ฮอร์โมนไทรอยด์ ทำหน้าที่สำคัญมากในร่างกายเกี่ยวกับการควบคุมการเจริญเติบโต พัฒนาการของสมองในทารก ควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism) ของคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ฮอร์โมนไทรอยด์ทำให้มีการเพิ่มการใช้ออกซิเจนของร่างกายและเพิ่มการสร้างความร้อนในร่างกาย และมีผลควบคุมอุณหภูมิร่างกาย (thermogenesis) ด้วย นอกจากนั้นทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต การพัฒนาและการทำงานของเนื้อเยื่อทุกส่วนในร่างกาย โดยเฉพาะในระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน และการหลั่งและการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนเกี่ยวกับการเติบโต (growth hormone) ต่อเนื้อเยื่อต่างๆ การขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้ผู้ป่วยมีการทำงานของร่างกายผิดปกติการทำหน้าที่ต่างๆในร่างกายทำงานช้าลง โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดและเด็ก การขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “cretinism” ผู้ป่วยจะมีตัวเตี้ยแคระเกร็น (dwarfism) และมีภาวะผิดปกติของสมอง
ข้อมูลจาก รศ.ดร. ภญ.วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า โรคที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (hyperthyroidism) และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ (hypothyroidism) นอกจากนั้นยังพบความผิดปกติอื่นๆ ได้แก่ โรคก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (thyroid goiter) และ โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (thyroid cancer) เป็นต้น
โรคไทรอยด์ต่ำ (hypothyroidism) คืออะไร
ภาวะที่มีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการพูดช้า ทำงานช้า รู้สึกขี้หนาว ท้องผูก น้ำหนักตัวเพิ่มทั้งๆที่ไม่ได้รับประทานอาหารมากกว่าปกติ ตัวบวม มีเลือดประจำเดือนมากกว่าปกติ ผิวหนังหยาบแห้ง เป็นต้น สาเหตุของโรคไทรอยด์ต่ำ เกิดได้หลายสาเหตุได้แก่
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไทรอยด์ต่ำ
เป้าหมายการรักษาและแนวทางการรักษา
ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ต่ำส่วนใหญ่มักเป็นชนิดถาวรและต้องการการรักษาในระยะยาว จุดประสงค์ของการรักษาที่สำคัญคือต้องการฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน เพื่อชดเชยการขาดฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติ การรักษาทำโดยการให้ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน รูปแบบยาเตรียมที่เป็นทางเลือกคือ levothyroxine หรือ T4 โดยต้องปรับขนาดยาให้เหมาะสมตามผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนใหญ่รับประทานยาวันละครั้ง สำหรับผู้ป่วยที่สูงอายุ และผู้ป่วยโรคหัวใจ ต้องลดขนาดยาลง ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยสูงอายุมีความไวต่อฮอร์โมนมาก และหากมีภาวะผิดปกติเกี่ยวกับโรคหัวใจแพทย์อาจจะพิจารณาหยุดใช้หรือลดขนาดยาลง
ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทนสำหรับรักษาภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำมีอาการไม่พึงประสงค์อะไรบ้าง
ยาอะไรบ้างที่เกิดอันตรกิริยากับฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน
การติดตามผลการรักษาหลังการรับประทานฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน
ควรปฏิบัติตนอย่างไรขณะใช้ยารักษาโรคไทรอยด์ต่ำ
โดยสรุปโรคไทรอยด์ต่ำ สามารถรักษาได้ด้วยยาฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน ผู้ป่วยไม่ควรกังวลมากเกินไป หากเกิดอาการผิดปกติหรือสงสัยควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ชัด ไม่ควรหาซื้อยามารับประทานเอง โดยหากตรวจวินิจฉัยโรคแล้วทราบผลความผิดปกติเร็ว การได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service.php
ผ.ศ. (พิเศษ) ดร. เภสัชกร อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์
ประธานกรรมการ มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี