“ภัยไซเบอร์” เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน จากข้อมูลพบว่ากลุ่มเยาวชนที่ตกเป็นเป้าหมายมากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 12-18 ปี ซึ่งคนร้ายอาจเป็นคนแปลกหน้า หรือคนใกล้ชิด ด้วยการสวมรอยเป็น หนุ่มสาวหน้าตาดี เอเจนซี ถ่ายแบบหาคนรีวิวสินค้า แมวมองดารา หรือแกล้งเป็นพลเมืองดี พูดคุยขายสินค้า หลอกให้โอนเงิน ซึ่งอาจนำไปสู่ การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศต่อเด็ก แต่ปัญหาสำคัญ คือ เด็กๆ ยังขาดประสบการณ์ที่จะรับมือ และแยกไม่ออกระหว่าง “มิจ” หรือ “มิตร”
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ ศูนย์บริหารวิทยุกระจายเสียงภาคใต้และ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) “อบรมแกนนำนักเรียนในการใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัยเพื่อป้องกัน การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศต่อเด็ก” โดยมีน้องๆ เยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาร่วมอบรม ด้วยการแบ่งปันความรู้เรื่องภัยไซเบอร์นำสู่การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศต่อเด็ก กลวิธีการล่อลวงวิธีรับมือเมื่อตกเป็นผู้เสียหาย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้รับมือจากการล่อลวงผ่านภัยไซเบอร์ได้
พีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท กล่าวว่า “เหยื่อที่ถูกล่อลวงจากภัยไซเบอร์ เป็นได้ทั้งเพศหญิงและชาย เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือและสัญญาณอินเตอร์เนตซึ่งคนร้ายจะมีเทคนิคและวิธีการล่อลวงเด็กในรูปแบบต่างๆ
โดยกลวิธีการล่อลวงของคนร้าย
-ผู้เสียหายที่เป็นเพศหญิงอาจถูกคนร้ายล่อลวงโดยการปลอมตัวเป็นแมวมอง ชวนเข้าวงการบันเทิง หลอกให้ทำงานถ่ายรูปรีวิวสินค้าแลกกับเงิน หรือการแสดงความรักและขอเป็นแฟน
-ผู้เสียหายที่เป็นเพศชาย อาจถูกคนร้ายล่อลวงโดยการปลอมตัวเป็นสาวสวยเพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ชวนให้วีดีโอคอลช่วยตัวเอง ดึงเข้ากลุ่มลับ หรือหลอกลวงด้วยสิ่งของและ ไอเทมเกม
-ส่วนการล่อลวงให้โอนเงินผู้เสียหายต้องจำไว้เสมอว่า “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน”
รับมือเมื่อตกเป็นผู้เสียหาย ห้ามลบข้อมูล-ห้ามบล็อก ข้อมูลการติดต่อกับคนร้าย-หยุดตอบโต้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม-เก็บหลักฐาน หากผู้เสียหายอายุต่ำกว่า 18 ปี ให้รีบแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ ซึ่งคนรอบตัวจะมีส่วนช่วยให้ผู้เสียหายรับมือต่อแรงกดดันต่างๆ ด้วยการอยู่เคียงข้าง ปกป้องให้กำลังใจ รับฟังด้วยความเข้าใจ
ด.ช.ฟาริด นิปะสิกิ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อายุ 14 ปีนักเรียนแกนนำฝ่ายกิจกรรมโรงเรียนสายยิดวิทยา จังหวัดสงขลา “สติ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรับมือกับ “มิจฉาชีพ” โดยเพื่อนๆที่โรงเรียนเคยถูกหลอกขายสินค้าออนไลน์ เมื่อเจอบุคคลที่สงสัยว่าอาจเป็นมิจฉาชีพมาล่อลวง ต้องจำไว้เสมอว่า “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน” เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
น้องเจซี-ด.ช.สรสิช ศตชยานนท์ อายุ 12 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีนครมูลนิธิ จังหวัดสงขลา “ภัยจากมิจฉาชีพทางออนไลน์มาในทุกรูปแบบ ถึงแม้จะเป็นเด็กก็ตกเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะโดนล่อลวงได้เช่นกัน จึงต้องติดตามข่าวสารจะได้เท่าทันกลโกงมิจฉาชีพ เช่น การหลอกให้โอนเงิน, หลอกลวงว่ามีพัสดุตกค้าง ฯลฯ เป็นกลวิธีที่มิจฉาชีพยังใช้ในปัจจุบัน ไม่ควรหลงเชื่อใครง่ายๆซึ่งที่โรงเรียนพยายามปลูกฝังวิธีคิดและสอนในรายวิชาต่างๆ เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงการใช้ social mediaได้อย่างปลอดภัย”
จบกิจกรรมนี้เด็กๆ ได้ความรู้มากมาย พร้อม “เทคนิคจับมิจ” ไปบอกเพื่อนๆ เพื่อแยกแยะให้ออกว่า “มิจ” หรือ “มิตร” MCOT Cares อสมท ยังมุ่งเสริมสร้างคุณค่าทางสังคมด้วยการส่งมอบข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์ต่อสังคมของสื่อในเครือ อสมท ทุกช่องทาง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ตามแนวทาง “สื่อดี สังคมดี”
หรือร่วมติดตามหนังสือเล่มใหม่“แคล้วคลาดขาดมิจ” ที่เหล่า“คนตื่นมิจ” ไม่ควรพลาด เขียนโดยพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้ดำเนินรายการชัวร์ก่อนแชร์ และผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ในราคาพิเศษ เพียง 180 บาท (จาก 225 บาท) ติดต่อซื้อได้โดยตรงที่ Page Facebook ชัวร์ก่อนแชร์ หรือ Line ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี