วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้านภูมิเมือง : หมอบรัดเลย์ ภูมิการพิมพ์และหนังสือพิมพ์แห่งสยาม โดย พลาดิศรัย สิทธิธัญกิจ

ภูมิบ้านภูมิเมือง : หมอบรัดเลย์ ภูมิการพิมพ์และหนังสือพิมพ์แห่งสยาม โดย พลาดิศรัย สิทธิธัญกิจ

วันอาทิตย์ ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557, 06.00 น.
Tag :
  •  

หมอแดน บีช บรัดเลย์ เมื่อแรกเข้ามาสยาม

 


 

 

บุคคลที่สำคัญต่อวงการพิมพ์และหนังสือพิมพ์ในเมืองสยามนั้น หมอ-แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley, M.D.) ที่รู้จักกันอย่างดีว่าหมอบรัดเลย์ หรือปลัดเหล่นั้น อาทิตย์นี้ขอนำเสนอเรื่องราวของนายแพทย์ชาวอเมริกันผู้เริ่มกิจการพิมพ์อักษรไทยและทำการผ่าตัดคนไข้ในสยามเป็นครั้งแรก หมอบรัดเลย์ผู้นี้เดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เมื่อรัชกาลที่ 3 เดิมเป็นชาวเมือง
มาร์เซลลัส (Marcellus) เกิดเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2347 สำเร็จการแพทย์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก แล้ว อายุได้ 31 ปี ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2378 พร้อมภรรยาเอมิลี เข้ามาทำงานในคณะหมอสอนศาสนา เพรสไบทีเรียน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2379พักอาศัยอยู่แถววัดเกาะสำเพ็ง หรือวัดสัมพันธวงศ์ปัจจุบันเป็นย่านที่มีชาวจีนอาศัยอยู่


หมอบรัดเลย์ ทำหน้าที่บรรณาธิการหนังสิอพิมพ์

ครั้งนั้นได้พักอาศัยรวมกับครอบครัวของศาสนาจารย์สตีเฟน จอห์นสัน ต่อมาหมอบรัดเลย์ได้เปิดโอสถศาลาขึ้นเป็นแห่งแรกในสยาม เพื่อทำการรักษา จ่ายยา และเผยแพร่หนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้ จึงถูกเพ่งเล็งว่าอาจทำให้ชาวจีนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลสยามได้ จึงเป็นเหตุให้นายกลิ่นเจ้าของที่ดิน ไม่ให้มิชชันนารีเช่า ทำให้หมอบรัดเลย์ต้องย้ายไปอยู่แถวกุฎีจีน ซึ่งเป็นย่านของชาวโปรตุเกส เช่าบ้านบริเวณหน้าวัดประยุรวงศาวาส ของเจ้าพระยาพระคลัง คือ สมเด็จพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หมอบรัดเลย์และคณะมิชชันนารีดัดแปลงบ้านเช่าที่พักแห่งใหม่นี้เป็น โอสถศาลา เปิดทำการเมื่อ 30 ตุลาคม 2378 ต่อมา เกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นในวัดจากกระบอกบรรจุดินดำที่ใช้ทำพลุแตก หมอบรัดเลย์จึงได้ทำการผ่าตัดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การแพทย์ของไทย โดยตัดแขนให้แก่พระภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2380 จึงเป็นที่กล่าวถึงด้วยก่อนนั้นคนไทยยังไม่รู้วิธีผ่าตัดร่างกายมนุษย์แล้วมีชีวิตอยู่ ในพ.ศ.2395 หมอบรัดเลย์ได้เช่าที่หลวง ตั้งโรงพิมพ์อยู่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ข้างป้อมวิชัยประสิทธิ์ ติดกับพระราชวังเดิม


หนังสือจินดามณีของหมอบรัดเลย์พิมพ์


นิราศลอนดอนที่หมอบรัดเลย์ซื้อลิขสิทธิ์เรื่องแรก

โรงพิมพ์นี้ได้พิมพ์หนังสือเพื่อเผยแพร่ศาสนา และได้ใช้ตัวอักษรภาษาไทยที่ได้มาจากสิงคโปร์ งานชิ้นแรกที่หมอบรัดเลย์พิมพ์เป็นภาษาไทยในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2382 คือ  การพิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นและห้ามค้าฝิ่น ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำขึ้นจำนวน 9,000 แผ่น ซึ่งนับว่าเป็นเอกสารราชการไทยฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์ สำหรับผลงานของหมออเมริกันผู้นี้มีคุณูปการมาก ได้แก่ เป็นผู้ริเริ่มทำการผ่าตัดแผนใหม่เป็นรายแรก, ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษสำเร็จเป็นรายแรก,พิมพ์หนังสือต่างๆ เช่น พิมพ์ปฏิทินสุริยคติเป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก, พิมพ์หนังสือคัมภีร์ครรภ์ทรักษา หนังสือบัญญัติสิบประการ (The Commandments) ซึ่งเป็นหนังสือสอนคริสต์ศาสนามีทั้งหมด 8 หน้า ต่อมาในปีพ.ศ.2385 นั้น หมอบรัดเลย์ได้หล่อชุดพิมพ์ขึ้นมาใหม่และในอีกสองปีต่อมาหมอบรัดเลย์ได้ใช้ชุดพิมพ์ตัวใหม่นี้จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายเดือนภาษาไทยฉบับแรกขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าชื่อว่า บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) ออกวางจำหน่ายวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2387ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่มีขึ้นในประเทศไทย


บางกอกเมื่อแรกศาสนาคริสต์มาสร้างโบสถ์ 

แต่หนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวก็อยู่ได้ไม่นานต้องปิดตัวไปด้วยเหตุที่ภรรยาของหมอบรัดเลย์สิ้นชีวิตพอดี จึงต้องหยุดลงชั่วคราว โดยหมอบรัดเลย์ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศของตนเป็นระยะเวลาหนึ่งและได้แต่งงานใหม่ก่อนกลับคืนสู่สยามอีกครั้ง และกลับมาคราวนี้หมอบรัดเลย์ได้ลาออกจาก American Board of Commissioners of Foreign Missions เข้ามาย้ายไปสังกัดองค์กร American Missionary Association (AMA) แทน หมอบรัดเลย์ได้พิมพ์หนังสือขายมีหนังสือที่พิมพ์หลายประเภททั้งตำราเรียนภาษาไทย เช่น ประถม ก กา จินดามณี หนังสือกฎหมายและวรรณคดีต่างๆ เช่น ราชาธิราช  สามก๊ก เลียดก๊ก ไซฮั่น เป็นต้น


นสพ.จดหมายเหตุกรุงเทพ

ในช่วงนี้ได้มีการซื้อลิขสิทธิ์หนังสือเพื่อมาจัดพิมพ์วางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในสยามกล่าวคือหมอบรัดเลย์ได้ซื้อลิขสิทธิ์นิราศลอนดอนจากหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) ผู้เขียนเป็นเงิน 400 บาท ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 ทำให้หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นหนังสือเล่มแรกของไทยที่มีการซื้อขายลิขสิทธิ์เช่นเดียวกับตะวันตกทำให้การพิมพ์ต่างๆ ต่อมามีการซื้อลิขสิทธิ์จากผู้เขียนเช่นเดียวกัน หมอบรัดเลย์นั้นพำนักอยู่ในประเทศสยามจนถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2416 นับเป็นบุคคลผู้ริเริ่มการพิมพ์หนังสือในสยาม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

กทม.ผลักดันระบบสุขภาพพร้อมประกาศทำเมืองเข้มแข็งขึ้น

(คลิป) 'กฤษฏิ์' สส.ชลบุรี บอกลา 'พรรคส้ม' เผย! ทัศนคติไปด้วยกันไม่ได้

โฆษกกทม.แนะคนกรุงใช้ขนส่งสาธารณะไปเยี่ยมชมงาน BKK EXPO 2025

ขึ้นแท่นแล้ว! 'นิกส์-วูล์ฟส์'ยังแรงจ่อชิงเพลย์ออฟNBA

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved