วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
SACICT มุ่งมั่นเป็นศูนย์กลางด้านงานศิลปหัตถกรรมไทย

SACICT มุ่งมั่นเป็นศูนย์กลางด้านงานศิลปหัตถกรรมไทย

วันอังคาร ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : งานศิลปหัตถกรรมไทย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ อัมพวัน พิชาลัย SACICT
  •  

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ดำเนินภารกิจสำคัญในการอนุรักษ์ ส่งเสริมให้เกิดการสืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทยมาตลอดระยะเวลา 15 ปี ของการดำเนินงาน และทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ทางและสร้างโอกาสให้แก่ผู้ทำงานศิลปหัตถกรรม เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและขยายตลาดผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้อย่างกว้างขวาง

อัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในรอบปี 2561 SACICT ได้ดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ “หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน” หรือ Today Life’s Crafts เพื่อสร้าง การรับรู้ในคุณค่าความงามของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยว่า สามารถประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันได้เสมอ โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู้ทำงานหัตถศิลป์ หรือ “Smart Craft” การพัฒนางานศิลปหัตถกรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้มีความร่วมสมัย และเหมาะสมกับการใช้งาน หรือ “Craft Studio” และการสร้างความนิยมและเพิ่มช่องทางการเข้าถึง งานศิลปหัตถกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดหรือ “Craft Society”


โดยให้ความสำคัญต่อการสร้างคุณค่าและค้นหาอัตลักษณ์ ที่โดดเด่นของทักษะฝีมือจากภูมิปัญญา รวมถึงการแลกเปลี่ยน ต่อยอดองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทำให้งานศิลปหัตถกรรมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการใช้งาน ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างกลมกลืนสร้างความคุ้นเคย ความน่าจดจำและยังเป็นแรงบันดาลใจในการร่วมต่อยอดให้งานหัตถศิลป์ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทยต่อไป

ตลอดปี 2561 ได้ริเริ่มโครงการและกิจกรรมใหม่ๆ ขึ้นมากมาย อาทิ กิจกรรม “ของรัก ของหวง : หัตถกรรมล้ำค่า รักษาไว้ให้ถึง ลูกหลาน”, การรวบรวมครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทจากทั่วทุกภูมิภาคของไทยไว้มากที่สุด กว่า 150 ราย มาจัดแสดงผลงานและจำหน่ายในงานอัตลักษณ์แห่งสยาม, งาน CRAFTS BANGKOK เป็นงานที่ พัฒนาจากการจัดงานเทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ (IICF) โดยปรับชื่อและรูปแบบให้สอดคล้องกับแนวโน้มของตลาด และผู้บริโภคในปัจจุบันโดยนำเสนอแนวคิด Social Craft Networkซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางด้านงานหัตถกรรม, SACICT เพลิน Craft สำหรับผู้ที่สนใจงานหัตถศิลป์ได้มีโอกาสลงมือทำงานหัตถกรรมผ่านการ Workshop, งาน “ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี” เพื่อเทิดพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ฯลฯ

นอกจากนี้ อัมพวัน กล่าวอีกว่าในปี 2562 SACICT พร้อมก้าวสู่การเป็นองค์กรระดับประเทศที่เต็มเปี่ยมไปด้วยองค์ความรู้และเป็นศูนย์กลางด้านงานหัตถศิลป์ไทยทั้งแบบดั้งเดิมและร่วมสมัยให้กับผู้ที่สนใจในงานหัตถศิลป์ กลุ่มสมาชิกและผู้ประกอบการงานหัตถศิลป์ในประเทศไทย โดยจะมุ่งเน้นโครงการสำคัญ อาทิ พัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านงานหัตถกรรมให้อยู่ในระบบ Archive เพื่อรองรับทิศทางการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐให้เป็นหน่วยงานที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าได้อย่างทั่วถึงและง่ายดาย, พัฒนาศักยภาพและบ่มเพาะกลุ่มช่างหัตถศิลป์และผู้ประกอบการในวงการหัตถศิลป์ โดยเน้น การอบรมทักษะด้าน Retelling the Detailing, การร่วมรังสรรค์งานหัตถศิลป์ โดยเน้นที่ product Flagship ที่เป็นงานไม้ และงานผ้าพื้นถิ่น เน้นการพัฒนางานร่วมกับกลุ่มพันธมิตร เพื่อสร้างโอกาส สร้างชื่อเสียงและต่อยอดงานหัตถศิลป์ไทย ในเชิงพาณิชย์ Craft Co-Creation เพื่อเป็นการลดต้นทุน เพิ่มการผลิต และสร้างวัสดุหรือวัตถุดิบใหม่ ขึ้นมาทดแทน ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดการสร้างแบรนด์, การแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานหัตถศิลป์สู่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ การท่องเที่ยว อาหาร ศิลปะ แฟชั่น และอื่นๆ, ส่งเสริมให้เกิดช่องทางการเข้าถึงงานหัตถศิลป์ไทยทั้งประเภทสินค้าและบริการ ในรูปแบบ Online และ Offline

นอกจากนี้ได้ทำการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง SACICT กับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเรื่องของ “ความร่วมมือและสร้างเครือข่ายด้านงานวิจัยและวิชาการ รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมสู่ความร่วมสมัย ส่งเสริมให้บุคลากรรุ่นใหม่มีความสนใจด้านการอนุรักษ์และสืบสานงานศิลปหัตถกรรมต่อไปอย่างยั่งยืน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

แก้เสียงปริ่มน้ำ!‘สุชาติ’จ่อลาออกสส. เปิดทาง‘ปาร์ตี้ลิสต์’ลำดับถัดไปทำหน้าที่ในสภา

‘ภูมิธรรม’หนุนข้อเสนอ‘รมต.’ไม่มีบทบาทในสภาฯ ควรทิ้งเก้าอี้สส.‘ปาร์ตี้ลิสต์’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันจันทร์ ​7 กรกฎาคม 2568

'สุชาติ'เข้าทำเนียบวันแรก สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาฤกษ์

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved