วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
‘สภาผู้บริโภค’ ชูธง ‘การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม สู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน’ ปลุกพลังในวันสิทธิผู้บริโภคสากล 2025

‘สภาผู้บริโภค’ ชูธง ‘การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม สู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน’ ปลุกพลังในวันสิทธิผู้บริโภคสากล 2025

วันศุกร์ ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2568, 20.06 น.
Tag : สภาผู้บริโภค วันสิทธิผู้บริโภคสากล
  •  

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 ที่โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร สภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภคกว่า 340 องค์กร จัดงานวันสิทธิผู้บริโภคสากล 2025 ภายใต้แนวคิด “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม สู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน” ซึ่งมุ่งเน้นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

คุณบุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า โลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วทำให้เกิดปัญหาใหม่ เช่น สิทธิในการบริโภคที่ยั่งยืน การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการเข้าถึงการคุ้มครองทางดิจิทัล ซึ่งยังไม่ได้รับการคุ้มครองในกฎหมายปัจจุบัน โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 รับรองเพียง 5 สิทธิเท่านั้น จึงต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองที่เท่าเทียมและเป็นธรรม


ในปี 2568 นี้ สภาผู้บริโภคและเครือข่ายกว่า 340 องค์กร จะเดินหน้าผลักดันมาตรการและนโยบายส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน เน้นให้ประชาชนเข้าถึงสินค้าที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในราคาที่เหมาะสม พร้อมทั้งเสริมพลังให้เสียงผู้บริโภคมีอิทธิพลในการกำหนดอนาคตของการบริโภคที่เป็นธรรม

“เราขอเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมมือกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน เพราะสิทธิผู้บริโภคคือรากฐานสำคัญของชีวิตที่มั่นคง และเป็นกุญแจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” คุณบุญยืนกล่าว

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่าสิทธิผู้บริโภคในประเทศไทยยังไม่เทียบเท่ามาตรฐานสากล เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ระบุสิทธิผู้บริโภคเพียง 5 ข้อ ได้แก่ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสินค้า, สิทธิในการเลือกสินค้า, การได้รับความปลอดภัยจากสินค้า, สิทธิในการทำสัญญาอย่างเป็นธรรม และการได้รับการชดเชยความเสียหาย ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เช่น มลพิษ PM2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต

“เราจะผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่การบริโภคที่ยั่งยืน โดยต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ, เอกชน, และประชาชน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและวิถีชีวิตที่ยั่งยืน” เลขาธิการกล่าว. “เราขอเชิญชวนทุกฝ่ายร่วมมือกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดวิถีชีวิตที่ยั่งยืน”

​นายวิทูรย์ เลี่ยนจำรูญ เลขาธิการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนต้องอาศัยพลังของผู้บริโภค ซึ่งมีบทบาทมากกว่าการเลือกซื้อสินค้า โดยสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้หลายทาง เช่น การสื่อสาร แบ่งปันความรู้ การบอยคอตสินค้า หรือแม้กระทั่งการร่วมกันฟ้องร้อง นอกจากนี้ยังต้องผลักดันให้มีกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่มีมาตรฐานสากลและมีตัวแทนผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วม

“ผู้บริโภคไม่ได้มีอำนาจแค่การซื้อสินค้า แต่สามารถกำหนดทิศทางตลาดและวัฒนธรรมได้ โดยพลังอำนาจของเราสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านการซื้อ การแลกเปลี่ยนข้อมูล การแบน หรือบอยคอตสินค้า และการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง” นายวิทูรย์กล่าว.

ผศ.ประสาท มีแต้ม อนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ปัจจุบันมนุษย์ต้องเผชิญกับสองปัญหาใหญ่ คือ ราคาพลังงานที่แพงเพราะการผูกขาดและทรัพยากรที่มีจำกัด รวมถึงผลกระทบจากการใช้พลังงานที่ทำให้โลกร้อนและเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น การสูญเสียปะการัง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของอาหารทะเล

ในโลกปัจจุบัน ผู้บริโภคควรเป็น "Prosumer" หรือผู้บริโภคที่สามารถผลิตได้ด้วย เมื่อก่อนเราแค่ซื้อไฟฟ้าและจ่ายเงินออกไป แต่ตอนนี้เราได้มีเทคโนโลยีที่สามารถผลิตไฟฟ้าเองได้ เช่นเดียวกับการสื่อสารผ่านมือถือที่สามารถส่งและรับข้อมูลได้ พร้อมกัน

“สิ่งที่เราขาดคือความมุ่งมั่นทางการเมืองที่จะดูแลโลกและรับผิดชอบต่อมัน ซึ่งสามารถทำได้ หากไม่แก้ปัญหาโลกร้อนตอนนี้ในอนาคตจะไม่มีใครแก้ได้ เพราะมันเกิดขึ้นเร็วมาก เราต้องร่วมมือกันในฐานะ Prosumer ที่แอคทีฟในการแก้ปัญหาโลกร้อน” ผศ.ประสาทกล่าว

​นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปริมาณขยะในกรุงเทพฯ ลดลงจาก 11,000 ตันต่อวัน ก่อนโควิด-19 เหลือ 9,000 ตันในปัจจุบัน เนื่องจากประชาชนเริ่มให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะมากขึ้น แต่ยังมีความท้าทายในการส่งเสริมการคัดแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการส่งเสริมการรีไซเคิล การทำปุ๋ยหมัก หรือการแปรรูปเป็นแก๊สชีวภาพ ขณะเดียวกัน องค์กรใหญ่ต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้าและตลาด ก็มีโครงการ Zero Waste โดยส่งเสริมการคัดแยกขยะ และจัดเก็บเศษอาหารไปหมักปุ๋ยหรือเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งมีภาคเอกชนที่รับซื้อขยะรีไซเคิลถึงที่

ในอนาคต กทม.จะเพิ่มเตาเผาขยะอีก 2 โรง เพื่อรองรับขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ โดยมีเป้าหมายเผาขยะได้ 2,005 ตันต่อวัน

นายพรพรหม กล่าวเพิ่มเติมว่า การคัดแยกขยะในภาคประชาชนยังมีความท้าทาย เนื่องจากกรุงเทพฯ มีมากกว่า 2 ล้านครัวเรือนที่ต้องจัดการขยะ ดังนั้น จึงมีโครงการ "บ้านนี้ไม่เทรวม" โดยจะมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมการเก็บขยะจาก 20 บาทเป็น 60 บาทต่อเดือน เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคมนี้ แต่หากคัดแยกขยะและลงทะเบียนในแอพพลิเคชั่น BKK Waste Pay จะได้รับส่วนลดเหลือ 20 บาท เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนคัดแยกขยะมากขึ้น

​น.ส. สุรีรัตน์  ตรีมรรคา  รองประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ ระบุถึงสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่และของภาคเหนือในปี 2568 ว่า ดีกว่าปี 2567 แต่ไม่ได้หมายความว่า ปี 69,70 จะดีไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและการลดการเผาให้ได้มากที่สุดถึงจะทำให้สถานการณ์จะค่อยๆดีขึ้น ทั้งนี้รวมถึงในระดับนโยบายที่จะดูแล การปรับเปลี่ยน วิถีการเกษตร มีทั้งนโยบายเกี่ยวกับป่าไม้ ที่ดินสิทธิที่ทำกิน ต้องดำเนินการให้ชัดเจนขอบเขตของชุมชน รัฐ  รวมทั้งนโยบายสนับสนุนเติมงบประมาณ ให้ องค์การบริหารส่วนตำบล กระจายอำนาจ ในการดูแลแก้ปัญหาเรื่องไฟป่า ลดการเผา ทำแนวกันไฟ การป้องกันไฟ การเผชิญไฟ ในช่วงที่เกิดไฟขึ้น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ปักธง! วันสิทธิผู้บริโภคสากล 2568 ชง 7 นโยบายคุ้มครองผู้บริโภค ที่ ‘ยั่งยืนและเป็นธรรม’ ปักธง! วันสิทธิผู้บริโภคสากล 2568 ชง 7 นโยบายคุ้มครองผู้บริโภค ที่ ‘ยั่งยืนและเป็นธรรม’
  • สภาผู้บริโภค แถลงผลงานพร้อมเดินหน้าผลักดันนโยบายสกัดภัยอาชญกรรมไซเบอร์ คุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้บริโภค แถลงผลงานพร้อมเดินหน้าผลักดันนโยบายสกัดภัยอาชญกรรมไซเบอร์ คุ้มครองผู้บริโภค
  •  

Breaking News

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved