ความปวด (Pain) คือ ประสบการณ์เฉพาะบุคคลที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน มักเกิดร่วมกับการบาดเจ็บ ความปวดมีหลายประเภท อาทิ ความปวดเฉียบพลัน ความปวดเรื้อรัง ความเจ็บปวดจากเนื้อเยื่อถูกทำลายหรืออักเสบ ความปวดจากมะเร็ง เป็นต้น แน่นอนว่าไม่มีใครอยากพบเจอกับความปวด แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องมีการรักษาหรือการจัดการอาการปวดอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเจ็บปวด ลดภาวะเครียดของร่างกายและจิตใจ เป็นการป้องกันและลดผลเสียที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพระยะยาว เพราะหากมีอาการปวดแล้วปล่อยเอาไว้ อาจกลายเป็นความปวดเรื้อรังและบั่นทอนคุณภาพชีวิต รวมถึงส่งผลกระทบด้านการงานของผู้ป่วยได้
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาวิจัยและสถาบันการแพทย์ ซึ่งมีพันธกิจในด้านบริการวิชาการและวิชาชีพด้านสุขภาพแก่สังคม โดยมีโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นส่วนงานหลักในการให้บริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชน มุ่งส่งเสริมความรู้และการดูแลเชิงป้องกัน ทั้ง นี้เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คลินิกการแพทย์บูรณาการ คลินิกระงับปวด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และฝ่ายสื่อสารองค์กรจึงได้บูรณาการร่วมกันจัดกิจกรรม PAIN FOCUS “มหกรรมลดปวด เข้าถึงทุกความปวด ด้วยนวัตกรรมการรักษาแบบองค์รวม” โดยมี รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวเปิดงาน ร่วมด้วย นพ.เติมพงศ์ พ่อค้า ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ร่วมกับวิสัญญีแพทย์และสหสาขาวิชาชีพ นำทีมโดย นพ.อนุพันธุ์ ตันธนาธิป หัวหน้างานเวชศาสตร์ฟื้นฟู, นพ.ชัยสิทธิ ดรุณสนธยา แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู, พญ.ภาวิดา เหราบัตย์, นพ.ประธีป เลิศมงคลอักษร วิสัญญีแพทย์ อนุสาขาระงับปวด, นพ.ชินภัทร ไพรวัฒนานุพันธ์ แพทย์เฉพาะทางด้านเวช ศาสตร์ฟื้นฟู,ภูวศิษฐ์ อาดำ แพทย์แผนไทย,ไปรลิดา ขาวจิตร แพทย์แผนจีน,ชวนก ธนะสุพรรณ นักกายภาพบำบัด, อนุชา แสงอ่อน นักวิทยาศาสตร์การกีฬา, เจนจิรา ไชยาแจ่ม นักกิจกรรมบำบัด, ปิยมน สิโนทก นักกายอุปกรณ์ พร้อมทีมผู้บริหาร แพทย์และพยาบาล คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เข้าร่วมพิธีเปิด โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องประชุม Convention Hall ชั้น 6 อาคารกรมพระศรีสวางควัฒน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันการศึกษาวิจัยและสถาบันการแพทย์ มีพันธกิจในด้านบริการวิชาการและวิชาชีพด้านสุขภาพแก่สังคม โดยมีโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นส่วนงานหลักในการให้บริ การรักษาพยาบาลแก่ประชาชน เรามุ่งส่งเสริมความรู้และการดูแลเชิงป้องกัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจวินิจฉัยและการรักษาการดูแลฟื้นฟูพัฒนาสมรรถภาพทางกาย และการเคลื่อนไหวผู้ป่วยที่มีความผิดปกติด้านกล้ามเนื้อข้อต่อ, ด้านระบบประสาท, ฟื้นฟูผู้ป่วยก่อน-หลัง การผ่าตัด, กายภาพบำบัดลดอาการปวด, การรักษาด้วยกายอุปกรณ์เทียม-อุปกรณ์เสริม, วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย อีกทั้ง การให้บริการตรวจรักษาด้านการแพทย์บูรณาการแผนไทย-แผนจีน โดยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้น ฟูและการแพทย์บูรณาการตลอดจนสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียม ตามพระปณิธานของ ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานและนายกสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และองค์ประธานผู้ทรงจัดตั้งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ด้วยเหตุนี้ คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ฯ จึงได้จัดกิจกรรมบริการวิชาการสุขภาพด้านกลุ่มโรคเวชศาสตร์ฟื้นฟู และการแพทย์บูรณาการ ประจำปี 2568 ภายใต้แนวคิด Pain Focus “มหกรรมลดปวด เข้าถึงทุกความปวด ด้วยนวัตกรรมการรักษาแบบองค์รวม” เพื่อให้บริการวิชาการความรู้แก่ผู้ป่วยในด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และการแพทย์บูรณาการ รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งวิธีการ บรรเทาอาการปวด อีกทั้งยังร่วมดูแลรักษาสุขภาพในเชิงป้องกันโดยมุ่งหวังในการลดอัตราการเจ็บปวดเรื้อรัง ให้ประชาชนไทยมีสุขภาพดี”
กิจกรรมเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2568 จัดเสวนาและสาธิตการออกกำลังกายลดปวด เริ่มด้วยเวทีเสวนา Pain Focus “มหกรรมลดปวด เข้าถึงทุกความปวด ด้วยนวัตกรรมการรักษาแบบองค์รวม” นำทีมโดย แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ร่วมกับแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ให้ความรู้ ในหัวข้อ บทบาทของเวชศาสตร์ฟื้นฟูในระบบสาธารณสุข โดย นพ.อนุพันธุ์ ตันธนาธิป หัวหน้างานเวชศาสตร์ฟื้นฟู หัวข้อรวมพลังนวัตกรรมผสานศาสตร์สุขภาพ ฟื้นฟูทะลุมิติ โดย นพ.ชัยสิทธิ ดรุณสนธยา แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ร่วมด้วยวิสัญญีแพทย์โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
นพ.อนุพันธุ์ ตันธนาธิป กล่าวว่า “เวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นสาขาหนึ่งทางการแพทย์ที่มุ่งเน้นการฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรงหรือใกล้เคียงกับสภาพเดิมมากที่สุด ซึ่งกลุ่มคนไข้มีหลายประเภทส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่มีความบกพร่องในการใช้ชีวิตเช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มนี้จะอาศัยทีมสหสาขาร่วมกันดูแลผู้ป่วย ทีมสหสาขาประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักอรรถบำบัด นักกายอุปกรณ์ นักวิทยา ศาสตร์การกีฬา ส่วนงานอีกด้านของเวชศาสตร์ฟื้นฟู คือการรักษาโรคที่มีอาการปวด เช่น ออฟฟิศซินโดรม ข้อเข่าเสื่อม หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นโดยการรักษาอาการปวดทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูเริ่มต้นตั้งแต่การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ การออกกำลังกาย การใช้ยา การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด การทำหัตถการ แพทย์ การฝังเข็ม การฉีดยา เป็นต้น”
ด้าน นพ.ชัยสิทธิ ดรุณสนธยา กล่าวถึงเทคโนโลยีใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อลดปวดและกระตุ้นทางซ่อมแซมเนื้อเยื่อว่า “มีการใช้เทคโนโล ยีใช้คลื่นเสียงความถี่สูง Ultrasound therapy ปล่อยคลื่นความถี่ลึกลงไปที่ระดับกล้ามเนื้อ กระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เพิ่มการไหลเวียนเลือด เหมาะในกลุ่มปวดกล้ามเนื้อปวดข้อตามร่างกาย เทคโนโลยีใช้ความร้อน Shortwave Diathermy ใช้คลื่นแม่เหล็กปล่อยความร้อนลึก ลดอาการปวดและการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนเลือดเหมาะในกลุ่มปวดตึงกล้ามเนื้อที่มีบริเวณกว้าง Paraffin wax ใช้พาราฟินเป็นตัวกลางนำความร้อนเข้าสู่เนื้อเยื่อ ลดอาการปวด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด เหมาะในกลุ่มปวดข้อนิ้วมือข้อมือ ส่วนเทคโนโลยีแรงกล Traction therapy ใช้แรงดึงเพื่อยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อ ทำให้เกิดการคลายตัวลดอาการกดทับเส้นประสาท เหมาะในกลุ่มปวดคอและหลัง หมอนรองกระดูกเคลื่อน ใช้เทคโนโลยีคลื่นกระแทกพลังงานสูง Shockwave therapy ปล่อยคลื่นกระแทก ทำให้เกิดการบาดเจ็บเล็กน้อย เพื่อกระตุ้นร่างกายซ่อมแซมและสร้างหลอดเลือดใหม่ของเนื้อเยื่อ ลดจากอาการปวดเรื้อรัง มีทั้งแบบ focused และ radial เหมาะสำหรับในกลุ่มอาการปวดจากเส้นเอ็นอักเสบ รองช้ำ และปวดตึงกล้ามเนื้อเรื้อรัง ส่วนเทคโนโลยีแสงเลเซอร์พลังงานสูง High power laser therapy ปล่อยแสงลงลึกระดับเซลล์ เพิ่มพลังงานแก่เซลล์กระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเส้นประสาท ลดอาการปวด บวม อักเสบ เหมาะในกลุ่มปวดได้หลากหลายตั้งแต่ระยะเฉียบพลัน ปวดจากอุบัติเหตุ ปวดจากปลายประสาทอักเสบไปจนถึงปวดเรื้อรัง เทคโนโลยีการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า Transelectircal stimulation therapy คลื่นกระแสไฟฟ้ายับยั้งการทำงานผิดปกติของระบบประสาท เหมาะสำหรับกลุ่มปวดปลายประสาท ปลายประสาทอัก เสบ เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Peripheral Magnetic ปล่อยสนามแม่เหล็กกระตุ้นเส้นประสาทและเนื้อเยื่อในระดับลึก ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาทฟื้นตัวและคลายตัว เหมาะในกลุ่มปวดกล้ามเนื้อและเส้นประสาท Transcranial magnetic stimulation therapy ปล่อยสนามพลังแม่เหล็กไปยังบริเวณสมอง ส่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการหลั่งสารสื่อประสาทในสมองทำให้ลดอาการปวด เหมาะในกลุ่มอาการปวดจากระบบประสาทและสมองส่วนเทคนิคการฝังเข็มแผนตะวันตก Dry needling เป็นการนำเข็มไปสะกิดปมกล้ามเนื้อที่เป็นก้อนแข็งให้คลายออกทันที ส่งผลให้ลดอาการปวดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดตึงจากกล้ามเนื้อ หรือออฟฟิศซินโดรม และเทคโนโลยีการใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ในการหาตำแหน่งจุดปวด Ultrasound guided injection เพื่อใช้ฉีดยาระงับปวดได้อย่างแม่นยำและมีผลข้างเคียงน้อย”
ปิดท้ายของวันด้วยการเสวนาหัวข้อ การจัดการความเจ็บปวดอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยวิสัญญีแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังและเฉียบพลัน โดย พญ.ภาวิดา เหราบัตย์ และ นพ.ประธีป เลิศมงคลอักษร วิสัญญีแพทย์ อนุสาขาระงับปวด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ การบำบัดความปวดมีบทบาทอย่างไรในการดูแลรักษาผู้ป่วย อาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยได้ในผู้ป่วยทุกราย สาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดแตกต่างกันออกไป อาการปวดเหล่านั้น ทำให้เกิดผลเสียทั้งทางด้านร่างกายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ยังมีผลกระทบวงกว้างไปจนถึงญาติและการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย จึงเกิดคลินิกระงับปวดขึ้น เพื่อช่วยดูแลรักษาให้คำปรึกษา โดยวิสัญญีแพทย์ อนุสาขาระงับปวด โดยจุดประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นลดอาการเจ็บปวด จากสาเหตุต่างๆ เช่น จากกระดูกสันหลังตีบแคบ อาการปวดจากโรคมะเร็ง โดย วิธีการต่างๆ เช่น การใช้ยา และการทำหัตถการระงับปวดเป็นต้น การฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยร่วมดูแลรักษาร่วมกัน เช่น การทำกายภาพบำบัด การแก้ไขสาเหตุของอาการเจ็บปวด เพื่อให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ลดภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากอาการปวด เช่น ภาวะปอดแฟบ ในคนไข้หลังผ่าตัด การระงับปวดที่มีประสิทธิภาพ ก็จะลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ช่วยรักษาเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด หรือบรรเทาอาการปวดแก่คนไข้ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ จากหัตถการระงับปวด นอกจากนี้ ในกิจกรรมยังจัดให้มีกิจกรรมสาธิตการออกกำลังกายลดปวด โดยทีมกายภาพบำบัดโรงพยาบาลจุฬาภรณ์อีกด้วย
นอกจากนี้ จัดให้มีบูธการแพทย์บูรณาการ ทั้งแพทย์แผนไทย มีการนวดลูกประคบและพอกยา ส่วนแพทย์แผนจีนจัดให้มีการฝังเข็ม นอกจากนี้ยังมีบูธกายภาพบำบัด บริการกายภาพบำบัดด้วยเครื่องกายภาพ PMS ช่วยรักษากลุ่มที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หรือจากโรคออฟฟิศซินโดรม บูธกิจกรรมบำบัด บริการวัดความแข็งแรงและความคล่องแคล่วของมือ และแนะนำการออกกำลังกายกล้ามเนื้อมือ บูธวิทยาศาสตร์การกีฬา วิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย และแนะนำการออกกำลังกาย บูธกายอุปกรณ์ : ตรวจการลงน้ำหนักฝ่าเท้า foot pressure และแนะนำการเลือกรองเท้าโดยจะใช้เครื่อง P-walk ในการตรวจและบูธแสดงผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดจากพันธมิตรต่างๆ
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คลินิกการแพทย์บูรณาการ คลินิกระงับปวด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ พร้อมบรรเทาและดูแลรักษาอาการปวด Pain Service Out Patient Department รับตรวจดูแลผู้ป่วยนอก ที่มีอาการปวดจากโรคมะเร็งและอาการปวดอื่นๆ เช่น อาการปวดเข่า หลัง เรื้อรังรับให้คำปรึกษา จากแผนกต่างๆ ให้บริการ ณ ชั้น 2 อาคารอัครราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เวลาทำการ วันจันทร์ วันอังคาร และวันพฤหัสบดี เวลา 13.00น.-16.00น. (รับเฉพาะในรายที่มีแพทย์เจ้าของไข้ส่งต่อการรักษา)
ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คลินิกการแพทย์บูรณาการ คลินิกระงับปวด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โทรศัพท์ 0 2765 5700 หรือ 0 2576 6000 ต่อ 5018, 5019 หรืออัปเดตข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพสามารถแอดเพิ่มเพื่อนกับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิท ยาลัยจุฬาภรณ์ ทางไลน์ออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ (@chulabhornhospital) พร้อมทั้งกด LIKE กด share facebook โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และกด subscribe ช่อง youtube ซีอาร์เอจุฬาภรณ์แชนแนล ส่วนผู้รับบริการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ที่มีประวัติการรักษาหรือ HN เพื่อความสะดวกและไม่พลาดทุกการแจ้งเตือน ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CHULABHORN HEALTH PLUS ได้ทาง App store และ Google Play store ได้แล้ววันนี้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี