Dogs fighting Bears by Theodore Gericault
กว่าที่ Kunsthaus Zurich จะได้รับการก่อตั้งและมีที่อยู่เช่นในปัจจุบันนั้นใช้เวลายาวนานหลายสิบปี ยิ่งกว่านั้นกว่าที่ Kunsthaus Zurich จะมีทรัพย์สมบัติมากมายนั้น ก็ต้องใช้เวลาเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งของบริจาค ทั้งนี้ เพราะสวิสเองไม่ใช่ประเทศจักรวรรดินิยม ไม่ได้มีวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง ไม่ได้มีศิลปินที่โดดเด่นของ School ใดๆ และไม่ได้เป็นที่ก่อกำเนิดของแนวทางศิลปะอะไรอย่างเป็นเรื่องเป็นราวด้วยสิ่งเดียวที่สวิสมีก็คือคหบดี Emil Georg Buhrleลูกครึ่งเยอรมันสวิสคหบดีที่ทำอุตสาหกรรมนักสะสมงานศิลปะ ผู้ก่อตั้งและผู้อุปการะFoundation E.G.Buhrle นี้ เป็นคหบดีที่ทำให้ Kunsthaus Zurich มีทรัพย์สมบัติมากมายจากการเป็นผู้ขายอาวุธให้กับนาซีเยอรมัน
ย้อนไปในปี 1914 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 Buhrle ได้สมัครเข้าเป็นทหาร และได้เข้าทำงานที่ Magdeburg Machine and Tool Factory ซึ่งปัจจุบันคือ EMCO MagdeburgGmbH ในปี 1919 ต่อมาอีก 4 ปี บริษัทที่เขาเข้าทำงานได้ซื้อ Swiss Machine Tool Factory Oerlikon และได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการทั่วไปในปี 1924 เขาจึงย้ายมาอยู่ซูริค และเริ่มเข้าซื้อหุ้นบริษัทจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในปี 1929 จวบจนกระทั่งปี 1936 เขาได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นแต่ผู้เดียวของบริษัท และได้รับสัญชาติสวิสในปี 1937
Before the Start by Edgar Degas
แม้เขาจะเป็นนักธุรกิจอุตสาหกรรมและสามารถเปลี่ยนบริษัทที่เกือบล้มละลายให้กลายเป็นบริษัทที่มั่งคั่ง แต่การที่บริษัทที่เขาทำขายอาวุธให้กับกลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่ม
Republican ของสเปนที่ต่อต้านนายพล Franco กลุ่มอิสระ Abyssinia ที่ต่อต้าน Fascist ของอิตาลี และกลุ่มที่ต้องการอิสรภาพในประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ อาทิ ประเทศในกลุ่ม Baltic เชคโกสโลวาเกีย กรีซ จีน ตุรกี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร จึงทำให้เขาไม่ได้รับการยกย่องมากนัก ระหว่างปี 1940-44
อันเป็นช่วงเวลาที่สวิสถูกล้อมรอบด้วยกลุ่ม Fascist ไม่ว่าจะเป็นอิตาลีหรือเยอรมันส่งผลให้รัฐบาลสวิสขอร้องให้เขาส่งอาวุธให้กับกลุ่มนาซี และอิตาลี ยิ่งกว่านั้น หลังสงครามบริษัทของเขายังเกี่ยวข้องกับการค้าอาวุธผิดกฎหมายในระดับใหญ่ๆ รวมทั้งกลุ่มปล้นอาวุธใน Hyderabadประเทศปากีสถานอีกด้วย
เมื่อ Buhrle มั่งคั่งขึ้น เขาเริ่มสะสมงานศิลปะ ผลงานชิ้นแรกที่เขาซื้อมาตั้งแต่ปี 1920 เป็นภาพสีน้ำของ Erich Heckel นับแต่นั้นมา เขาก็เริ่มซื้องานศิลปะมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีในรายงาน American office of StrategicServices of Art Looting Investigation UnitReports 1945-6 รายงานว่า ในยุคนาซีนั้นBuhrle กลายเป็นคนสำคัญที่ซื้องานศิลปะที่ถูกปล้นมาจาก Fischer และ Wendlandหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เขาได้รู้จักกับ Fritz Nathan เจ้าของห้องภาพ และกลุ่มผู้ขายภาพระดับนานาชาติทั้งในปารีส ลอนดอนและนิวยอร์ก จึงทำให้เขายิ่งซื้อผลงานศิลปะเพิ่มมากขึ้น เขาซื้อตั้งแต่งานประติมากรรมยุคกลางและงานรุ่นเก่าๆ แต่เน้นไปที่ผลงานแนว Impressionism ของฝรั่งเศส และงาน Modernism ทั้งของ Paul Cezanne, Auguste Renoir และ Vincent Van Gogh อีกทั้งยังซื้อสะสมงานของศิลปินเยอรมัน สแกนดิเนเวีย อังกฤษ และสหรัฐฯ เขาได้นำงานสะสมไปจัดแสดงที่วอชิงตัน สหรัฐฯ ในปี 1990 แต่กลับถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักกับที่มาของทรัพย์สมบัติจนทำให้เขาต้องคืนงานจิตรกรรมถึง 13 ชิ้นให้กับลูกเจ้าของเดิมที่เป็นคนยิวอันเนื่องมาจากของเหล่านี้เป็นของที่ถูกปล้นมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
Shore at Berck by Eugene Boudin
หลังจาก Emil Buhrle เสียชีวิต ผู้รับมรดกเห็นว่าสถานที่ที่ควรจัดแสดงงานสะสมของเขาควรเป็นที่Kunsthaus Zurich ก่อนการรับงานศิลปะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของKunsthaus Zurich คณะกรรมการเทศบาลเมืองได้มอบหมายให้ Prof.Matthieu Leimgruberศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์แห่งมหาวิทยาลัยซูริคทำวิจัยเพื่อค้นหาต้นตอของงานศิลปะโดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านมือในช่วง 1933-45 อันเป็นช่วงเวลาที่เกิดการปล้นและยึดครั้งใหญ่โดยเฉพาะจากคนยิวเพื่อป้องกันปัญหาและข้อครหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นักท่องเที่ยวที่มาเยือน Kunsthaus Zurich จะได้มีโอกาสชมงานสะสมของ Emil Buhrle ที่เขาสะสมไว้ตั้งแต่ปี 1936-56 ที่คาดว่าจะได้มาอย่างถูกต้องกันอย่างเต็มอิ่มในห้อง Emil Buhrle collection อีกทั้งยังสามารถฟังประวัติของภาพและการได้มาของภาพจาก audio guide อีกต่างหากด้วย
The Eagle Owl by Edouard Manet
Thunderstorm over Dordretch by Albert Cuyp
Yong Lady in Chaise Lougue by Berthe Morisot
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี