วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in Kunsthaus Zurich

แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in Kunsthaus Zurich

วันอาทิตย์ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : ผลงานศิลปะ แหวกฟ้าหาฝัน ศิลปินนานาชาติ ศิลปะร่วมสมัย งานอาร์ต
  •  

Regetta at Hampton Court 1873

ใน Kunsthaus Zurich นอกจากจะมีงานแนวImpressionism ของ Manet และ Renoir แล้วที่นี่ยังมีงานของ Camille Pissarro อยู่อีกเป็นจำนวนมาก เขาเกิดในวันที่ 10 กรกฎาคม 1830 ที่เกาะ St.Thomas ในครอบครัวที่บิดาFrederick Abraham Gabriel Pissarro เป็นชาวโปรตุเกส-ยิว แต่ถือสัญชาติฝรั่งเศส กับมารดาที่เป็นลูกครึ่งฝรั่งเศสยิว พ่อของเขาเป็นพ่อค้าที่เดินทางมาถึงเกาะ St.Thomas เพื่อขายขายฮาร์ดแวร์แทน Issac Petit ลุงของเขาที่เสียชีวิต พ่อของเขาจึงตัดสินใจแต่งงานกับภรรยาของลุงจนก่อให้เกิดความวุ่นวายในชุมชนยิวที่เกาะ St.Thomas เพราะการแต่งงานใหม่ของหญิงหม้ายผิดกฎหมายยิวถึงกระนั้นก็ตาม พ่อของเขาก็มีลูกใหม่ถึง 4 คน

เมื่อเขาอายุได้ 12 ปี ก็ถูกส่งไปเรียนหนังสือที่ Savary Academy ใกล้ปารีส ฝรั่งเศส และได้เข้าเป็นเด็กฝึกงานกับศิลปินฝรั่งเศส หลังจบการศึกษา เขากลับไปอยู่เกาะ
St.Thomas เพื่อทำงานเสมียนให้กับร้านของพ่อแต่เขายังคงใช้เวลาว่างฝึกฝนงานศิลปะ งานในช่วงนั้นของเขาได้รับแรงบันดาลใจจาก James Gay Sawkins ศิลปินชาวอังกฤษ เมื่อเขาอายุได้ 21 ปี เขาได้รับแรงผลักดันจาก Fritz Melbye ให้ทำงานเป็นจิตรกร เขาเลยตัดสินใจละทิ้งครอบครัวย้ายไปอยู่เวเนซุเอลาเพื่อใช้เวลาเรียนรู้ศิลปะและทำงานเป็นจิตรกรกับ Melbye ถึง 2 ปี ในช่วงเวลาที่เขาอยู่ที่ Caracas และ La Guaira นั้น เขาวาดทุกอย่างที่พบเห็นทั้งแนวทิวทัศน์ และหมู่บ้านจนมีภาพร่างมากมาย ในปี 1855 เขาย้ายกลับมาปารีสเพื่อเป็นผู้ช่วย Anton Melbye น้องชายของ Fritz Melbye และเรียนรู้ผลงานของศิลปินอีกหลายคน อาทิ Courbet, Charles-Francois Daubigny, Jean-francois Melletและ Carot อีกทั้งยังเข้าเรียนศิลปะอย่างจริงจังกับอาจารย์ใน Ecole des Beaux Arts และ Academia Suisse แต่เขากลับไม่ประทับใจ


Peasant woman carding wool 1875

ในปี 1863 ผลงานของเกือบทั้งกลุ่มถูกปฏิเสธจาก Salon เหล่าศิลปินรุ่นใหม่จึงหันไปจัดนิทรรศการที่ Salon desRefuses ที่ซึ่งจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สร้างขึ้นใหม่ให้ศิลปินนอกกระแสได้จัดแสดงผลงานแทนซึ่งทำให้ผลงานของเขาและ Cezanneยังได้รับการจัดแสดงบ้าง ถึงกระนั้นก็ตามนักวิจารณ์ศิลป์ก็วิพากวิจารณ์ผลงานพวกเขาอย่างเผ็ดร้อน ปลายทศวรรษที่ 1860 เขากำลังคลั่งไคล้ภาพพิมพ์ญี่ปุ่นซึ่งกลายเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อการสร้างงานแนวทดลองของเขา หลังสงครามเขาย้ายกลับไปอยู่ฝรั่งเศสอีกครั้งและพบว่าผลงานกว่า 1,500 ชิ้นที่เขาสร้างสรรค์ไว้กว่า 20 ปีหลงเหลือเพียงแค่ 40 ชิ้นเท่านั้น นอกนั้นถูกทำลายไปหมดด้วยฝีมือของทหาร นี่อาจเป็นเหตุผลที่คนรุ่นหลังส่วนใหญ่คิดถึง Pissarro ในแง่ศิลปินเด่นดังแนว Impressionismน้อยกว่า Monet เขาหวนกลับมาสร้างสัมพันธภาพกับศิลปินแนวImpressionism ใหม่ทั้ง Cezanne,Monet, Manet, Renoir และ Degasอีกทั้งยังช่วยพยายามจัดตั้งสมาคมขึ้นเพื่อให้ได้มีโอกาสจัดแสดงผลงาน

ในทศวรรษที่ 1880 เขาเริ่มเปลี่ยนแนวทางการวาดภาพโดยหันกลับไปวาดภาพวิธีชีวิตของชนบทซึ่งเขาเคยทำสมัยอยู่เวเนซุเอลาในช่วงเวลานั้น เขาได้สอน Gauguinซึ่งกำลังเป็นนายหน้าขายหุ้นให้เป็นจิตรกร ในช่วงปลายของชีวิต เขามีปัญหาติดเชื้อที่ตาซ้ำไปซ้ำมาส่งผลให้เขาไม่สามารถทำงานกลางแจ้งได้ยกเว้นในช่วงที่อากาศอบอุ่น เขาต้องวาดภาพกลางแจ้งจากห้องในโรงแรมโดยเขาจะเลือกห้องชั้นบนๆ จะได้เห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล และย้ายโรงแรมไป-มาแถวๆ ทางเหนือของฝรั่งเศส เขาเสียชีวิตในกรุงปารีสในปี 1903

นักท่องเที่ยวจะเห็นว่า Pissarro เป็นศิลปินแนว Impressionism ที่คงเส้นคงวาในแง่เนื้อหา เพราะเขาเน้นการวาดภาพทิวทัศน์กลางแจ้งโดยเน้นแสงเงา และสีเขียว ทั้งยังมีรายละเอียดที่มากมาย แต่ฝีแปรงไม่เด่นชัด แต่เนื่องจากงานของเขาค่อนข้างขาดความหลากหลายดังตัวอย่างใน Kunsthaus Zurichและงานแนวทิวทัศน์ยากแก่การจดจำจึงทำให้แม้เขาจะมีชื่อเสียง แต่ก็ไม่เด่นมากเท่าMonet, Renoir และ Degas

Regetta at Hampton Court detail1

Regetta at Hampton Court detail2

The Conversation, Louveciennes 1870

The Conversation, Louveciennes detail

The Road to Osny at Pontoise, Hoar Frost 1870

The Road to Versailles 1870

View of the Village Marly le Roi 1870

View of the Village Marly le Roi detail1

View of the Village Marly le Roi detail2

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แหวกฟ้าหาฝัน : Frankfurt ประตูสู่ยุโรปตะวันตกที่ดีที่สุด แหวกฟ้าหาฝัน : Frankfurt ประตูสู่ยุโรปตะวันตกที่ดีที่สุด
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Auguste Renoir in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Auguste Renoir in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Claude Monet in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Claude Monet in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Manet in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Manet in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Impressionism in National Museum of Western Art Tokyo 2 แหวกฟ้าหาฝัน : Impressionism in National Museum of Western Art Tokyo 2
  •  

Breaking News

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’

ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา

เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved