียนกว่า 200 ลูก

ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง

'ไพบูลย์'เชื่อมติแพทยสภา เป็นหลักฐานสําคัญ ชี้ชะตา'ทักษิณ' 13 มิ.ย.วันศาลไต่สวน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved