จากนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ เป็นตัวเร่งให้ยุโรปต้องเดินหน้าพึ่งพาตนเองในหลากหลายมิติ รวมถึงปฏิบัติการทางอวกาศ ขณะที่เมื่อปี 2024 สหรัฐฯ ปล่อยจรวดขึ้นสู่วงโคจรถึง 154 ดวง แต่ยุโรปสามารถทำได้แค่ 3 ดวง มูลค่าการลงทุนด้านอวกาศของโลกพุ่งทยานไปอยู่ที่ 143,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 4.5 ล้านล้านบาท) เมื่อปีที่แล้ว แต่เป็นสัดส่วนของยุโรปเพียงแค่ 10% อีกทั้งยุโรปมีฐานปล่อยดาวเทียมเพียงแห่งเดียว คือที่ เฟรนช์ กีอานา ในอเมริกาใต้
นั่นเป็นสาเหตุให้ยุโรปเริ่มเดินหน้าพัฒนาฐานปล่อยจรวดอันโดยา (Andoya) ทางตอนเหนือของสวีเดนและนอร์เวย์ตั้งอยู่เหนือวงแหวนอาร์กติกราว 200 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และแม่น้ำ และเป็นหนึ่งในพื้นที่เหมืองเหล็กใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งพร้อมที่จะสร้างถนนและสนามบินต่อไป
ขณะนี้ ศูนย์อวกาศอันโดยากำลังเตรียมการสำหรับการปล่อยยานอวกาศขึ้นสู่อวกาศ โดยมีแท่นปล่อยจรวด โรงเก็บยานอวกาศ และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการวิจัยชุดใหม่ที่พร้อมสรรพ คณะผู้แทนขององค์การสนธิสัญญาแอจแลนติกเหนือ หรือนาโต ได้เดินทางเยือนศูนย์แห่งนี้เมื่อต้นเดือน ก.ค. โดยมีใบอนุญาตปล่อยจรวด 30 ครั้งต่อปี ที่น่าจะเข้ามาเติมเต็มความต้องการของนาโตในการเพิ่มขีดความสามารถด้านอวกาศอย่างรวดเร็ว และสะท้อนถึงโอกาสอันดีของยุโรปที่จะบรลุเป้าหมายการเป็นเอกราชด้านอวกาศจากสหรัฐฯ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี