วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
จิตแพทย์เตือนเครียดมากเกินไป ระวังหมดไฟก่อนวัยอันควร

จิตแพทย์เตือนเครียดมากเกินไป ระวังหมดไฟก่อนวัยอันควร

วันพุธ ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567, 07.08 น.
Tag : ความเครียด จิตแพทย์ หมดไฟก่อนวัยอันควร
  •  

“ความเครียด” เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่จำกัดเพศ หรือ วัย แต่การ “เครียดเรื้อรัง” สะสมไปเรื่อยๆ สามารถส่งผลกระทบกับสุขภาพกาย สุขภาพจิตได้ ซึ่งสาเหตุของความเครียดมีได้มากมาย ตั้งแต่เรื่องการงาน การเรียน เพื่อนฝูง ครอบครัว หรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆไม่ว่าจะเป็นในด้านบวก หรือด้านลบ สำหรับบางคน การวางแผนไปเที่ยววันหยุด ก็อาจทำให้เครียดขึ้นมาได้

วัยรุ่น เป็นวัยที่ต้องพบเจอกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย ทั้้งด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงวิถีชีวิต การเข้าสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ย่อมมาพร้อมกับความเครียด ทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัวหากไม่สามารถปรับตัวให้เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ อาจจะทำให้เกิดการท้อแท้ สิ้นหวัง หมดไฟก่อนวัย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ พ่อแม่ผู้ปกครองควรเอาใส่ใจติดตามสังเกต และดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยลูกจัดการ ระบายความเครียด


สาเหตุความเครียดของวัยรุ่น“เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด”

โดยธรรมชาติแล้ว วัยรุ่น เป็นวัยที่แสวงหาตัวตน การได้รับการยอมรับ ซึ่งบ่อยครั้งสิ่งนี้ทำให้เกิดการเปรียบเทียบขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบกับเพื่อน พี่น้อง หรือ บุคคลอื่นๆ และในสมัยนี้ มีการใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น ซึ่งยิ่งเป็นการทำให้เกิดการเปรียบเทียบได้ง่าย และเด่นชัดยิ่งขึ้น จนสามารถก่อให้เกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ คิดว่าตัวเองไม่ดีเท่าคนอื่น สิ่งเหล่านี้ สามารถก่อให้เกิดความเครียด เพิ่มขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่วัยรุ่นต้องเจออยู่แล้ว สังเกตวัยรุ่นที่บ้าน เข้าสู่ความเครียดมากเกินไปหรือไม่

สุขภาพทางใจ : พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น จากเป็นคนร่าเริง เปลี่ยนเป็นคนเก็บตัว เหม่อลอยไม่มีสมาธิ เบื่อท้อ เศร้า อาจมีการพูดในเชิงลบ ด้อยค่า กับตัวเอง หรือผู้อื่น มากขึ้น รวมถึงการเขียนสิ่งต่างๆเหล่านี้ลงโซเชียลมีเดีย

นพ.ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์

สุขภาพทางกาย : สิ่งที่สังเกตได้ง่ายๆ คือ พฤติกรรมการกินและการนอนบางคนอาจจะกินมากขึ้น กินจนควบคุมไม่ได้ หรือ บางคนอาจจะเบื่ออาหาร ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงไปจนผิดปกติ สำหรับการนอน บางคนอาจจะนอนมากขึ้น แต่ตื่นมาไม่สดใส หรือ บางคนก็อาจจะมีอาการนอนไม่หลับ นอกจากนี้ความเครียดยังสามารถก่อให้เกิดอาการทางกายอื่นๆ เช่น ปวดหัว ปวดตามตัว ใจสั่น อ่อนเพลีย เป็นต้น

พ่อแม่ รับบท ผู้รับฟัง ไม่ใช่ “ผู้ตัดสิน”

คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง ควรตระหนักถึงความสำคัญของการรู้จักเป็นผู้ฟังที่ดี และควรพยายามเปิดใจฟัง โดยไม่ตัดสินว่าสิ่งที่ลูกพูดหรือทำนั้น ผิดหรือถูก การที่ลูกมาพูดคุยด้วย เขาอาจจะแค่อยากมีคนรับฟัง โดยไม่ได้อยากได้คำแนะนำ หรือคำสั่งสอน บ่อยครั้ง พ่อแม่มักจะหวังดีอยากช่วย จึงด่วนให้คำแนะนำไป โดยที่ลูกยังไม่ได้รู้สึกว่าได้รับการรับฟังซึ่งสิ่งนี้อาจจะทำให้ลูกรู้สึกว่าถูกตัดสิน และรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะพูดออกไป สิ่งสำคัญ คือ การสื่อสารออกไปว่า พ่อแม่อยู่พร้อมตรงนี้ และคอยสนับสนุน ในบางกรณี พ่อแม่อาจจะกระตุ้นให้ลูกคิดถึงแง่มุมต่างๆ ของปัญหา ชวนให้ลูกคิด ช่วยร่วมวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และวิธีการแก้ไข โดยที่ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะมีคำตอบอยู่ในใจอยู่แล้วแล้วก็ตาม แต่ควรให้โอกาสลูกได้คิด ได้ตัดสินใจด้วยตนเองด้วย

ความเครียด ถือได้ว่าเป็นภาวะที่ต้องให้ความใส่ใจและถึงแม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเหมือนอาการบาดเจ็บภายนอกร่างกาย แต่ก็สามารถส่งผลกระทบได้ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

วิธีการดูแลเบื้องต้น

พยายามแยกแยะว่า เรื่องที่เครียดนั้น เป็นเรื่องที่ควบคุมได้ หรือ ควบคุมไม่ได้ การคิดต่อไป เกิดประโยชน์แค่ไหนหากเริ่มรู้สึกว่าจมอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป พยายามดึงตัวเองออกมา ผ่านการทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ออกไปเดินเล่น ออกไปเจอเพื่อน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที เพื่อช่วยบรรเทาความเครียด รวมถึงช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น นอนหลับพักผ่อน ทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลายความเครียดและอารมณ์แจ่มใสขึ้น รับประทานอาหารมีประโยชน์

หากใครสงสัยว่าตนเองมีภาวะเครียดสะสม เครียดเรื้อรัง และยังจัดการไม่ได้ ควรปรึกษาจิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยา เพื่อรับการประเมิน และการดูแลรักษา ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ระวัง ‘ความเครียด’ ภัยเงียบกระตุ้นโรคเบาหวาน ระวัง ‘ความเครียด’ ภัยเงียบกระตุ้นโรคเบาหวาน
  • เช็คอาการ เด็กขี้เกียจไปเรียน หรือเป็นภาวะหมดไฟในการเรียน เช็คอาการ เด็กขี้เกียจไปเรียน หรือเป็นภาวะหมดไฟในการเรียน
  • เครียดมากเกินไป ระวังหมดไฟก่อนวัยอันควร เครียดมากเกินไป ระวังหมดไฟก่อนวัยอันควร
  •  

Breaking News

ด่วน! ชายแดนเดือด'ตาเมือนธม' ทหารไทย-กัมพูชาปะทะคารมเดือด ผลักอกไล่กันสนั่น!

งานเข้า!’ยามาล’แข้งดังโดนสอบฉลองวันเกิด

มทภ.2รับมอบบังเกอร์อุเทนถวาย เซฟทหารชายแดน เล่าอดีตเคยเป็นเด็กช่าง

'สรวงศ์'ชี้แกนนำเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้าเพราะเคารพ'ทักษิณ' ไม่มีครอบงำ ปัดกกต. เรียกชี้แจง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved