แพทย์เฉพาะทางแนะวิธีรักษาโรคกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท ด้วยเทคนิค HYBRID ACDF ทางเลือกใหม่ของคนกลัวการผ่าตัดชี้เป็นวิธีการผ่าตัดที่แม่นยำ ปลอดภัย
นายแพทย์วิศิษฐ์ แซ่ล้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท เผยว่า หลายคนเคยได้ยินแต่ โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทแต่อาจไม่ค่อยคุ้นหูกับ โรคกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท เท่าไรนัก ลองหลับตาแล้วนึกภาพดูว่าในหนึ่งวันกระดูกคอของคนเราจะต้องเคลื่อนไหวเพื่อใช้งานมากแค่ไหน ซึ่งยิ่งถ้าหากเรามีการเคลื่อนไหวที่หนัก และด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ก็จะส่งผลต่อความเสื่อมของกระดูกส่วนคอเพิ่มมากขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาทนั้น จะมีอาการคอเกร็งการขยับและการเคลื่อนไหวลำบาก บางรายมีอาการปวดคอร้าวลงแขน แขนอ่อนแรง หรือมีอาการชาร่วมด้วย
ทั้งนี้ จากเคสที่พบผู้ป่วยของโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการปวดคอ ขยับและเคลื่อนไหวลำบาก บางรายพบว่ามีอาการแขนอ่อนแรง ปวดคอ ร้าวลงแขน ขณะที่แนวทางในการรักษาโรคกระดูกสันหลังส่วนคอทับเส้นประสาท มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค และหากอาการยังไม่รุนแรง ก็สามารถรักษาได้ด้วยวิธีกายภาพบำบัดร่วมกับการรับประทานยาแต่หากวินิจฉัยแล้วพบว่าอาการรุนแรง คือมีอาการชาหรือปวดมาก และมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดโดยเข้ารับการตรวจด้วยเครื่อง MRI เพื่อหาสาเหตุของอาการและทำการผ่าตัดรักษาการทำงานของเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งปัจจุบันการผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ด้วยเทคนิค HYBRID Anterior Cervical Discectomy And Fusion หรือ HYBRID ACDF เป็นอีกทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimal invasive surgery) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ กำลังขยายสูง ที่เรียกว่า กล้องไมโครสโคป (Microscope) ร่วมกับกล้องเอ็นโดรสโคป(Endoscope) เพื่อเปลี่ยนหมอนรองกระดูกที่ทรุดตัวและเสื่อมมากจนไม่สามารถเคลียร์แค่บริเวณที่กดทับออกได้ โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดจากทางด้านหน้า และแผลขนาดเพียง 1.5 นิ้ว เท่านั้น
การผ่าตัดด้วยเทคนิค HYBRID Anterior Cervical Discectomy And Fusion หรือ HYBRID ACDF นี้ เป็นการผ่าตัดที่แม่นยำและปลอดภัย เพราะการใช้กล้องไมโครสโคป (Microscope) จะทำให้แพทย์มองเห็นภาพเป็นสามมิติ และเห็นระยะลึกตื้นของตำแหน่งที่ทำการรักษาได้อย่างชัดเจนขึ้น ส่วนการใช้งานร่วมกับกล้องเอ็นโดรสโคปนั้นจะช่วยให้แพทย์เห็นภาพในลักษณะแบบชอนไช และสามารถปรับมุมมองได้ทันทีขณะทำการผ่าตัด ดังนั้น เมื่อนำข้อดีทั้งสองอย่างมาใช้ร่วมกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา ซึ่งปัจจุบันเทคนิคนี้ยังพบได้น้อยมาก เพราะขึ้นอยู่กับว่าโรงพยาบาลนั้นๆ มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ครบครัน รวมทั้งแพทย์ที่เชี่ยวชาญเพื่อรองรับกับการใช้งานเทคนิคนี้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากไม่อยากไปถึงจุดที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ทุกคนควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปรับท่าทางในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงของการป่วยเป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาทได้มากขึ้น
หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของโรคสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่โทร.02-0340808
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี