วันเสาร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
สถิติทั่วโลกพบเด็ก 5% ของชั้นประถม เป็นโรคบกพร่องทางการเรียนรู้  โรงพยาบาล BMHH ห่วงเด็กไทย เปิดศูนย์ LD Center ครบวงจร

สถิติทั่วโลกพบเด็ก 5% ของชั้นประถม เป็นโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ โรงพยาบาล BMHH ห่วงเด็กไทย เปิดศูนย์ LD Center ครบวงจร

วันพุธ ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : BMHH โรงพยาบาลBMHH BangkokMentalHealthHospital
  •  

โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช BMHH หรือ Bangkok Mental Health Hospital เปิดศูนย์ LD Center แบบครบวงจร ทั้งในด้านการส่งเสริม การรักษา และฟื้นฟูทักษะการเรียนรู้ แบบตรงจุดตรงโรค ทั้งปัญหาด้านการอ่าน การเขียน และการคำนวณ รวมทั้งการใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข โดยทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์ เฉพาะทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ชี้เด็ก LD รักษาได้ หลายคนมีความเป็นอัจฉริยะอยู่ในตัวเอง และเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในอนาคต หากได้รับการพัฒนาที่ตรงจุดและเหมาะสม

แม้ในปัจจุบันความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเด็ก LD หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในประเทศไทยจะขยายวงกว้างมากขึ้น แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ ยังมีผู้ปกครองและคุณครูจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิด คิดว่าเด็ก LD ที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน การคำนวณ หรืออาจมีพฤติกรรมไม่สนใจและไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้าและไม่เสร็จ เป็นเด็กดื้อ เกเร หรือขี้เกียจ ทำให้เด็กไม่ได้รับการส่งเสริมทักษะเรียนรู้ที่ดีพอ


รศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช BMHH หรือ Bangkok Mental Health Hospital เปิดเผยว่า ปัญหาสุขภาพจิต
ที่น่าห่วงสำหรับเด็กไทย ณ ปัจจุบันนี้ คือ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ โรค LD (Learning Disability) ที่มีปัญหาด้านทักษะการอ่านการเขียน การสะกดคำ การคำนวณ และเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ และพบว่าส่วนใหญ่จะมีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ ร่วมกันได้ถึงร้อยละ 30-40% เช่น โรคสมาธิสั้น และโรคซึมเศร้า เป็นต้น และมีตัวเลขสถิติทั่วโลกตรงกันว่า 5% ของเด็กชั้นประถมเป็นโรค LD ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อยโดยจะพบแบบอาการรุนแรง 1-2% ส่วนที่เหลือ3% เป็นแบบอาการไม่รุนแรงสามารถช่วยตัวเองได้ โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน โดยเบื้องต้นน่าจะเกิดจากการทำงานของสมองบางตำแหน่งบกพร่อง โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และการใช้ภาษา กรรมพันธุ์ ที่มาจากพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องที่มีปัญหาเดียวกัน และอาจจะเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม

ทั้งนี้ BMHH โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มเด็กไทยเป็นโรค LD มากขึ้น จึงพร้อมเปิดศูนย์ LD Center ขึ้น มีบริการดังนี้ ตรวจคัดกรองโรค LD โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นที่มีความเชี่ยวชาญ กรณีที่มีปัญหาพฤติกรรม สามารถส่งพบนักจิตวิทยาที่มีประสบการณ์ รวมถึงครูการศึกษาพิเศษที่ช่วยเหลือเด็กได้ตรงจุด ทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เน้นการรักษาโดยสหสาขาวิชาชีพ เราเชื่อในการรักษาไม่เพียงแค่อาการดีขึ้นหรือหาย แต่ยังป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำด้วยวิธีการแบบองค์รวม รวมถึงความตั้งใจในการให้บริการด้วยเจตคติที่ดีให้การรักษาทั้งสุขภาพกายและจิตใจ เพื่อพัฒนาแผนการรักษาที่เหมาะกับผู้รับบริการแต่ละราย ได้กลับมาดำเนินชีวิตในครอบครัว และสังคมได้อย่างมีความสุข

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประชาชนมีความเข้าใจเรื่อง LD มากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าเป็นโรคที่คนรู้จักค่อนข้างน้อย เชื่อว่าหากคนที่มีชื่อเสียงออกมาประกาศตัวต่อสังคม จะทำให้พ่อแม่ที่มีลูกเป็น LD กล้ายอมรับนำมาสู่การวินิจฉัยและเข้ารับการรักษามากขึ้น ซึ่งอันดับแรกคือ พ่อแม่ต้องเปิดใจ เพราะลูกเป็นโรคต้องการความช่วยเหลือ ไม่ได้เกเรหรือขี้เกียจ การหลบเลี่ยงเป็นผลที่ปลายเหตุ โดยกระบวนการรักษาจะแนะนำทั้งผู้ปกครอง ลูก และโรงเรียนโดยรวมคือทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมในการช่วยกัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน และผู้เชี่ยวชาญที่จะมาช่วยเหลือเด็ก เพื่อให้ได้รับการพัฒนาที่ตรงจุดและเหมาะสม

“สิ่งที่น่ากังวลสำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยคือ พบว่ามีเด็ก LD เข้าสู่ระบบการช่วยเหลือของโรงพยาบาลจำนวนน้อยมาก เนื่องจากผู้ปกครองบางคนต้องทำงาน ไม่มีเวลาหรือบางคนมองว่าไม่ได้เป็นอะไรมาก ทั้งที่เด็กหลายคนมีความเป็นอัจฉริยะอยู่ในตัวเอง หากได้รับการพัฒนาที่ตรงจุดและเหมาะสม โดยการช่วยเหลือหากเริ่มตั้งแต่ยิ่งเล็กยิ่งดี ซึ่งส่วนใหญ่กว่าจะรู้ก็เมื่อเด็กเริ่มอ่านเขียน ประมาณอนุบาล 2 แต่ในช่วงอนุบาลจะยังวินิจฉัยยาก อย่างไรก็ตามหากผู้ปกครองสังเกตเห็นความผิดปกติ ให้เข้าพบแพทย์เพื่อการวินิจฉันอย่างถูกต้อง แม้ว่าอาการโรคจะชัดเจนและวินิจฉัยได้แน่ชัดในชั้น ป.2 แต่ในเด็กที่มีอาการ แพทย์จะแนะนำให้เริ่มช่วยเหลือโดยทันที ซึ่งเด็กกลุ่มนี้มีทั้งจุดดีและจุดด้อย ถ้าเราเข้าใจและช่วยเหลือในจุดด้อย พร้อมส่งเสริมจุดเด่นก็จะทำให้เด็กประสบความสำเร็จได้” รศ.นพ.มนัท กล่าว

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบุตรหลานที่มีอาการผิดปกติ สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามและรับการตรวจได้ที่ โรงพยาบาล BMHH ติดต่อสอบถาม 02-5891889 Contact@bmhh.co.th

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

(คลิป) หวิดอันตราย! หลอดไฟก่อสร้างจมน้ำ หน้าThai PBS พลเมืองดีเข้ากู้สถานการณ์แล้ว

หวิดอันตราย! หลอดไฟก่อสร้างจมน้ำ หน้าThai PBS พลเมืองดีเข้ากู้สถานการณ์แล้ว

โคราชเตรียมขึ้นแท่น 'เมืองเศรษฐกิจใหม่ของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง'

(คลิป) คำด่าเปิดผนึก! จาก 'เจ๊ปอง' ถึง 'ยิ่งลักษณ์' คนอื่นไม่เกี่ยว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved