วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แหวกฟ้าหาฝัน : Budapest เสน่ห์แห่งแม่น้ำดานูบ

แหวกฟ้าหาฝัน : Budapest เสน่ห์แห่งแม่น้ำดานูบ

วันอาทิตย์ ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : งานอาร์ต ผลงานศิลปะ ศิลปะร่วมสมัย ศิลปินนานาชาติ แหวกฟ้าหาฝัน
  •  

Buda Castle

Budapest เมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของฮังการีประเทศยุโรปตะวันออกติดกับออสเตรียนี้เป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและจิตรกรรมดั้งเดิมนั้นเมืองนี้เป็นที่ตั้งของชาว Celtic ก่อนที่จะถูกโรมครอบครอง ชาวฮังกาเรียนเดินทางมาถึงดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่กลับถูกรุกรานโดยชาวมองโกลในปี 1241 ดินแดนนี้จึงนับถือศาสนาพุทธ พวกเขาสามารถกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้งและได้กลายเป็นศูนย์กลางของศิลปะแบบ Renaissance ในคริสต์ศตวรรษที่ 15หลังพ่ายแพ้ในสงคราม Mohacs เมืองนี้ก็ถูกครอบครองโดยออตโตมานกว่า 150 ปี เมื่อศาสนาพุทธกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในปี 1686 เมืองนี้ก็รุ่งโรจน์อีกครั้งและกลายเป็นศูนย์กลางของการค้าหลังการควบรวมเป็น Pest-Buda และได้ชื่อว่า Budapest

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้นเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากของชาวฮังการีอันเป็นผลมาจากการที่พวกเขาพยายามที่จะประกาศอิสรภาพจากราชวงศ์ Habsburgs แห่งออสเตรีย และพยายามที่จะพัฒนาตัวเองให้มีความทันสมัย แม้พวกเขาจะประกาศอิสรภาพจากราชวงศ์ Habsburgs ได้ชั่วคราว แต่พวกเขา
กลับจำเป็นต้องกลับมาสวามิภักดิ์ภายหลังจนเป็นต้นกำเนิดของจักรวรรดิ Austria-Hungaryส่งผลให้บูดาเปสต์กลายเป็นเมืองหลวงคู่แฝดของราชวงศ์ Habsburgs และความเจริญของเมืองนี้ขึ้นถึงขีดสุด


Budapest's Shoes

ในปี 1849 รัฐบาลได้สร้างสะพานโซ่ขึ้นเพื่อเชื่อมระหว่างฝั่งเปสต์และบูดา ส่งผลให้สะพานนี้เป็นสะพานถาวรแห่งแรกที่ใช้ข้ามแม่น้ำดานูบ ในปี 1873 เมืองเปสต์และบูดาได้ควบรวมเป็นหนึ่งเดียวอย่างเป็นทางการ การที่บูดาเปสต์ถูกครอบครองโดยราชวงศ์ Habsburgs ทำให้มีชาวเยอรมันและชาวออสเตรียเป็นจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาในเมือง แม้เมื่อพวกเขาเป็นไทจากราชวงศ์ Habsburgs แล้ว กว่าชาวฮังกาเรียนจะมีจำนวนมากกว่าชาวเยอรมันก็ปาเข้าไปถึงปี 1910 นอกจากกลุ่มคนที่พูดภาษาเยอรมันแล้ว บูดาเปสต์ยังถูกครอบครองโดยชาวยิวเป็นจำนวนมากและเมืองนี้กลายเป็นชุมชนใหญ่ของชาวยิวตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาจนมีอีกชื่อว่า Judapest หรือ Jewish Mecca หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จักรวรรดิ Austria-Hungary สิ้นสุดลงจากการแพ้สงคราม ฮังการีจึงประกาศตัวเป็นอิสระแต่ก็ต้องสูญเสียดินแดนไปถึง 2 ใน 3 รวมทั้งประชากรมากถึง 3.3 ล้านคน

ในปี 1944 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะปะทุขึ้น บูดาเปสต์ก็ถูกกองทัพอากาศของอังกฤษและสหรัฐฯ เข้าโจมตี หลังจากนั้นเมืองนี้ก็กลายเป็นสมรภูมิระหว่างเยอรมันกับสหภาพโซเวียตทำให้ประชาชนล้มตายลงมากกว่า 38,000 คน อีกทั้งสะพานข้ามแม่น้ำยังถูกทำลายลงไปด้วย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองชาวยิวที่มีอยู่จำนวนมากในบูดาเปสต์ก็เสียชีวิตไปเกือบ 40% โดยเฉพาะในช่วงที่เยอรมันครอบครองเมือง แม้ชาวยิวส่วนหนึ่งจะได้รับความช่วยเหลือจากข้าราชการชาวสวิสแล้วก็ตาม

Chain Bridge

เมืองที่กลายเป็นศูนย์กลางของการปฏิวัติฮังการีในปี 1948 นี้ต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองอีกหลายครั้ง อาทิ สงครามกลางเมืองในบูดาเปสต์ในปี 1945 และ ปฏิวัติของฮังการีในปี 1956 เมืองบูดาเปสต์เป็นเมืองที่มีความเป็นโลกาภิวัตน์ตลอดมาเพราะมีความสำคัญทั้งทางด้านการค้า การเงิน ศิลปะ แฟชั่น การวิจัย เทคโนโลยี การศึกษา มีเดีย และสันทนาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเงินจากการที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่รวดเร็วเป็นอันดับสองของยุโรป ที่นี่ยังเป็นศูนย์กลางของสำนักงานใหญ่ขององค์กรระหว่างประเทศ และสหภาพยุโรปอีกหลายองค์กร อาทิ European Institute of Innovation and Technology, European Police College, China Investment Promotion Agency รวมทั้งมหาวิทยาลัยดังๆ อีกกว่า 40 แห่ง

นักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสมาเยือนเมืองมรดกโลกแห่งนี้ควรจัดเวลาไว้เดินชมเมืองสักอย่างน้อยครึ่งวันเพื่อแวะถ่ายภาพและชื่นชมกับสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่สองฝั่งแม่น้ำดานูบไม่ว่าจะเป็น Buda Castle, สะพานโซ่ สะพาน Magaret และดื่มด่ำกับรัฐสภาที่สวยที่สุดในโลกที่มาของเพลง Blue Danube จากศิลปินชื่อก้องโลก Johann Strauss ชาวออสเตรียนั่นเอง

 

Fisherman Bastion
Fisherman Bastion
Paliament
Paliament
Magaret Bridge
Magaret Bridge

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แหวกฟ้าหาฝัน : Art after 1980 in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Art after 1980 in Goulandris Museum Athens
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Multi-style Chairs in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Multi-style Chairs in Goulandris Museum Athens
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Contemporary Art in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Contemporary Art in Goulandris Museum Athens
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Cubism in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Cubism in Goulandris Museum Athens
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Pablo Picasso in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Pablo Picasso in Goulandris Museum Athens
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Post Impressionism in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Post Impressionism in Goulandris Museum Athens
  •  

Breaking News

อัศวินนักฝัน!‘สมชัย’ชำแหละ 7 เงื่อนไข‘ปชน.’ ดูดี แต่ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ

นักวิชาการ‘กัมพูชา’ยกโพลเย้ยการเมืองไทยเปราะบาง ไม่เหมือน‘ฮุน เซน’ชาวเขมรศรัทธาท่วมท้น

'อดีตสว.สมชาย'สิ้นหวัง! พ.ร.บ.ตำรวจไร้ผล ชี้ระบบอุปถัมภ์-การเมืองทำปฏิรูปแป๊ก

รวบ3หญิงไทย อ้างหลบหนีแก๊งคอลฯ มุดชายแดนจากปอยเปตเข้าไทย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved