สลิลลา สีหพันธุ์, จันทิมา เกยานนท์, รศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์, อ.กฤษฎี โพธิทัต
เนสท์เล่ จุดประกายคอนเซ็ปต์ การกินอยู่อย่างสมดุล หรือ Balanced Diet ด้วยแคมเปญ “คำเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่” หรือ Every Little Bite Matters ด้วยความเชื่อที่ว่า อาหารทุกคำสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ตามมาเสมอ เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพกายและใจที่ดีอย่างยั่งยืน ล่าสุดจัดเวิร์กช็อป“กินที่ชอบ บาลานซ์ที่ใช่ ไปกับเนสท์เล่” ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและให้เคล็ดลับอันเป็นประโยชน์ เพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้ได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน
สลิลลา สีหพันธุ์ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด เล่าถึงแนวคิดของการกินอยู่อย่างสมดุล หรือ Balanced Diet ในแบบฉบับของเนสท์เล่ว่า “ต้องยอมรับว่าอาหารมีบทบาทในชีวิตคนเรามากกว่าที่คิด อาหารไม่เพียงแต่ตอบสนองด้านโภชนาการให้กับร่างกาย แต่ยังมีบทบาทด้านอารมณ์และการเข้าสังคมอีกด้วย เนสท์เล่จึงอยากสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมไลฟ์สไตล์การกินอยู่อย่างสมดุลให้กับทุกๆ คน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพดีแบบองค์รวม ด้วยการกินพอและกินดี ซึ่งหมายถึงกินในสัดส่วนพอเหมาะ มีความหลากหลาย และเพียงพอสำหรับการดูแลร่างกายให้สุขภาพดี และเติมเต็มความรู้สึกทางจิตใจให้มีความสุขด้วย”
รศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ นายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ,สลิลลา สีหพันธุ์
รศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ นายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ และอาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล่าถึงสาเหตุหลักของการเสียชีวิตอันดับ 1 ในประเทศไทยว่ามาจากโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและ
หลอดเลือด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโดยกลุ่มโรคเหล่านี้เป็นผลมาจากวิถีชีวิต และทางสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ ก็มีเป้าหมายสูงสุดในการทำให้คนไทยมีภาวะโภชนาการที่ดี และมีความรอบรู้ด้านโภชนาการ การสร้างความเข้าใจในแนวทางการกินอยู่อย่างสมดุล หรือ Balanced Diet จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยให้คนไทยมีสุขภาพดีได้อย่างยั่งยืน
“หลักการกินอยู่อย่างสมดุลนี้มีความสำคัญมาก ถ้าถามว่าในความเป็นจริง ชีวิตคนเราจะกินให้ดีต่อสุขภาพทุกวัน ทุกมื้อไหม ก็อาจจะไม่ได้ เพราะฉะนั้นหากทุกคนรู้จักสร้างสมดุลให้กับตนเอง ก็สามารถกินของที่ชอบได้ในสัดส่วนที่เหมาะสม และกินให้หลากหลายสลับกันไป มีผักและผลไม้ที่เพียงพอ เพื่อให้ดีต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งถ้าเราดูแลเรื่องอาหารการกินแบบไม่เครียดจนเกินไป จิตใจก็จะมีความสุขไปด้วย เราก็จะทำได้นานโดยไม่ฝืน และสร้างสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน”
มารี เบรินเนอร์
เนสท์เล่ จึงแนะนำวิธีการกินอยู่อย่างสมดุล ให้ทุกคนได้กินอาหารที่ชอบในบาลานซ์ที่ใช่ ผ่านเทคนิคง่ายๆ อย่าง “บวก แบ่ง แพลน” ที่สามารถ
ทำได้จริง และนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของทุกคน ได้แก่
บวก จับคู่อาหาร (Food Pairing)
โดย จันทิมา เกยานนท์ นักวิชาการด้านอาหารและโภชนาการ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า“หลักของการ “บวก” คือ การกินให้ดีด้วยการเพิ่มประโยชน์ให้มื้อนั้นๆ ให้มีสารอาหารครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น การบวกจับคู่ให้ครบหมู่ ให้ได้สารอาหารหลากหลาย เช่น เพิ่มผัก หรือธัญพืช หากในมื้อนั้นมีเนื้อสัตว์ หรือข้าวแป้งในสัดส่วนเกิน 50% นอกจากนั้น ยังมีการบวกจับคู่เพื่อเสริมประโยชน์ เพราะอาหารบางอย่างเมื่อกินด้วยกันจะสามารถช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหารได้มากกว่าเดิม เช่น ถ้าอยากเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก ให้กินอาหารที่มีวิตามินซีร่วมด้วย เช่น หมูย่าง ให้กินเป็นเมนูยำหรือให้บวกคู่กับเครื่องดื่มที่ให้วิตามินซีสูง หรือถ้าอยากเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม ให้ลองจับคู่กับอาหารที่มีวิตามินดี เช่น ซีเรียลจากโฮลเกรน จับคู่กับนมที่เสริมวิตามินดี”
แบ่ง ปริมาณที่พอดี (Portion Control) คือการคุมปริมาณการกินให้เหมาะสมกับความต้องการพลังงานของร่างกาย การแบ่งมีหลักการง่ายๆ คือ การแบ่งกินทีละน้อย สำหรับอาหารว่างที่ให้พลังงานสูง เช่น แบ่งช็อกโกแลตแท่งกับเพื่อน หรือแบ่งไอศกรีมครั้งละ 1 ลูก ซึ่งสามารถดูคำแนะนำการแบ่งกินตามฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (GDA : Guideline Daily Amounts) ที่หน้าบรรจุภัณฑ์ หรือสังเกตสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” เพื่อเป็นตัวช่วยยืนยันว่าผลิตภัณฑ์มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่เหมาะสม
ซึ่งเรื่องนี้ อ.กฤษฎี โพธิทัต นักกำหนดอาหารวิชาชีพ (ไทย และ อเมริกา) ที่ปรึกษาศูนย์โภชนาการและการกำหนดอาหาร โรงพยาบาลวิมุต-เทพธารินทร์ ได้เสริมเรื่องการแบ่งและควบคุมปริมาณการกินว่า “การกินแบบมีสติ หรือ Mindful Eating คือสิ่งที่สำคัญ เราอาจจะลองใช้ scale ความหิวและอิ่มมาประเมินเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรกินเท่าไร อีกอย่างคือ ถ้ามื้อไหนที่เรากินอาหารที่มีโปรตีนหรือไฟเบอร์น้อยเกินไป ก็จะทำให้หิวเร็วขึ้นในมื้อถัดไป และที่สำคัญ คือไม่ควรปล่อยให้ตัวเองหิวจัด เพราะจะทำให้เรากินอย่างขาดสติและเสียสมดุลได้นอกจากนั้น การค่อยๆ เคี้ยว ไม่กินเร็วเกินไป จะช่วยให้กระเพาะใช้เวลาส่งสัญญาณให้สมองรู้ว่าอิ่ม”
แพลน วางแผนมื้ออาหาร (Meal Planning) แม้จะมีทฤษฎีการจัดมื้ออาหารให้สมดุล ให้หลากหลายครบหมู่ หรือแนวคิดการจัดจานแบบ 2:1:1 ที่กำหนดให้แบ่งอาหารเป็นผัก 2 ส่วน ข้าวหรือแป้ง 1 ส่วน และเนื้อสัตว์อีก 1 ส่วน แต่ในความเป็นจริง เราอาจไม่สามารถทำได้ในทุกๆ มื้อ
“เราสามารถนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ได้ด้วยการวางแผนมื้ออาหารในแต่ละวันให้สมดุลกัน เช่น ถ้ามื้อแรกจัดบุฟเฟ่ต์หนักแล้ว มื้อต่อไป
ควรลดปริมาณการกินลง เน้นผักมากขึ้นหรือถ้ามื้อนี้เตรียมฮีลใจด้วยของหวานแล้ว เครื่องดื่มในมื้อนั้นควรเลือกเป็นน้ำเปล่า หรือสูตรน้ำตาลน้อยแทน”
เพราะฉะนั้น หลัก “บวก แบ่ง แพลน” ของการกินอยู่อย่างสมดุล จึงเป็นการเน้นความพอดีของทั้งประเภทอาหาร และปริมาณในการกิน ให้เหมาะกับความต้องการของร่างกาย พร้อมๆ กับการนึกถึงความสุขในการกินด้วย โดยสามารถทำตามได้ไม่ยาก เพื่อสร้างการกินอยู่อย่างสมดุลที่ยั่งยืน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี