วันพฤหัสบดี ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
เผย 10 สาเหตุ'โรคลมพิษ' ที่คุณควรรู้

เผย 10 สาเหตุ'โรคลมพิษ' ที่คุณควรรู้

วันศุกร์ ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 15.28 น.
Tag : 10 สาเหตุ โรคลมพิษ ที่คุณควรรู้
  •  

เป็นที่ทราบกันดีว่า “โรคลมพิษ” อาจมีทั้งสามารถทราบสาเหตุของโรคได้อย่างแน่นอน และในบางรายก็ไม่อาจทราบสาเหตุได้ โดยอาจแปรผันไปตามสภาพร่างกาย สภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล อีกทั้งสภาวะอากาศที่แปรเปลี่ยนอย่างกะทันหันในยุคปัจบันก็อาจเป็นอีกปัจจัยเร่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงของ “โรคลมพิษ” ได้เช่นกัน ดังนั้นการมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้องจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการเริ่มต้นสังเกตตนเองและบุคคลใกล้ชิด

ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์ หัวหน้าภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันโรคลมพิษโลก โรงพยาบาลศิริราชจึงได้จัดกิจกรรม “ศิริราชห่วงใย ชวนใส่ใจ โรคลมพิษ ครั้งที่ 3” เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องผ่านการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคลมพิษและยา รวมถึงการทดสอบต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องทรมานกับอาการผื่นคันที่อาจผลต่อบุคลิกภาพของผู้ป่วยรวมถึงการดำเนินชีวิตประจำวันอีกด้วย โดยภายในงานได้มีกลุ่มผู้ป่วย บุคคลทั่วไป และบุคลากรทางแพทย์เข้าร่วมงานจำนวนกว่า 140 คน


โรคลมพิษ (Urticaria) เป็นอาการทางผิวหนังที่มีลักษณะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย มีขนาดตั้งแต่ 0.5 - 10 ซม.  มักกระจายตามร่างกายอย่างรวดเร็ว และทำให้ผู้ป่วยมีอาการคันตามบริเวณที่มีผื่นขึ้น โดยทั่วไปแต่ละผื่นจะอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง แล้วผื่นนั้นก็จะราบไปโดยไม่ทิ้งร่องรอยใดๆ แต่ก็อาจมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่น ๆ ของร่างกายได้อีกเช่นกัน ทั้งนี้สามารถแบ่งชนิดของโรคลมพิษเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ โรคลมพิษเฉียบพลัน (Acute Urticaria) ผื่นลมพิษที่จะเกิดขึ้นตามร่างกายในระยะเวลาติดต่อกันไม่เกิน 6 สัปดาห์ และ โรคลมพิษเรื้อรัง (Chronic Urticaria) ผื่นลมพิษที่จะมีอาการเป็นๆ หายๆ อย่างต่อเนื่องนานเกินกว่า 6 สัปดาห์ขึ้นไป จากข้อมูลทางสถิติของผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังในประเทศไทย ซึ่งเข้ารับการรักษาตัวที่คลินิกโรคลมพิษ  ภาควิชาตจวิทยา โรงพยาบาลศิริราช พบว่า ในกลุ่มของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยโรคลมพิษเรื้อรัง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ปี ซึ่งตลอดช่วงชีวิตของคนทั่วไปจะมีโอกาสเกิดโรคลมพิษเรื้อรังได้ประมาณร้อยละ 0.5 - 1

 โรคลมพิษมักจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความกังวลต่อการดำเนินชีวิตตลอดเวลา ดังนั้นการหมั่นสังเกตตนเองและคนใกล้ชิดที่อาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็นับเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากผู้ป่วยลมพิษจำนวนมากอาจจะไม่สามารถหาสาเหตุได้อย่าง แน่ชัด ดังนั้นการมีความรู้เบื้องต้นว่าสาเหตุของโรคลมพิษมาจากสาเหตุใดได้บ้างจึงนับเป็นอีกทางเลือกที่ดีในการเลี่ยงภาวะที่อาจกระตุ้นให้ผื่นที่มีอยู่มีอาการมากขึ้น หรือช่วยให้การวินิจฉัยของแพทย์สามารถทำได้ง่ายขึ้น ดังเช่น

 1.      อาหาร เช่น อาหารทะเล สารกันบูด สีผสมอาหารบางชนิด

2.      ยา ปฏิกิริยาการแพ้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผื่นลมพิษได้

3.      การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมีพยาธิ อาจเป็นสาเหตุของลมพิษได้

4.      โรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมไทรอยด์

5.      อิทธิพลทางกายภาพ ในผู้ป่วยบางราย ผื่นลมพิษอาจเป็นผลจากปฏิกริยาของผิวหนังที่ตอบสนองผิดปกติต่อความร้อน ความเย็น น้ำหนักกดรัด แสงแดด การออกกำลังกาย เป็นต้น

6.      การแพ้สารที่สัมผัส ผื่นลมพิษเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ผิวหนังสัมผัสกับสารที่แพ้ เช่น การแพ้ยาง (Iatex) ขนสัตว์ พืช หรืออาหารบางชนิด เป็นต้น

7.      ปฏิกิริยาแพ้พิษแมลง เช่น ปฏิกิริยาที่เกิดจากผึ้ง ต่อต่อย

8.      มะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือระบบอื่น ๆ ของร่างกาย

9.      ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง ผู้ป่วยลมพิษบางรายเกิดจากมีภูมิคุ้มกันไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเคมีบางชนิดออกมาที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นลมพิษขึ้น

10. สาเหตุอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยโรคลูปัสหรือ ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดอักเสบบางรายอาจมีผื่นลมพิษแต่มีข้อสังเกต คือ แต่ละผื่นอยู่นานมักเกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อผื่นหายไปมักจะทิ้งรอยดำเอาไว้

 “สำหรับแนวทางการรักษาโรคลมพิษในกรณีที่สามารถสืบค้นจนทราบสาเหตุและแก้ไขสาเหตุได้ เมื่อรับประทานยาต้านฮิสตามีนไปแล้วผื่นลมพิษมักหายได้เร็ว แต่หากหาสาเหตุไม่พบหรือเป็นสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้โดยง่าย แพทย์จำเป็นต้องให้ยาตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไปเพื่อควบคุมอาการผื่นลมพิษให้สงบลงได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเรื้อรังนานเป็นปีซึ่งในปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษาที่มากขึ้นทั้งยารับประทานและยาฉีด เพื่อช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้” ศ.พญ.กนกวลัย กล่าวเพิ่มเติม

นอกจากนี้ภายในงานยังมีสถานีให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทดสอบผิวหนังในโรคลมพิษ จำนวน 4 สถานี ประกอบด้วย สถานีที่ 1 - การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังโดยวิธีสะกิด (Skin Prick Test) สถานีที่ 2 – การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังโดยวิธีฉีดซีรั่ม (Autologous Serum Skin Test) สถานีที่ 3 – การทดสอบผื่นลมพิษจากการขีดข่วนและน้ำหนักกดทับ และสถานีที่ 4 - การทดสอบผื่นลมพิษจากความเย็น (Cold provocation Test) โดยทุกสถานีได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้รู้จักและทดลองทดสอบจริงกับอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการวินิจฉัย ทั้งยังสามารถสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างใกล้ชิดตลอดงานอีกด้วย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

True CJ ยืนหนึ่งแห่งปี! กวาดรางวัลใหญ่ ด้วยผลงานซีรีส์คุณภาพ 'Good Doctor หมอใจพิเศษ'

‘สว.’ตั้งกมธ.ร่วมฯรุกสอบมติ‘แพทยสภา’ปม‘ชั้น 14’ ปัดเอาคืนพิษ‘คดีฮั้ว’

'เบนซ์ พรชิตา'Victoria’s Secret เมืองไทย 'มิค'เสิร์ฟแฟชั่นคู่รักปีกแดงไฟลุก

‘หมอเปรม’ยื่น‘มงคล’ขอชะลอการเลือกกรรมการองค์กรอิสระ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved