วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ฤดูหนาวมาเยือน ระวังโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

ฤดูหนาวมาเยือน ระวังโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

วันอังคาร ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2567, 05.00 น.
Tag : ฤดูหนาว โรคซึมเศร้า
  •  

อากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้บางคนมีอารมณ์และความรู้สึกเปลี่ยนตาม โดยเฉพาะฤดูหนาวเป็นช่วงที่กลางวันสั้นกว่าตอนกลางคืนอาจทำให้ใครหลายคน เริ่มมีอาการ เหงา เศร้า รู้สึกว่าชีวิตไม่แฮปปี้เหมือนเคย จนอาจทำให้บางคนอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder : SAD)

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปีโดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการขึ้นในฤดูหนาว อาจมีอาการต่างๆ เช่น ซึมเศร้า เหนื่อยล้า แยกตัวจากสังคม ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปภายในไม่กี่เดือนแต่ก็อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความรู้สึกและการใช้ชีวิตในประจำวัน โดยโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลพบได้บ่อยในผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตหนาวที่มีฤดูหนาวยาวนาน โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า คนที่มีอายุ 18-30 ปี และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้าทั่วไป โรควิตกกังวล หรือโรคไบโพลาร์


 

ปัจจุบันโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล ยังไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่คาดว่าช่วงเวลากลางวันหรือระยะเวลาที่มีแสงอาทิตย์ในแต่ละวันอาจส่งผลกระทบต่อนาฬิกาชีวิตซึ่งเป็นวงจรที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น การตื่นนอนการนอนหลับ และการหลั่งฮอร์โมนบางชนิด โดยช่วงเวลากลางวันที่สั้นลงในฤดูหนาวอาจทำให้นาฬิกาชีวิตผิดปกติก็สามารถทำให้สมองมีการหลั่งฮอร์โมนบางชนิดผิดปกติ ได้แก่ 1.ระดับเซโรโทนินลดลง เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทในสมองที่มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอารมณ์ ซึ่งการได้รับแสงแดดไม่เพียงพออาจส่งผลให้สารชนิดนี้มีปริมาณลดลงและอาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าตามมาได้

2.ระดับเมลาโทนินสูงขึ้น เมลาโทนินมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการนอนหลับ หากฮอร์โมนชนิดนี้มีระดับสูงขึ้น อาจส่งผลให้รู้สึกง่วงนอนและเซื่องซึมจนเกิดเป็นภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน

อาการโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลเหมือนกับโรคซึมเศร้าทั่วไป แต่จะมีอาการที่เป็นแค่บางช่วงโดยเฉพาะหน้าหนาว และจะค่อยๆ หายในฤดูร้อน เช่น รู้สึกหมดหวัง ไร้ค่า มีอารมณ์เศร้าต่อเนื่องเป็นเวลานาน อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง หมดความกระตือรือร้นจะทำสิ่งต่างๆน้ำหนักขึ้น นอนหลับมากผิดปกติ หรือนอนไม่หลับ และเก็บตัว ไม่ต้องการออกไปพบกับผู้อื่น

สำหรับการรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลมีวิธีการรักษา ดังนี้ 1.การรับประทานยา ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อปรับสมดุลของสารในสมองตั้งแต่ต้นฤดูกาล 2.การทำจิตบำบัด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยบางรายเข้ารับการบำบัดพฤติกรรมและความคิด ซึ่งเป็นการปรับวิธีคิดและพฤติกรรมเพื่อรับมือกับภาวะซึมเศร้าอย่างเหมาะสม 3.การบำบัดด้วยแสง เป็นการให้ผู้ป่วยเข้ารับการฉายแสงที่จำลองมาจากแสงอาทิตย์วันละประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากตื่นนอน เพื่อปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล โดยผู้ป่วยบางรายอาจฉายแสงด้วยตนเองที่บ้าน 4.ปรับพฤติกรรมใช้ชีวิต 5.ปรับพฤติกรรมชีวิตให้ผ่อนคลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกกินอาหารที่ดี อาหารบางอย่างช่วยต้านซึมเศร้าได้ ออกกำลังกาย นอนหลับให้เพียงพอ นั่งสมาธิ ฟังเพลง ทำอาหาร เลี้ยงสัตว์ เหล่านี้มีส่วนช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ สามารถป้องกันโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้ เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว ออกไปข้างนอกรับแสงแดดให้มากขึ้นออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าลองทำแล้วยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาการซึมเศร้าได้ ควรมาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมเพื่อจะได้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘ฆ่าตัวตาย’ ไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้าที่เป็นต้นเหตุเสมอไป ‘ฆ่าตัวตาย’ ไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้าที่เป็นต้นเหตุเสมอไป
  • dTMS ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคซึมเศร้า dTMS ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคซึมเศร้า
  • ต้องทานยาไปตลอดชีวิตไหม?  มาทำความเข้าใจการรักษาโรคซึมเศร้ากันเถอะ ต้องทานยาไปตลอดชีวิตไหม? มาทำความเข้าใจการรักษาโรคซึมเศร้ากันเถอะ
  • สูบบุหรี่ อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้า สูบบุหรี่ อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้า
  • นอนไม่หลับเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า นอนไม่หลับเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า
  • นอนไม่หลับเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า นอนไม่หลับเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า
  •  

Breaking News

อดทนต่อคำปรามาส! 'นิพิฏฐ์'ขอบคุณทุกฝ่าย ยืนหยัดต่อสู้'คดีชั้น 14'

มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 9-15 พ.ค.68

(คลิป) แนวหน้าTAlk : 'กูพูดไม่ได้' ย้อนอดีตเพื่อนรัก สุรนันทน์ ถึง บุญทรง

เพลิงไหม้วอด! กระบะยางแตก พุ่งลงข้างทางมอเตอร์เวย์ M6

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved