วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
เช็คอาการ เด็กขี้เกียจไปเรียน หรือเป็นภาวะหมดไฟในการเรียน

เช็คอาการ เด็กขี้เกียจไปเรียน หรือเป็นภาวะหมดไฟในการเรียน

วันอังคาร ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 07.00 น.
Tag : ความเครียดจากการเรียน จิตแพทย์ สุขภาพจิตเด็ก AcademicBurnout
  •  

ชีวิตในวัยเรียนเป็นช่วงเวลาที่มีทั้งความสนุก ความเศร้า ความเครียดจากการเรียน จึงทำให้เด็กบางคนอาจหมดแพชชั่นในการเรียน และอาจทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นภาวะหมดไฟในการเรียนโดยไม่รู้ตัว (Academic Burnout)

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- BangkokMental Health Hospital กล่าวว่าภาวะหมดไฟในการเรียน (Academic Burnout) คือภาวะที่นักเรียน นักศึกษา เผชิญกับความเครียดและความกดดันจากการเรียน การสอบ เป็นระยะเวลานานจนเกิดความรู้สึกเบื่อ ไม่มีสมาธิเรียนไม่อยากอ่านหนังสือ และไม่อยากไปโรงเรียนทำให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนและสุขภาพร่างกาย ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรัง อารมณ์หม่นหมอง หรือเป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้


สัญญาณเตือนภาวะหมดไฟในการเรียน ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ ต่อต้านการเรียน อ่านหนังสือแล้วจำไม่ได้ ไม่อยากจะยุ่งกับใคร วิตกกังวล ขี้หงุดหงิด อยากอยู่คนเดียว นอนไม่หลับ

พญ. อริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล

หมดไฟในการเรียน เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น มีปริมาณการบ้านหรือเนื้อหาที่ต้องเรียนมากเกินไป, สั่งงานในเวลากระชั้นชิด, เกิดความกดดัน ความคาดหวังสูง,ความยากของเนื้อหาในการเรียน, ต้องเรียนในวิชาที่ไม่ชอบ ไม่ถนัด และมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น หรือคุณครู อาจารย์

การป้องกันภาวะหมดไฟในการเรียนอาจจะเริ่มต้นด้วยการคุยกับเพื่อนเวลารู้สึกเครียดกับเรื่องการเรียนเพื่อสร้างความผ่อนคลาย จัดสัดส่วนเวลาเรียน กับการพักผ่อนให้ชัดเจน เพื่อช่วยลดความเครียด จัดสภาพแวดล้อมบนโต๊ะเรียนให้เหมาะสมน่าเรียน และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้หลั่ง Growth Hormone ในการซ่อมแซมร่างกายตัวเอง และจะได้ตื่นมากระปรี้กระเปร่าต้อนรับเช้าวันใหม่

อย่างไรก็ตาม ภาวะหมดไฟในการเรียนอาจดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่ถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้ หากสังเกตอาการตัวเองและคนรอบข้างได้เร็ว ก็สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองต่อตัวเองและการเรียนได้ทัน แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นควรเข้ามาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • จิตแพทย์เตือนเครียดมากเกินไป ระวังหมดไฟก่อนวัยอันควร จิตแพทย์เตือนเครียดมากเกินไป ระวังหมดไฟก่อนวัยอันควร
  •  

Breaking News

ข่าวปลอมอย่าแชร์! ‘สปสช.’ย้ำค่ารักษาปชช.เพื่อนบ้านค้างเกือบแสนล้านบาทไม่เป็นความจริง

เปิดทรัพย์สิน 'นายกเบี้ยว' รวย 36 ล้าน ที่ดิน-พระเครื่อง เพียบ สะสมปืน 6 กระบอก

เปิดเวทีรับฟังเสียงชาวแม่สาย หลังเผชิญสารพิษในน้ำสูงลิ่ว นายกเล็กเสนอให้ท้องถิ่นเข้าถึงการตรวจ

รทสช. มีมติรับร่าง พ.ร.บ. สังคมสันติสุข ของ'ภท' หวังปิดประตูนิรโทษ ม.112

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved