อาการทางคลินิก
สุนัขที่แพ้อาหารจะพบมีอาการคัน บริเวณ พื้นท้อง รักแร้ ขาหนีบ รอบปากและจมูก รอบดวงตา รอบทวารหนัก ฝ่าเท้า และง่ามนิ้ว มีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือติดเชื้อยีสต์แทรกซ้อนทำให้มีอาการผิวหนังอักเสบแบบเป็นๆหายๆหรือมีอาการคันที่รุนแรง อาจพบภาวะหูอักเสบหรือมีอาการของระบบทางเดินอาหารเช่น อาเจียน ท้องเสียร่วมด้วย
การวินิจฉัย
การซักประวัติเกี่ยวกับอาหารที่ได้รับในช่วงเวลานั้น อาการคันและรอยโรค ดูการตอบสนองต่อยาที่ให้การรักษาเช่นยาพวก glucocorticoids ซึ่งจะไม่ตอบสนองต่อการรักษา ตรวจทางผิวหนังโดยวิธีต่างๆเช่น การใช้ใบมีดขูดผิวหนัง หรือ การเทปใสแตะผิวหนังแล้วเอามาตรวจหาเชื้อ แล้วไม่พบการติดเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ หรือปรสิตอื่น
สำหรับการที่จะวินิจฉัยให้แน่นอนว่าสัตว์มีปัญหาการแพ้อาหารหรือไม่นั้น ให้ทำการให้สัตว์กินอาหารที่แน่ใจว่าไม่ก่ออาการแพ้หรือก่อการแพ้น้อยที่สุด (Hypoallergic diet trial) กล่าวคือให้สัตว์กินอาหารที่ไม่เคยได้รับมาก่อน เช่นสุนัขที่ไม่เคยได้รับเนื้อแกะมาก่อน ให้ลองให้เนื้อแกะกินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน 4-8 สัปดาห์ ระหว่างนี้ไม่ควรเสริมอาหารชนิดอื่นๆ ลงไปและสังเกตอาการของสุนัขว่ามีอาการแพ้หรือไม่ แหล่งโปรตีนอื่นๆอื่นที่นำมาใช้ในการทดลองให้สุนัขกินได้เช่น เนื้อกระต่าย เนื้อกวาง เนื้อแพะ หรือเป็นอาหารสำเร็จรูปที่เป็นอาหาร hypoallergic diet นอกจากนี้ยังมีวิธีในการวินิจฉัยอื่นๆ อีกเช่น การทำ Skin test และ serum test
สำหรับการวินิจฉัยโดยวิธีการทดสอบการแพ้จากการ “กิน” (Hypoallergic diet trial) เป็นวิธีที่นิยมทำเพราะให้ผลแม่นยำที่สุด แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
1.ให้สุนัขที่สงสัยว่ามีอาการแพ้กินอาหาร hypoallergic diet อาจเป็นอาหารสำเร็จรูปที่มีขายหรือเป็นอาหารที่ปรุงขึ้นเอง โดยแหล่งของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในอาหารควรมาจากแหล่งละเพียงอย่างเดียว และโปรตีนที่ใช้ควรเป็นโปรตีนที่สุนัขไม่เคยได้รับมาก่อน เช่น เนื้อกระต่าย เนื้อแพะ เป็นต้น
การประเมินผลคือ ดูว่าสุนัขมีอาการของโรคดีขึ้นหรือไม่ ถ้าสุนัขมีอาการดีขึ้นแสดงว่าสุนัขแพ้อาหารที่กินอยู่เป็นประจำ โดยทั่วไปจะพบการเปลี่ยนแปลงใน 3-10 สัปดาห์ ขึ้นกับสุนัขแต่ละตัว มีการศึกษาพบว่าอาหารที่ปรุงเองมีความผิดพลาดน้อยกว่าอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขายอยู่ทั่วไป
2. เป็นการยืนยันผลจากขั้นตอนที่ 1 โดยให้สัตว์กลับมากินอาหารที่เคยกินอยู่ประจำที่สังสัยว่าสัตว์อาจจะแพ้ ถ้าสัตว์แพ้อาหารดังกล่าวจริงสัตว์จะกลับมามีอาการอีกครั้ง แต่ถ้าไม่ปรากฏว่าไม่พบอาการแพ้หลังจากกลับมากินอาหารแบบเดิมให้วินิจฉัยว่าสัตว์มีอาการแพ้อาหารร่วมกับการพ้อย่างอื่น เช่น แพ้น้ำลายหมัด
3.เป็นการทดสอบว่าสัตว์แพ้อาหารชนิดใด โดยการเติมแหล่งอาหารที่สงสัยเข้าไปใน Hypoallergic diet แล้วสังเกตอาหาร 7-10 วัน โดยวิธีนี้จะทราบว่าสัตว์แพ้อาหารชนิดใด และสัตว์อาจแพ้อาหารได้มากกว่า 1 ชนิด ดังนั้นในขั้นตอนนี้ควรทดสอบแหล่งอาหารให้ครอบคลุมหลายชนิดเพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่สมบูรณ์
การรักษาและการควบคุมโรค
ให้สัตว์กินอาหารสำเร็จรูปที่มีขายทั่วไปซึ่งเตรียมมาสำหรับสัตว์ที่แพ้อาหาร หรือเตรียมเองแต่ต้องเป็นอาหารที่สมดุลทางโภชนาการ หลังจากนั้นให้ทดลองให้อาหารที่มีส่วนของวัตถุดิบแหล่งอาหารที่แปลกใหม่เข้าไปทีละอย่าง สังเกตความเปลี่ยนแปลงของสัตว์ภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าไม่พบอาการผิดปกติใดๆแสดงว่าสัตว์ไม่แพ้อาหารจากแหล่งอาหารนั้นๆ
การป้องกันโดยให้สัตว์กินอาหารที่มีแหล่งโปรตีนที่สัตว์ไม่เคยได้รับมาก่อน หรืออาหารสำเร็จรูปประเภท hypoallergic diet
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี