ถึงแม้อารมณ์เศร้าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับเราได้ทุกเมื่อยามพบเจอ สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจและความรู้สึก แต่ในบางคนความเศร้ามีเหตุปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมองหรือร่างกายไม่ว่าจะเป็นสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติจนเสียสมดุลทางอารมณ์ และการอักเสบที่เกิดขึ้นกับร่างกายซึ่งส่งผลต่อจิตใจ ทำให้รู้สึกเศร้ารุนแรงและเรื้อรังนานโดยมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน การกินมีปัญหาเรื่องสมาธิ ความจำ มีปัญหาเรื่องความรู้สึกผิด และอาจส่งผลร้ายถึงขั้นรู้สึกว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งใน กลุ่มวัยรุ่น คนทำงาน และอีกกลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือผู้สูงวัย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ อ.ดร.นพ.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล จิตแพทย์ผู้สูงอายุภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า จากสถิติ 1-5% ของผู้สูงอายุทั่วไปมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า และแน่นอนว่าเมื่อเข้าสู่สังคม ซึ่งวัยจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าก็ย่อมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
ยิ่งสูงวัยปัจจัยเสี่ยงยิ่งมากคงไม่มีใครปฏิเสธว่าเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุทุกคนย่อมต้องเผชิญกับความเสื่อม และหายไปของบางสิ่งบางอย่าง ทั้งการเกษียณจากงานและเริ่มหมดไฟ ความเสื่อมถอยของสุขภาพร่างกาย อาการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ สังคมรอบตัวก็ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป เหล่านี้คือปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลให้ผู้สูงวัยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าทว่าปัจจัยหลักๆ คือ
-ความเสื่อมของร่างกายและอาการเจ็บป่วยยิ่งอายุมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ ก็มากขึ้น และหลายโรคก็นำมาซึ่งความเจ็บปวดทรมาน เช่น โรคหลอดเลือดแตก ตีบตันโรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคมะเร็งโรคข้อ ฯลฯ การเป็นโรคเหล่านี้ไม่เพียงทำให้ดูแลตัวเองได้น้อยลงจนส่งผลให้จิตใจย่ำแย่ แต่ยังเกี่ยวข้องกับการ อักเสบซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการซึมเศร้า ทำให้ผู้สูงวัยที่ป่วยด้วยโรค เหล่านี้มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าเยอะขึ้น
-ความโดดเดี่ยว เครียด กังวล : เมื่อเวลาในชีวิตผ่านไปเรื่อยๆ ผู้คนรอบตัวก็ลดน้อยลงเรื่อยๆ เช่นกัน อาจจะเพื่อนน้อยลงเพราะเกษียณจากงานที่ทำ คู่ครองเสียชีวิต ลูกหลาน แยกบ้าน ฯลฯ ทำให้ผู้สูงวัยจำนวนมากต้องอยู่คนเดียว ขาดการสนับสนุน ทางสังคม จนเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว เครียด เหงา ไม่มีคุณค่า และไร้จุดหมาย บางคนอาจรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรได้น้อยลง เป็นภาระของลูกหลาน จนรู้สึกไม่ดีและทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้
- เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน : หากเคยเป็นโรคซึมเศร้าในช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงานมาก่อน ความเสี่ยง ที่จะเป็นโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจะยิ่งสูงขึ้น
สัญญาณเตือน อ.ดร.นพ.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล จิตแพทย์ผู้สูงอายุ แนะนำว่าหากสังเกตสัญญาณเตือนให้ดีจะรู้ได้ว่าผู้ใหญ่ในบ้านมีอาการซึมเศร้าหรือไม่ “แม้ว่าผู้สูงอายุจะทำกิจกรรมน้อยจนดูออกยากว่าเศร้า อารมณ์ดี แต่คนไข้หรือญาติจะสังเกตเห็นได้จากอารมณ์หงุดหงิดที่มากขึ้นหรือการแยกตัว ออกจากสังคม และในรายที่มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกายอยู่แล้ว เช่น เข่าเสื่อมอยู่เดิม กระดูกสันหลังเสื่อมอยู่เดิมปวดเข่าปวดหลังอยู่บ้าง หากอารมณ์แย่ลงจะทำให้อาการปวดมากขึ้น ป็นสัญญาณเตือนที่ทำให้สังเกตได้ว่าน่าจะเป็นโรคซึมเศร้า” ดังนั้นเมื่อสังเกตพบอาการเหล่านี้ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันผลกระทบร้ายแรงที่อาจตามมา
4 Steps รักษาทั้งร่างกาย จิตใจและสังคม
Step 1 เมื่อตัวผู้สูงอายุเองหรือคนรอบข้างสังเกตว่าอารมณ์เปลี่ยนไปไม่มีความสุข จะนำไปสู่การสืบค้น ว่าอาการต่างๆ เหล่านั้นคืออาการ ของโรคซึมเศร้าหรือไม่
Steb 2 เมื่อพบว่าอาการนั้นเกี่ยวข้องกับภาวะ ซึมเศร้า ต้องพิจารณาต่อว่าคนไข้มี ความเสี่ยงร่วมกับโรคอื่นหรือมีปัจจัย ทางสังคมที่อาจส่งผลต่ออาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่ เพื่อทำการรักษา เยียวยาไปพร้อมกัน เช่น หากมีอาการ ข้อเสื่อม ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นนั้น อาจกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกจนนำไปสู่อาการซึมเศร้าได้จึงต้องรักษาควบคู่กัน หรือกรณีที่อยู่คนเดียว ความรู้สึกเหงาโดดเดี่ยวคือปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า หากไม่แก้ ปัญหาเหล่านี้ การรักษาให้หายขาดก็อาจทำได้ยาก
Step 3 จากนั้นควรตรวจร่างกายเพิ่มเติม อย่างละเอียด เพื่อดูว่ามีปัญหาทางด้านสุขภาพอื่นๆ ซ่อนอยู่อีกหรือไม่ เพราะอาจมีปัจจัยที่ส่งผลต่ออารมณ์ อย่างไทรอยด์ที่ผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ ร่วมด้วยก็เป็นได้
Step 4 ตรวจวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคซึมเศร้า ระดับไหน คนไข้ที่มีอาการไม่มาก สามารถเลือกได้ระหว่างการทำจิตบำบัดหรือการใช้ยา หรือจะรักษาแบบผสมผสานควบคู่กันก็ได้เช่นกัน แต่หากอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก มีอาการทางจิตเวชร่วมด้วยหรือความคิดฆ่าตัวตายชัดเจน ต้องรักษาด้วยการให้ยาร่วมกับการแก้ปัญหาอื่นๆ อย่างเร่งด่วน
ผลกระทบของโรคซึมเศร้าจะทำให้สุขภาพแย่ลง และเมื่อเป็นโรคอื่นร่วมด้วยอาการของโรคก็จะยิ่งทรุดหนักทั้งนี้สุขภาพที่แย่และอาการของโรคอื่นที่หนักขึ้นจะส่งผลให้อาการซึมเศร้ารุนแรงมากขึ้นวนเป็นวัฏจักรที่น่าเป็นห่วงคือคนไข้ที่มีอาการซึมเศร้าในระดับสูงมีความเสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย จากการศึกษาวิจัยและสถิติที่ผ่านมาพบว่าความสำเร็จในการฆ่าตัวตายของผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีมากกว่าผู้ป่วยในวัยอื่นๆ อย่างชัดเจน ฉะนั้นหากพบความผิดปกติต้องรีบเข้ารับการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
หากสงสัยว่าผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัยในบ้านเข้าข่ายโรคซึมเศร้า สามารถพามารับการตรวจวินิจฉัยได้ที่คลินิกจิตเวชทั่วไป หรือคลินิกจิตเวชผู้สูงอายุโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี