วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
กรมชลประทาน ร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก  ปลูกป่า 4,072 กล้า อ่างเก็บน้ำลำแชะ เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา

กรมชลประทาน ร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก ปลูกป่า 4,072 กล้า อ่างเก็บน้ำลำแชะ เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา

วันเสาร์ ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : การจัดการน้ำ กรมชลฯ กรมชลประทาน
  •  

วิวัฒน์ ฐิติรัตนอัศว์

กรมชลประทาน เดินหน้าเพิ่มพื้นที่ป่าลดโลกร้อน ด้วยกิจกรรม “ปลูกป่า 4,072 กล้าถวายองค์ราชา ปวงประชาร่วมใจต้านโลกร้อน”บนเนื้อที่กว่า 20 ไร่ ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำแชะ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ และเป็นพื้นที่นำร่องปลูกป่าในพื้นที่ชลประทาน มุ่งสู่โครงการคาร์บอนเครดิต

นายวิวัฒน์ ฐิติรัตนอัศว์ ผู้อำนวยการส่วนวิศวกรรม สำนักงานชลประทานที่ 8นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกันเป็นประธานโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจภายใต้มาตรฐานของประเทศไทย ภายใต้ “กิจกรรมปลูกป่า 4,072 กล้า ถวายองค์ราชา ปวงประชาร่วมใจต้านโลกร้อน” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำแชะ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา โดยมีผู้แทนส่วนราชการระดับจังหวัด ระดับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ นักเรียน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าครั้งนี้ด้วย


นายวิวัฒน์ ฐิติรัตนอัศว์ ผู้อำนวยการส่วนวิศวกรรม สำนักงานชลประทานที่ 8 กรมชลประทาน กล่าวว่า ปัจจุบันประชาคมโลกกำลังเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่นับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศต่างๆ ร่วมกันตั้งกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำหนดแนวทางรับมือต่อปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมอนุสัญญาดังกล่าว เมื่อปี 2535 ซึ่งในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26) ประเทศไทย ได้ให้ถ้อยแถลงเพื่อยืนยันว่าประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดแก่การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพร้อมที่จะยกระดับการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ.2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ได้ ในปี ค.ศ. 2065

กรมชลประทาน ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดนโยบายดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนปฎิบัติการด้านการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2566-2570 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจก 1 ล้านตัน โดยกรมชลประทานได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในส่วนของการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งร่วมกับ กรมการข้าว อันที่จริงแล้วกรมชล ได้ริเริ่มเรื่องของการทำนาเปียกสลับแห้งมาตั้งแต่ปี 2558 ต่อมาในปี 2559 ได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมชลประทานโลกครั้งที่ 2 และได้รับรางวัล WatSave Awards ในปี 2559 และได้มีการจัดทำคู่มือการทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ในการปลูกข้าวด้วย

หัวใจของการทำนาเปียกสลับแห้ง คือการควบคุมน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง สลับกับช่วงน้ำแห้ง สลับกันไปในช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากข้าวไม่ได้ต้องการให้น้ำขังในนาตลอดเวลาแต่จะต้องการเฉพาะช่วงที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต กรมชลฯได้มีการเก็บข้อมูลการทำนาเปียกสลับแห้งในพื้นที่ชลประทานในช่วงปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็พบว่าเกษตรกรหันมาทำนาเปียกสลับแห้งมากขึ้น อีกทั้งเกษตรกรที่ได้เข้าร่วมโครงการก็มีความพอใจอย่างยิ่ง นอกจากที่จะช่วยลดปริมาณน้ำลงจากเดิมที่เคยใช้น้ำไร่ละ 1,200 ลูกบาศก์เมตร เหลือประมาณไม่เกิน 860 ลูกบาศก์เมตร ลดการใช้ปุ๋ยได้ร้อยละ 30-40 ต่อไร่ และที่สำคัญทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 ไร่อีกด้วย และนอกจากนี้ กรมชลฯยังได้มีการศึกษาทดลองที่จังหวัดสุพรรณบุรี ว่า การทำนาเปียกสลับแห้งนั้นสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนได้เป็นปริมาณเท่าไหร่ โดยในขณะนี้การศึกษาทดลองมีความก้าวหน้ามากกว่า 70% แล้ว

นักเรียนในพื้นที่ร่วมปลูกป่า

นอกเหนือจากการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ แล้ว กรมชลประทานยังได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ “การบูรณาการความร่วมมือในการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อประเทศไทยบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ : มาตรการทดแทนปูนเม็ด” เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมทางหลวง กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวงชนบท เป็นต้น โดยกรมชลประทานได้นำมากำหนดให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ในการก่อสร้างโครงการ

นายวิวัฒน์ ฐิติรัตนอัศว์ กล่าวทิ้งท้ายว่า กรมชลประทานได้เล็งเห็นอีกแนวทางหนึ่งในการที่จะร่วมขับเคลื่อนให้การลดก๊าซเรือนกระจกไปสู่เป้าหมาย ได้แก่ การปลูกป่า
เนื่องจากกรมชลประทานมีโครงการชลประทานอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ มีพื้นที่ที่จะสามารถนำมาปลูกป่าได้ โดยที่ผ่านมากรมชลประทานมีกิจกรรมการปลูกป่าอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปลูกป่าเนื่องในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา งานวันเกิดกรมชลประทาน รวมทั้งกิจกรรมปรับภูมิทัศน์และเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยในปี พ.ศ.2567 นี้เป็นโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา กรมชลประทานได้จัดทำโครงการ ลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย มีพื้นที่นำร่องที่โครงการอ่างเก็บน้ำลำแชะ อ .ครบุรี จ.นครราชสีมา โดยได้จัดให้มีกิจกรรมปลูกป่า 4,072 กล้า ถวายองค์ราชา ปวงประชาร่วมใจต้าน โลกร้อน เพื่อสนองพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอดด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และยังเป็นการแสดงเจตนารมณ์การมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วย

สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำลำแชะนี้มีการปลูกป่ามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564 ปลูกป่า ไปแล้วประมาณ 38 ไร่ รวมทั้งมีกิจกรรมปรับภูมิทัศน์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วย โดยในปีนี้จะมีการปลูกป่าเพิ่มประมาณ 20 ไร่ ต้นไม้ที่นำมาปลูกในวันนี้มีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ ยางนา มะค่าโมง ประดู่ป่า และพะยูง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่โครงการอ่างเก็บน้ำลำแชะได้ช่วยกันเพาะกล้าส่วนหนึ่ง และในปีหน้าก็จะมีการปลูกต่อเนื่องอีก ทั้งนี้ กรมชลประทานมีแผนที่จะขยายพื้นที่ปลูกป่าให้มากยิ่งขึ้น โดยจะให้โครงการชลประทานในแต่ละท้องที่สำรวจสภาพพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถนำมาปลูกป่าได้

รองผู้ว่าฯ สมเกียรติ วิริยะกุลนันท์
รองผู้ว่าฯ สมเกียรติ วิริยะกุลนันท์
มหิทธิ์ วงศ์ษา
มหิทธิ์ วงศ์ษา

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • CPF ปันน้ำปุ๋ยให้เกษตรกร ต้นแบบความร่วมมือบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน CPF ปันน้ำปุ๋ยให้เกษตรกร ต้นแบบความร่วมมือบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
  • กรมชลประทาน ต่อยอด ‘นฤบดินทรจินดา’ อ่างเก็บน้ำสุดท้ายของในหลวงร.9 กรมชลประทาน ต่อยอด ‘นฤบดินทรจินดา’ อ่างเก็บน้ำสุดท้ายของในหลวงร.9
  •  

Breaking News

ไฟไหม้บ้านเรือนไทย 'ธีระชัย แสนแก้ว'ฉายาอีโต้อีสานกลางดึก

อธิบดีกรมอุทยานฯ สั่งเร่งคลี่ปมยิง จนท.เขานันดับ! ชี้ผู้ต้องสงสัยเคยมีประวัติล่าสัตว์มาก่อน

'ไชยา มิตรชัย' ควงลูกสาว 'แป้ง มิตรชัย' เปิดตัวแฟนหนุ่มครั้งแรก หลังคบกันมา 10 ปี

(คลิป) เหมือนตบ 'อุ๊งอิ๊งค์' กลางสี่แยก กรณี 'พ่อ' ไม่ได้คุย 'ทรัมป์'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved