วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ ภัยเงียบที่อาจพรากชีวิต

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ ภัยเงียบที่อาจพรากชีวิต

วันอังคาร ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 05.00 น.
Tag : โรคหลอดเลือดสมอง
  •  

อาการผิดปกติบางอย่างที่ดูเหมือนเป็นเรื่องทั่วไป เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาการชักเกร็งเฉียบพลัน ปวดศีรษะในบางจุดอย่างไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะร้ายแรงที่ซ่อนอยู่ เช่น โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (AVM) ที่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่รีบมารักษา

นายแพทย์พงศกร พงศาพาส ประสาทศัลยแพทย์ โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (AVM - Arteriovenous Malformation) เกิดจากเส้นเลือดที่เชื่อมกับเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำในสมองพันกัน โดยเส้นเลือดแดงมีหน้าที่ลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนสูงจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงสมอง ขณะที่เส้นเลือดดำมีหน้าที่ลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากทุกส่วนของร่างกายไหลกลับเข้าสู่หัวใจ เมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มขึ้น เลือดก็จะไม่สามารถลำเลียงได้ตามปกติ และหากเกิดภาวะหลอดเลือดสมองที่ผิดปกติเบียดผนังหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำอย่างแรง หลอดเลือดเหล่านี้ก็จะเปราะบางและแตกได้ง่าย จนนำไปสู่การเกิดภาวะเลือดออกในสมอง


 

งานวิจัยหลายฉบับพบว่า โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอเอ็มวี ผู้ป่วยสามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด และอาจเริ่มเป็นในช่วงการพัฒนาของทารกในครรภ์ ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกทางกรรมพันธุ์(Hereditary Hemorrhagic Telangiectasia : HHT) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่ง คือ ภาวะ Osler-Weber-Rendu ซึ่งภาวะนี้มักจะส่งผลต่อกระบวนการสร้างหลอดเลือดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงสมอง ทั้งนี้โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มเป็นโรคที่ไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างแน่ชัด

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ซึ่งอาการของโรคนี้มักค่อยๆ ปรากฏในช่วงอายุ 10-40 ปี โดยจะแสดงออกชัดเจนในวัยผู้ใหญ่ หรืออาจไม่มีอาการจนกว่าหลอดเลือดแดงจะเกิดการแตกจนเลือดออกในสมอง สำหรับบางรายอาจเริ่มมีอาการเมื่อเกิดภาวะเลือดออกในสมองแล้ว อาการร่วมที่อาจพบ ได้แก่ ชักกระตุก ปวดหัวที่บริเวณหนึ่งของศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือชาที่บริเวณหนึ่งของร่างกาย หรือ อัมพฤกษ์ อัมพาต สูญเสียการมองเห็น พูดไม่ชัดอาการสับสน มึนงง ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ สูญเสียสมดุลการเคลื่อนไหวอย่างสิ้นเชิง

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม สามารถตรวจได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจหลอดเลือดสมองด้วยสารทึบรังสี (Cerebral Angiography) ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยที่มีความละเอียดสูงสุด และมีประโยชน์ในการระบุตำแหน่งและลักษณะของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ยังมีการตรวจแบบ CT Scan และ MRI

การตรวจแบบ MRI จะสามารถบ่งบอกถึงตำแหน่งของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มและสามารถแสดงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อสมอง โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เนื่องจากไม่ต้องใส่อุปกรณ์สวนหลอดเลือด และผู้ป่วยจะไม่ได้รับรังสี

สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มมีหลายวิธี โดยแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับช่วงอายุและสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย จุดประสงค์หลักในการรักษา คือการทำให้ไม่ให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งการผ่าตัดนำเส้นเลือดที่ผิดปกติออกอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่ำต่อการเลือดออกในสมองหรือการชักกระตุก โดยแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง นอกจากนี้ ยังมีวิธีการอื่นๆ ในการรักษาโรคนี้ เช่น การใส่ขดลวดเพื่ออุดหลอดเลือด (Endovascular Embolization) และ การฉายรังสีร่วมพิกัด (Stereotactic radiosurgery)

ทั้งนี้ หากมีอาการเข้าข่าย โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มและมีภาวะเลือดออกในสมองร่วมด้วย ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะนั่นอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • LIFE & HEALTH : เรียนรู้โรคหลอดเลือดสมอง LIFE & HEALTH : เรียนรู้โรคหลอดเลือดสมอง
  • รู้จักสัญญาณ โรคหลอดเลือดสมอง หากมีอาการเหล่านี้ รีบไปพบแพทย์ด่วน รู้จักสัญญาณ โรคหลอดเลือดสมอง หากมีอาการเหล่านี้ รีบไปพบแพทย์ด่วน
  • ระวัง ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ ภัยร้ายต่อความทรงจำ ระวัง ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ ภัยร้ายต่อความทรงจำ
  •  

Breaking News

แก๊งคอลฯเหิม!!! ลวงแม่'อัยการดาว'โอนเงินกว่า 7.6 แสน

(คลิป) 'เจ๊ปอง' เผยความลับ! 'ยกหูโทรหา' 'ทักษิณ' สาระแนไป 'กาต้าร์'

การรวมตัว TOP VOCAL แห่งยุคกับ STAGE PERFORMANCE ระดับ MASTERPIECE

'กกต.'ประณามเหตุใช้ความรุนแรง สจ.กร่างสั่งลูกน้องรุมตื้บตำรวจคาหน่วยเลือกตั้ง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved