ผลการศึกษาจากวอลเตอร์และอีไลซา ฮอลล์ (WEHI) สถาบันการแพทย์เก่าแก่ที่สุดในออสเตรเลีย เปิดเผยว่า การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเพียงไม่กี่มื้อ อาจส่งผลให้ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของลำไส้อ่อนแอลงอย่างรวดเร็วจนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบยาวนานก่อนปรากฏอาการให้เห็น
การศึกษาพบว่า กล่าวว่าอาหารทุกมื้อที่เรารับประทานส่งผลต่อสุขภาพลำไส้ ยิ่งรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงมากเท่าไร ยิ่งสะสมการอักเสบมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ภูมิคุ้มกันของลำไส้ค่อยๆ อ่อนแอลง และเพิ่มความเสี่ยงการอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้ อาหารไขมันสูงยังกดความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับการอักเสบด้วยการลดอินเตอร์ลิวคิน 22 ความสามารถปกป้องของลำไส้จะลดลงในเวลาเพียง 2 วัน โดยไม่มีสัญญาณภายนอกใดเลย
อย่างไรก็ดี คณะนักวิจัยยังพบว่าไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ไขมันในถั่ว เมล็ดพืช และอะโวคาโด ช่วยเพิ่มอินเตอร์ลิวคิน 22 และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันลำไส้ รวมถึงสามารถฟื้นฟูการทำงานของลำไส้ในหนูทดลองด้วยการเติมอินเตอร์ลิวคิน 22 ซึ่งบ่งชี้ศักยภาพของการฟื้นฟูสุขภาพลำไส้ในมนุษย์
ทั้งนี้ อาการอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคเซลีแอค (coeliac) โรคลำไส้อักเสบ และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ส่งผลกระทบต่อชาวออสเตรเลียประมาณ 1 ใน 3 ทว่าสาเหตุการเกิดโรคเหล่านี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจดี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี