วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
Life & Health : รอบรู้ สู้ภัยมะเร็ง

Life & Health : รอบรู้ สู้ภัยมะเร็ง

วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : รอบรู้ สู้ภัยมะเร็ง วันมะเร็งโลก
  •  

โรคมะเร็งถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลกรวมทั้งประเทศไทย จากสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2561 คาดการณ์ว่ามีจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งประมาณ 18 ล้านคน ซึ่งมีแนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 29 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นอีก 60%

ข้อมูลจาก นพ.สกานต์ บุนนาคผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำหรับประเทศไทยโรคมะเร็งยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทยมาตลอดช่วงเวลากว่า 20 ปี และยังพบผู้ป่วยรายใหม่ต่อปีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากข้อมูลสถิติโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า แต่ละปีจะมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ ประมาณ 140,000 คน หรือคิดเป็นประมาณ 400 คนต่อวัน และเสียชีวิตปีละประมาณ 80,000 คนต่อปี หรือกว่า 200 คนต่อวัน โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่ามะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในขณะที่มะเร็งอื่นๆที่กล่าวมามีแนวโน้มค่อนข้างคงที่หรือลดลง


วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปีถือเป็น “วันมะเร็งโลก” หรือ World Cancer Day ซึ่ง ในปี 2565-2567 มีหัวข้อในการรณรงค์ คือ “Close the Care Gap : ปิดช่องว่างเพื่อการดูแลที่สมคุณค่า” และในปี พ.ศ. 2566 นี้มีประเด็นรณรงค์ คือ “Uniting our voices and taking action : ร่วมส่งพลังเสียงและลงมือทำ” มุ่งเน้นการร่วมกันหยุดการส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง (Fake Cancer News) และให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้โดยเร็ว

ปัจจัยที่ทำให้โรคมะเร็งยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทยและยังพบผู้ป่วยรายใหม่ต่อปีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแม้ว่าประเทศเราจะมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้นและประชาชนมีสิทธิประโยชน์ในการคัดกรองและรักษาโรคมะเร็งได้ในทุกสิทธิก็ตาม เป็นเพราะสังคมไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว ปัญหาด้านมลภาวะและพฤติกรรมของประชาชนที่เปลี่ยนไปพร้อมความเจริญของสังคมเมือง เช่นการชอบรับประทานอาหารแปรรูปมากขึ้น การชอบรับประทานอาหารปิ้งย่างไหม้เกรียม การกินผักผลไม้ลดลง การรับประทานอาหารมันๆ และปัญหาของผู้คนที่มีภาวะอ้วนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการดื่มสุราและสูบบุหรี่ที่ถึงแม้จะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ส่วนอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง ได้แก่การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบแบบเรื้อรัง การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับจากการกินปลาดิบ การตากแดดจัดเป็นประจำโดยไม่ป้องกัน การใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจนต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปีและจากพันธุกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น พันธุกรรมมีส่วนเพียง 5-10% และปัจจัยภายนอกมีส่วนประมาณ 90-95% ได้แก่ พฤติกรรมการดำเนินชีวิตและสิ่งแวดล้อม

เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่ามะเร็งบางชนิดสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือเป็นมะเร็งเริ่มแรก เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ถ้าตรวจพบในระยะเริ่มแรกจะมีโอกาสรักษาให้หายขาดสูง องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มแรกถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ การคัดกรองมะเร็งชนิดต่างๆอย่างเหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามเพศและอายุซึ่งสามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับรายละเอียดการคัดกรองนี้ หรือสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ website สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ https://nci.go.th ในส่วนของ “ความรอบรู้สู้ภัยมะเร็ง”

หากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้วปัจจุบันทุกสิทธิการรักษาสามารถเข้าถึงบริการการรักษามาตรฐานของมะเร็งได้ฟรี ได้แก่ การผ่าตัด การใช้ยา และ รังสีรักษา ซึ่งปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก เช่น การผ่าตัดแผลเล็ก การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ สามารถใช้ได้กับมะเร็งหลายชนิดโดยเฉพาะถ้าเจอในระยะแรก การใช้รังสีรักษาในปัจจุบัน การวางแผนประกอบกับเครื่องฉายรังสีที่ทันสมัยทำให้รังสีพุ่งตรงไปที่ก้อนมะเร็งได้แม่นยำขึ้นกระทบเนื้อเยื่อปกติรอบๆ น้อยลง ส่งผลให้ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีและจำนวนครั้งที่ฉายลดลงมาก ส่วนการรักษาด้วยยา นอกจากยาเคมีบำบัดแล้วยังมีการนำยาพุ่งเป้า (targeted therapy) และยาปรับภูมิคุ้มกัน (immunotherapy) มาร่วมรักษาทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแต่ผลข้างเคียงจากยาลดลง ถึงแม้จะเกิดผลข้างเคียงก็มียาใหม่ๆรวมทั้งการใช้กัญชาทางการแพทย์มาที่ช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่าในอดีตมาก ดังนั้น เราจึงไม่ควรเลี่ยงการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคมะเร็ง และเมื่อตรวจพบก็ไม่ควรกลัวที่จะเข้ารับการรักษาเพราะการตรวจพบในระยะแรก การรักษามักจะไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผลข้างเคียงจากตัวโรคและการรักษาน้อย และโอกาสหายขาดสูง

ในปัจจุบันเป็นยุคที่มีการใช้ social mediaอย่างกว้างขวางมีการแชร์ข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง (Fake Cancer News) กันอย่างมากมายทั้งจากผู้ที่ตั้งใจเพราะมีผลประโยชน์แอบแฝง และ ไม่ตั้งใจคือเจตนาดีแต่ไม่รู้ว่าเป็นข้อมูลเท็จทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับข้อมูลเท็จไป ตัดสินใจผิด และ ได้รับการรักษาที่เหมาะสมล่าช้า ขาดโอกาสที่จะหายขาด หรืออาจซ้ำเติมโรคมะเร็งให้รุนแรงมากขึ้น ที่ผ่านมา แม้จะมีการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมโรคมะเร็ง โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ เพื่อตรวจสอบและให้ข้อมูลข้อเท็จจริง ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีข่าวด้านโรคมะเร็งที่สงสัยว่าอาจจะเป็นข่าวปลอมทั้งจากที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมส่งมาให้ช่วยหาข้อมูล และ ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติสืบค้นตรวจจับกว่า 600 เรื่อง ส่วนมากจะเป็นข่าวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการหรืองานวิจัยทางการแพทย์รองรับ มักเป็นการคิดเอาตามสมมุติฐานของตนเองโดยไม่มีการพิสูจน์ หรือ เป็นการอ้างต่อๆกันมาแบบไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือรองรับ โดยมีผลกระทบอย่างมากทั้งกับคนที่ยังไม่ป่วยและคนที่ป่วยเป็นมะเร็งแล้ว คนที่ยังไม่ป่วยมักสนใจข่าวที่ว่ากินหรือใช้ผลิตภัณฑ์อะไรแล้วสามารถป้องกันมะเร็งได้ ซึ่งอาจมีความจริงบางส่วน เช่น การกินน้ำผักผลไม้ปั่นช่วยป้องกันมะเร็ง แต่บางครั้งผู้ให้หรือผู้รับสารอาจให้น้ำหนักมากเกินไปจนคิดว่าไม่ต้องปรับเปลี่ยนลดพฤติกรรมเสี่ยงเช่นยังคงกินเหล้า ยังคงสูบบุหรี่ เพราะคิดว่าน้ำผลไม้ปั่นป้องกันมะเร็งได้ 100% หรือในทางกลับกันเชื่อว่าสิ่งโน้นสิ่งนี้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งจนไม่กล้าใช้หรือรับประทานสิ่งนั้นโดยไม่จำเป็น จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น กลัวว่าการใช้ roll on ต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้เป็นมะเร็งเต้านมซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ ส่วนผู้ป่วยโรคมะเร็งมักจะสนใจว่าสิ่งใดจะทำให้หายขาดจากโรคมะเร็งได้ด้วยวิธีง่ายๆ จนทิ้งการรักษาตามมาตรฐานไป ทำให้เสียโอกาสที่จะรักษาโรคให้หายขาด หรือการรักษาที่ไม่ได้มาตรฐานนั้นอาจซ้ำเติมอาการของโรคมะเร็งให้หนักขึ้นรุนแรงขึ้นจนอาจเสียชีวิตได้เช่น การทำ Ice Bathing เป็นต้น

เพื่อหยุดยั้งการแชร์ข้อมูลเท็จต่างๆ ด้านโรคมะเร็ง ท่านสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ทาง website สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ https://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ และ Facebook สถาบันมะเร็งแห่งชาติ Facebook : Thai Cancer News

ผศ.(พิเศษ)ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์

ประธานกรรมการ มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'

'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย

'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล

'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved