สวัสดีครับหลังจากที่เราได้ทราบข่าวเรื่องการเสียชีวิตของผู้มีชื่อเสียง รวมทั้งการป่วยเป็นโรคนี้เรื่อยๆ มีคนสอบถามมาว่าอยากให้ มีการบอกเล่า เรื่องของการรักษาโรคมะเร็งตับ ครับว่ามีการรักษาเหมือนหรือว่า แตกต่างอย่างไร กับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยโรคมะเร็งตับก็เป็นโรคมะเร็งที่เราพบในประเทศไทย เป็นอันดับหนึ่งซึ่งรวมทั้งมะเร็งเนื้อตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในวันนี้ขอเล่าถึงมะเร็งเนื้อตับครับ
ทั้งนี้ การรักษาโรคมะเร็งตับมีสิ่งที่คล้ายกับ การรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ คือ ผ่าตัด และให้เคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้า หรือยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่ว่าก็มีการรักษาชนิดอื่นๆ อีก 3 ชนิดที่เพิ่มมา คือ
1.การจี้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Radiofrequency Ablation; RFA)
2.การปลูกถ่ายตับ (liver tranplantation)
3.การรักษาด้วยการใส่สายสวนเข้าไปอุดเส้นเลือด TACE (Trans arterial chemo embolization) แล้วทำการฉีดสารที่มีคุณสมบัติคล้ายกาวไปอุดเส้นเลือดที่เลี้ยงก้อนมะเร็งโดยตรงได้ โดยที่ก้อนนี้อาจจะมี ยาเคมีติดไปด้วยหรือไม่ก็ได้
สำหรับ การรักษาแต่ละประเภทจะเหมาะสมกับผู้ป่วยมะเร็งตับแตกต่างกันแยกตามระยะของมะเร็งและการทำงานของตับว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพราะว่าผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนหนึ่งจะมีโรคตับเดิม ก่อนที่จะป่วยเป็นมะเร็งตับ เช่น ไวรัสตับอักเสบ บี ซี หรือว่า ภาวะไขมันเกาะตับจนตับอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น ทำให้อาจจะไม่สามารถให้การรักษาแค่ตามระยะของมะเร็งตับ ได้แต่ว่าต้องดูการทำงานของตับด้วยว่าสามารถทำได้หรือไม่
สำหรับการรักษาของมะเร็งตับในแต่ละระยะ มีดังนี
1.ระยะเริ่มต้นมากๆ ที่ก้อนไม่เกิน2 cm เราสามารถทำการรักษาด้วย การผ่าตัดหรือ RFA
2.ระยะเริ่มต้น ที่ก้อนเกิน 2 cm แต่ว่ายังสามารถผ่าตัดได้ ก็ให้ผ่าตัดก้อนไม่เกิน 3 cm และไม่เกิน 3 ก้อน ให้ดูก่อนว่าสามารถที่จะทำการปลูกถ่ายตับได้หรือไม่ ถ้าเกิดว่าสามารถปลูกถ่ายได้ให้ปลูกถ่าย แต่ถ้าไม่ได้ ให้เป็นการรักษาด้วยการจี้ด้วย RFA
3.ระยะกลาง ที่มีก้อนใหญ่กว่า 3 cm หรือมากกว่า 3 ก้อน ให้การรักษาด้วย TACE ซึ่งการรักษานี้คุณหมอที่รักษาคือคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เรียกว่า แพทย์รังสีร่วมรักษา (Radiointerventionist)
4.ระยะที่เป็นมากแต่ว่า ค่าการทำงานของตับยังทำงานได้อยู่ เช่น ก้อนมะเร็งลุกลามเข้าเส้นเลือดใหญ่ หรือว่า เริ่มกระจายไปที่อวัยวะอื่นนอกตับ เช่น กระดูก ปอด ให้การรักษาด้วย ยามุ่งเป้า หรือว่า ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน
5.ระยะท้าย ที่การทำงานของตับไม่ดีแล้ว ยังให้การรักษานะครับ แต่ว่าเป็นการรักษาตามอาการ หรือที่เรียกว่า best supportive care ถึงตรงนี้ ครับเราจะเห็นว่า การรักษาของโรคมะเร็งตับ เป็นการรักษาที่มีความซับซ้อน ขึ้นกับระยะของมะเร็ง อีกทั้งยังขึ้นกับการทำงานของตับว่ายังสามารถทำงานได้ตามปกติ หรือไม่เพราะว่า การรักษาแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพการรักษา แต่ว่าก็มีผลข้างเคียงร่วมอีกด้วย ดังนั้นการตัดสินใจว่าจะรักษาอย่างไรการปรึกษากับแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็งตับจึงมีความสำคัญครับ
และ ดีที่สุด คือการที่ไม่ป่วยเป็นมะเร็งตับ ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่คนไทยเป็น คือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยไม่รู้ตัว จึงไม่ได้เข้าสู่การรักษา ซึ่งวันนี้การคัดกรองสามารถที่จะเบิกได้แล้วทุกสิทธิ์ รวมทั้งเมื่อติดแล้วสามารถเบิกค่ารักษาได้ ซึ่งถ้าถามว่าใครบ้างเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งคือคนที่เกิดก่อนปี 2535 (อายุ 31 ปีขึ้นไป) ครับ เพราะว่าเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีนโยบายการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ตอนแรกคลอด ทำให้บางคนอาจจะมีการติดจากแม่สู่ลูก มาตั้งแต่เกิดได้ ครับ ทั้งนี้จึงอยากเชิญชวนให้ คนที่อายุมากกว่า 31 ปี เจาะตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อหาว่าตนเองมีเชื้ออยู่ไหม เพื่อจะได้เข้าสู่การรักษา และทำให้ไม่ต้องป่วยเป็นมะเร็งตับ
ในอนาคต ครับ
ข้อมูลจาก นพ.ภาสกร วันชัยจิระบุญ
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี