วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ยาแก้ไอ ใช้เมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ยาแก้ไอ ใช้เมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565, 06.10 น.
Tag : รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ
  •  

อาการไอเป็นหนึ่งในอาการที่ผู้ป่วยบ่นว่า ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันมากที่สุด ยิ่งในยุคสมัยที่โควิด-19 ยังไม่หายไปจากสังคม ถ้าหากมีใครไอขึ้นมา รับรองว่าคนรอบข้างก็ระแวงจนวงแตก 

เพราะฉะนั้น วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องยาแก้ไอกัน แต่ก่อนจะพูดถึงยาแก้ไอ ขอกล่าวถึงอาการไอว่าจริงๆ แล้วมันเป็นกลไกปกติของร่างกายเพื่อตอบโต้สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะ ตลอดจนเชื้อโรคต่างๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาด้วยอาการไอมักมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัด คอหอย หรือหลอดลมอักเสบ


ถ้ามีอาการไอนานกว่า 3 สัปดาห์ จัดว่าเป็นไอเรื้อรัง สาเหตุของไอเรื้อรังมีความหลากหลาย และอาจรุนแรงมากกว่าแค่การสัมผัสมลภาวะหรือการติดเชื้อทั่วไป ตัวอย่างของโรคติดเชื้อซึ่งเป็นสาเหตุของการไอเรื้อรังที่คนส่วนใหญ่รู้จักคือ วัณโรคปอด ในผู้สูบบุหรี่ รวมถึงผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง ก็อาจมีอาการไอ และยังมีการไอจากถุงลมโป่งพองหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยภูมิแพ้ แพ้อากาศรวมถึงผู้ป่วยหอบหืดก็อาจมีอาการไอร่วมด้วย

แต่นอกเหนือจากโรคที่วนเวียนอยู่ในระบบทางเดินหายใจแล้ว ผู้ที่มีอาการไอเรื้อรังควรคำนึงถึงสาเหตุอื่นด้วย เพราะโรคที่ดูเหมือนไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยเช่น กรดไหลย้อน หรือโรคหัวใจ 

นอกจากนี้ อาการไออาจจะเกิดจากยาที่ผู้ป่วยรับประทานได้อีกด้วย ยาที่พบบ่อยว่าทำให้ผู้ป่วยไอคือยาลดความดันกลุ่ม ACEI เช่น enalapril เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีอาการไอแล้วผู้ป่วยไปพบแพทย์หรือไปหาซื้อยาที่ร้านยาอาจจะถูกซักประวัติเรื่องที่ดูเหมือนไม่ค่อยเกี่ยวข้อง ก็จึงไม่ต้องแปลกใจ

ยาแก้ไออาจจำแนกออกเป็น ยากดอาการไอ เช่น dextrometrophan ยาขับเสมหะ เช่น potassium citrate, guaifenesine และยาละลายเสมหะ เช่น bromhexine, acetylcysteine 

ยาแก้ไอที่มีจำหน่ายในท้องตลาดก็มีทั้งที่เป็นยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ดังนั้น การเลือกใช้ยาก็ขึ้นกับว่าผู้ป่วยมีเสมหะหรือไม่ ถ้าไม่มีก็อาจใช้เพียงยากดอาการไอเดี่ยวๆ เพราะไม่ได้ประโยชน์จากยาขับหรือละลายเสมหะ ส่วนผู้ป่วยที่มีเสมหะมากหรือเสมหะเหนียวข้นถ้าเลือกสูตรยาแก้ไอที่ไม่เหมาะสมก็อาจจะบรรเทาการไอไม่ได้มาก 

นอกจากเรื่องของตัวยาแล้ว รูปแบบของยาแก้ไอก็มีหลากหลาย ทั้งแบบเม็ด ยาน้ำเชื่อม ยาน้ำแขวนตะกอน ยาผงหรือยาเม็ดฟู่สำหรับละลายน้ำ ซึ่งผู้ป่วยสามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกหรือความชอบ

โดยทั่วไปกลุ่มยาแก้ไอที่มีจำหน่ายในร้านยาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์มักไม่มีอาการข้างเคียงรุนแรง อาการที่อาจพบได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ท้องผูกหรือท้องเสีย ส่วนใหญ่แล้วยาแก้ไอจะใช้ตามอาการ ซึ่งนอกจากการใช้ยาแล้ว การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น งดน้ำเย็นหรือเครื่องดื่มเย็น งดอาหารทอด อาหารกรอบๆ อาหารมันๆ เพราะในบางราย สิ่งเหล่านี้สามารถกระตุ้นอาการไอได้ 

นอกจากนี้ จำพวกยาอม หรือยาจิบ ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพรไทย เช่น มะแว้ง หรือสมุนไพรจีน ก็ได้ผลดีในผู้ใช้หลายราย แต่ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการจิบน้ำบ่อยๆ ทำให้คอไม่แห้ง ไม่ระคายเคือง จะช่วยบรรเทาอาการไอได้ และน้ำอุ่นยังช่วยลดความข้นเหนียวของเสมหะได้ดี ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการไอ

ที่สำคัญเมื่อไอนานกว่า 2-3 สัปดาห์โดยหาสาเหตุไม่ได้ ร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เจ็บหน้าอก มีเลือดปนในเสมหะ ผู้ป่วยไม่ควรใจเย็นว่าเป็นแค่อาการไอ แต่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพราะอาการไอที่คิดว่าไม่ร้ายแรงนั้นอาจเป็นสัญญานบ่งชี้โรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งปอด มะเร็งหลอดลม เป็นต้น

รศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม และ

ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ดูแลร่างกายยามอากาศร้อนจัด
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : AI ยังทดแทนเภสัชกรไม่ได้
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินไม่ดี เสี่ยงมะเร็ง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : ไปอินเดีย ต้องเตรียมยาอะไรไปบ้าง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : แก้อาการเมารถเมาเรือ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : แก้อาการเมารถเมาเรือ
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : การใช้ยาของคนวัยเกษียณ รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : การใช้ยาของคนวัยเกษียณ
  •  

Breaking News

วิชัยเวชฯ จับมือโรงเรียนบ้านด่านโง ร่วมใจปลูกป่า เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ

อะไรก็ของเขา? 'วันชัย'จวกสังคมไร้ความเมตตา 'ทักษิณ'วัย 75 ป่วย เอากันถึงขั้นวิกฤตเลยหรือ

จบที่ศาลดีที่สุด! 'หนุ่ม กรรชัย'ตอบชัดปมฟ้อง'นักร้องสาว' หากอยากเคลียร์ก็ยินดี

'ณัฐวุฒิ'บ่นยับ! บอกเสียดายโอกาส! 'ทักษิณ'พลาดบินกาตาร์พบ 'โดนัลด์ ทรัมป์'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved