วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ : ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกัน

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ : ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกัน

วันจันทร์ ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  •  

นิ่วคือก้อนแข็งที่เกิดจากการสะสมของสารต่างๆภายในไตหรือทางเดินปัสสาวะ สามารถพบนิ่วได้ในบริเวณไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ เพราะมีสารประกอบตกตะกอนและกลายเป็นก้อนนิ่วเมื่อมีความเข้มข้นสูง แล้วทำให้เกิดความเจ็บปวดเมื่อก้อนนิ่วเคลื่อนตัวหรือขัดขวางการไหลของปัสสาวะ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดนิ่ว ได้แก่ ดื่มน้ำน้อยเกินไปการดื่มน้ำไม่เพียงพอทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นมากขึ้น ส่งผลให้สารประกอบต่างๆ เช่น แคลเซียม ออกซาเลต และกรดยูริกตกตะกอน แล้วก่อให้เกิดนิ่ว การบริโภคสารอาหารบางชนิดมากเกินไป เช่น อาหารที่มีแคลเซียม ออกซาเลต หรือกรดยูริกสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่ว เช่น อาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์สูง อาหารเค็ม และอาหารที่มีออกซาเลตสูง (เช่น ช็อกโกแลต ผักโขม) และเกิดภาวะบางอย่างที่มีผลต่อการขับสารจากร่างกาย 


ภาวะที่ทำให้ร่างกายขับแคลเซียมหรือสารต่างๆ ออกมากเกินไป เช่น ภาวะไขมันสูง ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงและพันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นนิ่ว
ก็อาจเพิ่มโอกาสที่จะเป็นนิ่ว การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในทางเดินปัสสาวะอาจส่งผลให้เกิดนิ่วได้ ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ หรือความผิดปกติของการทำงานของไต การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น

อาการและการแสดงของนิ่วอาจแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของนิ่วในร่างกาย ขนาดของนิ่วและระดับการอุดตันหรือการอักเสบที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยมักปวดหลังหรือเอวอย่างรุนแรง อาการปวดมักเริ่มที่ด้านหลังหรือตรงเอว และอาจลามไปที่ขาหนีบหรือบริเวณท้องน้อย ปวดจะเป็นแบบฉับพลันและรุนแรง อาจปวดเป็นพักๆ เนื่องจากการเคลื่อนที่ของนิ่วอาจรู้สึกปวดร้าวไปยังบริเวณอวัยวะเพศหรือต้นขา ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งของนิ่ว รวมถึงอาจมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะอาจมีสีชมพู แดง ปัสสาวะบ่อยหรือเจ็บเวลาปัสสาวะ 

หากนิ่วเคลื่อนลงมาติดอยู่ในท่อไตหรือลงมาถึงกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้รู้สึกปวดขณะปัสสาวะ หรือมีความรู้สึกปวด อยากปัสสาวะบ่อยขึ้น ปัสสาวะขุ่นหรือมีกลิ่นเหม็นในกรณีที่เกิดการติดเชื้อร่วมด้วย ถ้ามีอาการไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะน้อยลงหรือปัสสาวะไม่ออก กรณีนี้ผู้ป่วยต้องรีบไปพบแพทย์ เนื่องจากเป็นสัญญาณของโรคที่รุนแรงมากแล้ว

มียาหลายชนิดที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไตหรือทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากยาบางอย่างจะส่งผลให้มีการสะสมสารต่างๆ ที่นำไปสู่การก่อตัวของนิ่ว ยาที่อาจทำให้เกิดนิ่ว ได้แก่ ยาขับปัสสาวะ ที่ทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายลดลง ส่งผลให้ปัสสาวะเข้มข้นขึ้น เท่ากับเพิ่มโอกาสการตกตะกอนของแคลเซียมและเกิดนิ่วในไตได้ เท่ากับเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดนิ่ว 

อีกสิ่งหนึ่งคือแคลเซียม ยาแคลเซียมเสริม ยาหรืออาหารเสริมแคลเซียม ก็คืออีกสาเหตุหนึ่ง หากรับประทานในปริมาณมากอาจทำให้มีแคลเซียมในร่างกายสูงเกินไป
ส่งผลให้แคลเซียมตกตะกอนและก่อให้เกิดนิ่วในไต เพิ่มความเสี่ยงของนิ่วแคลเซียม 

การใช้ออกซาเลต ยาเสริมวิตามินดี เมื่อต้องใช้วิตามินดีในปริมาณมาก อาจเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ซึ่งนำไปสู่การสะสมของแคลเซียมในไตและก่อให้เกิดนิ่วในไต 

ส่วนยาลดกรดที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ เช่น ยาใช้รักษาอาการกรดไหลย้อน อาจทำให้ระดับแคลเซียมในปัสสาวะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดนิ่วแคลเซียมในไตได้ และยังมียาอัลโลพูรินอล ยาตัวนี้ใช้รักษาโรคเกาต์ และลดระดับกรดยูริกในเลือด แต่การใช้ยานี้อาจก่อให้เกิดนิ่วกรดยูริกได้ในผู้ป่วยบางราย เนื่องจากการสะสมของกรดยูริกในปัสสาวะ 

นอกจากนี้ยังมียาอื่นๆ ที่อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงการเกิดนิ่วอีกหลายชนิด เพราะฉะนั้น เมื่อเราใช้ยา เราต้องปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดนิ่วที่ดีที่สุดคือดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2 ลิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฉลากยาระบุว่าให้ดื่มน้ำมากๆ ระหว่างที่ใช้ยานี้ 

หากจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือวิตามิน ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อน นอกจากนี้ ต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้น แล้วต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งเมื่อได้รับยา เพื่อประเมินว่าอาการที่เกิดขึ้น เป็นอาการนิ่วที่อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาหรือไม่

รศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม และ รศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’

ปล่อยรัว 3 เพลงติด ‘loserpop’ กับเพลงรักคอมโบเซ็ท

‘ใบเฟิร์น สุทธิยา’ สลัดลุคหวาน สาดความแซ่บ! พร้อมคัมแบ็กสุดปังในเพลงใหม่ ‘นัดฟิน’

‘เอิร์น’ปล่อยซิงเกิลใหม่ ‘ซัพพอร์ตผู้หญิงคนนี้ได้ไหมคะ’ แนวน่ารัก สดใส เอาใจสาวไร้คู่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved