ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชามีทั้งความร่วมมือและความตึงเครียดมายาวนาน โดยในปีพ.ศ. 2568 ความขัดแย้งระหว่างสองประเทศกลับมาเกิดอีกครั้งจากหลายปัจจัย บทความนี้จะวิเคราะห์สาเหตุ ผลกระทบปัจจุบัน และคาดการณ์ล่วงหน้าสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงสมมติเหตุการณ์ร้ายแรงที่สุด (Worst-Case Scenario) เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมรับมือ
ข้อพิพาทเรื่องชายแดนไทย กัมพูชา เริ่มขึ้นเพราะกรณีเขาพระวิหารที่ศาลโลกตัดสินให้เป็นของกับพูชาเมื่อพ.ศ. 2505 ต่อมาพ.ศ. 2528-2530 มีการปะทะกันด้วยปืนใหญ่ที่ช่องบก ความตึงเครียดทวีเพิ่มขึ้น ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 เมื่อทหารไทยไปห้ามนักท่องเที่ยวกัมพูชาไม่ให้ร้องเพลงชาติเขมรที่ปราสาทตาเมือนธม ทหารเขมรมาขุดสนามเพลาะ ใกล้ช่องบก และมีการปะทะกัน ทำให้ทหารกัมพูชาเสียชีวิตไป 1 คน ฝ่ายกัมพูชาได้นำเรื่องเขตแดนไปฟ้องศาลโลก แต่ฝ่ายไทยปฏิเสธไม่ยอมรับอำนาจศาลโลกเพราะเกรงจะต้องเสียดินแดนเหมือนกรณีเขาพระวิหาร 7 มิถุนายน 2568 ทหารไทยออกคำสั่งจำกัดเวลาผ่านเข้าออกด่านชายแดน แล้วต่อมาเพิ่มมาตรการเป็นการปิดชายแดนห้ามคนและพาหนะทุกชนิดผ่านตลอดชายแดน คืออุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด กัมพูชาตอบโต้ด้วยการงดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าไทย
1. สาเหตุของความขัดแย้ง ความตึงเครียดในปี พ.ศ. 2568 เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่:
1.1 ข้อพิพาทด้านเขตแดน บริเวณปราสาทพระวิหาร ช่องบก ปราสาทตาเมือน ตาควาย เกาะกูด และพื้นที่ทับซ้อนทางทะล
1.2 ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย รายได้จากคาสิโนและคอลเซนเตอร์ในกัมพูชา
1.3 อิทธิพลมหาอำนาจ .. การที่กัมพูชามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีน ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่พอใจ
1.4 กระแสต่อต้านทักษิณ ...กลุ่มที่ไม่พอใจ ต่อต้านทักษิณ ชินวัตร เช่นพวก สนธิ ลิ้มทองกุล จตุพร พรหมพันธุ์ ได้ตามไปต่อต้านฮุนเซนและกัมพูชาด้วยจนมีการกล่าวคำก้าวร้าวว่า “ ถ้ามีอำนาจจะบุกยึดเขาพระวิหาร พระตะบอง เสียมเรียบ” ทำให้ฮุนเซนโกรธแค้นมาก
2. ผลกระทบในปัจจุบัน ความขัดแย้งครั้งนี้ส่งผลต่อทั้งสองประเทศในหลายด้าน:
2.1 ความมั่นคง: การเพิ่มกำลังทหารตามแนวชายแดน และการปะทะเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจทำให้ประชาชนวิตกกังวล
2.2 เศรษฐกิจ: การปิดพรมแดนของไทย 798 กิโลเมตร ทำให้ การค้าชายแดนหยุดชะงัก โดยเฉพาะจุดผ่านแดนสำคัญ เช่น อรัญประเทศ-ปอยเปต ตราด-เกาะกง และ สุรินทร์ -โอร์สเม็ด ส่งผลต่อรายได้ของพ่อค้าและประชาชน บ่อนคาสิโนชายแดนไทย กัมพูชาเกือบต้องปิดตัวลง ตัดรายได้สำคัญของผู้นำกัมพูชา
2.3 สังคม: ความรู้สึกชาตินิยมที่พุ่งสูงขึ้นทั้งสองฝ่าย นำไปสู่การเหยียดเชื้อชาติหรือความเกลียดชังระหว่างประชาชน ซึ่งอาจลุกลามแบบที่ มีการเผาสถานทูตไทยในกัมพูชา ในพ.ศ. 2546
2.4 การท่องเที่ยว: นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวทั้งสองประเทศ
3. สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
3.1 การเจรจาเพื่อลดความตึงเครียด: อาจมีมาเลเซียหรือจีนมาเป็นคนกลางเจรจาไกล่เกลี่ย ยุติความขัดแย้ง
3.2 การปะทะจำกัดวง: การสู้รบขนาดเล็กอาจเกิดขึ้นเป็นระยะ แต่ทั้งสองฝ่ายอาจควบคุมไม่ให้ขยายตัว
3.3 มาตรการทางเศรษฐกิจ: เช่น การควบคุม หรือห้ามการนำเข้าส่งออกหรือการเพิ่มภาษีศุลกากร สินค้าหรือบริการบางอย่าง เช่น มันสำปะหลัง ผักผลไม้ น้ำมันเชื้อเพลิง การรักษาพยาบาล
4. หากความรุนแรงบานปลายถึงที่สุด (Worst-Case Scenario):
4.1สงครามเต็มรูปแบบ: การใช้กำลังทหารขนาดใหญ่ทั้งทางบกและทางอากาศ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน แบบที่เคยเกิดที่ช่องบก พ.ศ.2528-2530
4.2 ผู้ลี้ภัย: ประชาชนทั้งสองฝ่ายอาจอพยพหนีการสู้รบ หลายหมื่นคน เหมือนสมัยสงครามเขมรแดง พ.ศ. 2518
4.3 เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศพังทลาย: การลงทุนจากต่างชาติหยุดชะงัก ค่าเงินอ่อนตัว ราคาสินค้าพุ่งสูง ทองคำขึ้นราคา
5. ควรเตรียมตัวอย่างไร?
ความขัดแย้งไทย-กัมพูชาเป็นประเด็นที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ประชาชนควรจะเตรียมตัว:
5.1 ติดตามข่าวสารจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ระวังข่าวหลอกลวง ข้อมูลบิดเบือน หรือข่าวปลอมเพื่อสร้างสถานการณ์
5.2 หลีกเลี่ยงการเผยแพร่ข้อมูลที่อาจสร้างความแตกแยก
5.3 เตรียมแผนรับมือกรณีเกิดวิกฤต เช่น เก็บเงินไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ซื้อทองคำแท่ง จัดกระเป๋าเตรียมอพยพ
โดย: สุริยพงศ์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี