จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH: Earthquake Research Center of Thailand) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและให้ความรู้ด้านแผ่นดินไหวแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยเฉพาะทางด้านแผ่นดินไหว มีภารกิจหลักในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการป้องกันและรับมือ รวมถึงลดความเสี่ยงจากภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย นอกจากนี้ ศูนย์ EARTH ยังทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลกลางที่สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลด้านแผ่นดินไหวสำหรับนักวิจัย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการจัดตั้งศูนย์และการดำเนินงานภายในศูนย์ EARTH
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และศาสตราจารย์ ดร. เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ ได้กล่าวถึงบทบาทของ ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH: Earthquake Research Center of Thailand) EARTH) ภายใต้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) ที่ได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี กล่าวว่า ในบทบาทของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนานักวิจัย องค์ความรู้ การพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญที่อาศัยการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายและการจัดทำสหวิทยาการที่มีความหลากหลาย โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญที่สามารถทำงานร่วมกันได้ ทำให้เกิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น รวมถึงการพัฒนานักวิจัยและแนวทางการวิจัย จากการเป็นศูนย์รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญและองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวของประเทศไทยที่มีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการให้ความรู้และบริการวิชาการแก่ประชาชน
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กล่าวว่า การจัดตั้ง ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH) ภายใต้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) ของ วช. เพื่อเป็นศูนย์รวมการศึกษาวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการสาขาต่าง ๆ เช่น Earth Science, Geology, Geotechnical Engineering, Structural Engineering, Numerical Analysis, Remote Sensing, Probability and Statistics, Disaster Management, Social Sciences เป็นต้น โดยผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะต้องมาทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในโครงการวิจัยต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดทิศทางการดำเนินการโดยศูนย์ EARTH รวมถึงทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมทรัพยากรธรณี กรมอุตุนิยมวิทยา GISTDA กรมโยธาธิการและผังเมือง สภาวิศวกร สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สภากาชาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
ศาสตราจารย์ ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย กล่าวว่า ศูนย์ EARTH เป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน ทั้งเรื่องแผ่นดินไหวและภัยพิบัติอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากแผ่นดินไหว เช่น สึนามิ การเกิดเหลว ดินถล่ม เขื่อนแตก เป็นต้น เพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมถึงการพัฒนานักวิจัยและแนวทางการวิจัยและองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวของประเทศไทยที่มีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ และศูนย์ฯ ได้สนับสนุนให้มีการจัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับแผ่นดินไหว เพื่อเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์จากเหตุการณ์จริงแก่ผู้เกี่ยวข้อง และนำบทเรียนมาปรับใช้กับการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศ ซึ่งในอนาคตศูนย์ฯ ตั้งใจจะดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกการวิจัยที่จะช่วยให้สามารถศึกษาวิจัยในระดับที่ทัดเทียมกับนานาชาติได้ เช่น การสร้าง Shaking Table ขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างแผ่นดินไหวรุนแรงได้เหมือนจริง เพื่อเขย่าแบบจำลองอาคารและโครงสร้างที่มีน้ำหนักหลายสิบตัน ในการทดสอบแผ่นดินไหว และเปิดกว้างให้ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอื่น ๆ ได้เข้ามาใช้งานได้
ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (Earthquake Research Center of Thailand) หรือ EARTH ภายใต้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) ของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนงานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่สังคมไทย นำไปสู่การเตรียมความพร้อมและทางรอดที่ยั่งยืนจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวในอนาคต ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผ่นดินไหวได้ที่เว็บไซต์: www.earth-th.org และ เพจ Facebook : Earthquake Research Center of Thailand-ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี