การรักษาโรคมะเร็งในอดีต ผู้ป่วย 1 คน จะมีแพทย์เจ้าของไข้เพียงคนเดียวที่ทำหน้าที่ในการตรวจ วินิจฉัย และวางแผนการรักษา แต่ปัจจุบันด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมากจึงมีการรักษามะเร็งด้วยระบบMultidisciplinary Team เพื่อวางแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายแพทย์ณัฐชดล กิตติวรารัตน์อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยาโรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่าMultidisciplinary Team หรือ MDT คือการรักษาโรคมะเร็งโดยแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขาร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยและวางแผนแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุดให้กับผู้ป่วย
ในทุกๆ การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง MDT ของศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี ซึ่งประกอบไปด้วยสหสาขาวิชาชีพ จะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระดมความรู้เฉพาะทาง และร่วมประชุมผ่าน Vejthani Tumor Board Conference ทุกสัปดาห์ เพื่อวางแนวทางการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างเหมาะสม ให้เกิดความแม่นยำ และรวดเร็วในการรักษา โดยจะถกข้อมูลในด้านผลดี ผลเสีย การคาดหวังของการรักษา และการคาดการณ์ถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษา รวมถึงการวางแผนดูแลผู้ป่วยหลังการรักษา และการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย พร้อมทั้งวางขั้นตอนการรักษาที่สอดคล้องเป็นระบบ เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยทั้งขณะรักษา และหลังการรักษาเสร็จสิ้น โดยหลังการประชุมจะมีการแจ้งให้ผู้ป่วยและครอบครัวรับทราบแผนการรักษาที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยแบบองค์รวม
MDT ประกอบด้วยแพทย์เฉพาะทางในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งวิทยา และทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลคนไข้ตามความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันดังนี้ 1.ประธานคณะกรรมการ MDT ทำหน้าที่บริหารจัดการทีมแพทย์ เพื่อให้การดูแลคนไข้เป็นไปตามแผนการรักษา 2.อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยา จะเป็นผู้ให้การรักษาทางยาและติดตามผลการรักษา 3.ศัลยแพทย์ทั่วไปและศัลยแพทย์เฉพาะทาง ทำหน้าที่ผ่าตัด และวางแนวทางการผ่าตัดที่เหมาะสม4.สูตินรีแพทย์ด้านโรคมะเร็งทำหน้าที่ผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งสตรี เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก 5.พยาธิแพทย์ ทำหน้าที่ตรวจและวิเคราะห์ชิ้นเนื้อ 6.รังสีแพทย์ด้านการวินิจฉัยภาพรังสี ทำหน้าที่บอกขนาด ตำแหน่ง และระยะของมะเร็ง 7.แพทย์รังสีรักษา ทำหน้าที่วางแผนการรักษาทางรังสี หรือการฉายรังสีให้ผู้ป่วย เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และเกิดผลข้างเคียงจากการฉายรังสีน้อยที่สุด
8.วิสัญญีแพทย์ ทำหน้าที่ช่วยลดอาการเจ็บปวดทั้งจากการรักษาหรือจากธรรมชาติของตัวโรคด้วยการให้ยา 9.แพทย์โภชนาการและนักโภชนบำบัด ดูแลประเภทของอาหารและสารอาหารที่ควรได้รับ 10.พยาบาลชำนาญการด้านการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ดูแลและให้คำแนะนำต่างๆ อย่างรอบด้าน 11.จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคอยดูแลจิตใจและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คนไข้คลายความกังวลและมีพลังใจในการต่อสู้กับโรค12.นักกายภาพบำบัด ออกแบบกิจกรรมและช่วยเหลือผู้ป่วยในการฟื้นฟูร่างกาย 13.เภสัชกรผู้ชำนาญการด้านยารักษามะเร็ง จัดยาและออกแบบยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยมะเร็ง 14.แพทย์ผู้ชำนาญการด้านพันธุกรรมหรือยีน อ่านค่าการตรวจยีนกลายพันธุ์มะเร็ง รวมถึงดูแลครอบครัวผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยมะเร็งชนิดเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบเดียวกันเสมอไปเพราะฉะนั้น การรักษาด้วย MDT จะช่วยค้นหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและตรงจุดกับผู้ป่วยรายนั้นๆ อย่างเป็นระบบ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี