วันจันทร์ ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
คุยกัน 7 วันหน : 'อาเซียน' รับศึกภาษีทรัมป์ จับตาหาวิธีแก้เกม-เจรจาสหรัฐฯ

คุยกัน 7 วันหน : 'อาเซียน' รับศึกภาษีทรัมป์ จับตาหาวิธีแก้เกม-เจรจาสหรัฐฯ

วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : แก้เกม-เจรจาสหรัฐฯ ภาษีทรัมป์ อาเซียน
  •  

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 58 ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในสัปดาห์ที่ผ่านมา จัดขึ้นท่ามกลางการจับตามองว่ากำแพงภาษีสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประเด็นร้อนของการประชุมในรอบนี้ หลังจากในสัปดาห์นี้ มี 6 ชาติสมาชิกอาเซียน คือ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และ บรูไนดารุสซาลาม ได้รับหนังสือแจ้งอัตราภาษีจากโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ที่ต้องเผชิญกับภาษีตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึง 40


 

ก่อนหน้านี้ มาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ พยายามผลักดันให้ 10 ชาติสมาชิกจับมือและเดินเกมเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่ในวันแรกๆ ที่ทรัมป์เริ่มทำสงครามภาษีกับทั้งโลก แต่ความพยายามนี้ไม่คืบหน้า ขณะที่การใช้ไม้แข็งของสหรัฐฯ เพื่อให้คู่ค้าเร่งเจรจา จะทำให้ประเทศต่างๆ เปลี่ยนท่าทีได้หรือไม่

ขณะที่นายกรัฐนตรี อันวาร์ อิวบราฮิม ของมาเลเซีย กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน พูดถึงภาษีศุลกากร ข้อจำกัดในการส่งออก และอุปสรรคต่อการลงทุนว่า เป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่ไม่ได้เอ่ยถึงสหรัฐฯ ที่ประกาศจะเก็บภาษีนำเข้าจาก 6 ชาติอาเซียนในอัตราระหว่างร้อยละ 20-40 แม้ว่าสมาชิกอาเซียนบางประเทศพยายามยื่นข้อเสนอที่ยอมอ่อนข้อให้แก่สหรัฐฯ อย่างกว้างขวาง และเจรจาขอลดอัตราภาษี

คาดว่า ร่างแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมจะระบุถึงความกังวลของอาเซียนที่มีต่อการค้าโลกที่ตึงเครียดมากขึ้น และความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการตั้งกำแพงภาษีแต่เพียงฝ่ายเดียวของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ร่างแถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า มาตรการดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกแตกออกเป็นเสี่ยงๆ รวมทั้งยังท้าทายต่อเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนอีกด้วย

 

จนถึงขณะนี้ มีเวียดนามเพียงชาติเดียวในอาเซียนที่บรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ ไปแล้ว โดยได้ลดหย่อนการเรียกเก็บภาษีจากร้อยละ 46 ลงมาเหลือที่ร้อยละ 20 ส่วนชาติอื่นๆ ในอาเซียน มีทั้งกลุ่มที่ได้รับแจ้งอัตราภาษีลดลงจากเดิม ได้แก่ กัมพูชา ลดลงมากที่สุดเหลือร้อยละ 36 ส่วน สปป.ลาวลดลงร้อยละ 8 เหลืออัตราภาษีที่ร้อยละ 40 เท่ากับเมียนมา

มาเลเซียเป็นอาเซียนเพียงชาติเดียวที่สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีจากร้อยละ 24 เป็นร้อยละ 25 ขณะที่อินโดนีเซียและไทย ได้รับหนังสือแจ้งอัตราภาษีคงเดิมเท่ากับเมื่อเดือน เม.ย. ที่ร้อยละ 32 และร้อยละ 36 ตามลำดับ ทั้งที่มีความพยายามเจรจาการค้าไปแล้วก่อนหน้านี้ จึงอาจตีความได้หรือไม่ว่า การพูดคุยที่ผ่านมายังไม่มีอะไรที่ถูกใจสหรัฐฯ มากนัก หรือยังมีข้อเสนอที่ไม่โดนใจ ส่วนบรูไนเจออัตราภาษีร้อยละ 25 และฟิลิปปินส์เบาสุด ที่ร้อยละ 20 เท่ากับที่เวียดนามเจรจาได้

 

โจทย์ใหญ่ในขณะนี้คือ แต่ละประเทศต้องเร่งเจรจาปิดดีลให้ได้ก่อนวันที่ 1 ส.ค.นี้ แต่จะต้องยอมแลกด้วยอะไรบ้าง เพราะอาเซียนแต่ละประเทศไม่ได้มีไพ่เด็ดในมือที่จะใช้ต่อรองกับสหรัฐฯ ได้ ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า การผนึกกำลังระหว่างสมาชิกอาเซียนยังทำได้ยาก เนื่องจากหลายประเทศมีสินค้าส่งออกคล้ายๆ กัน แต่โดนภาษีไม่เท่ากันและอ่อนไหวต่อแรงกดดันจากสหรัฐฯ แตกต่างกันไป

ยกตัวอย่าง การนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนของสหรัฐฯ เมื่อปี 2024 พบว่ามีมูลค่าตั้งแต่หลักแสนล้านดอลลาร์ สำหรับเวียดนาม ไล่ลงมาจนถึงบรูไน ซึ่งสหรัฐฯ นำเข้าสินค้าเป็นมูลค่าไม่ถึง 300 ล้านดอลลาร์ ขณะที่แต่ละประเทศมีสัดส่วนการส่งออกไปยังสหรัฐฯ แตกต่างกัน

วงประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือน พ.ค. ผู้นำอาเซียนออกแถลงการณ์แสดงความกังวลอย่างมากต่อมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ แต่ผ่านมาแล้ว 1 เดือนเศษ จนทรัมป์ประกาศสงครามภาษีรอบใหม่ อาเซียนก็ยังไม่ได้ขยับตัวทำอะไรให้เห็นเป็นรูปธรรม และวลาที่เหลืออยู่อีกไม่ถึง 1 เดือนนับจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์อาจทำได้ยากและอาจจบลงที่ต่างคนต่างเจรจา

ในส่วนของไทย มีการวิเคราะห์จากหลายฝ่ายถึงกรณีประธานาธิบดีทรัมป์ เรียกเก็บของไทยอยู่ที่ร้อยละ 36%ว่า หากไม่นับประเทศ สปป.ลาว เมียนมา กัมพูชา ทำไมประเทศไทยจึงถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บอัตราภาษีสูงกว่าประเทศอื่น ขณะที่ภาคการส่งออกและโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องมีบทบาทสำคัญต่อการจ้างงาน มีการประมาณการเบื้องต้นว่ามีแรงงานที่เกี่ยวข้องประมาณ 18 – 20 ล้านคน

 

แน่นอนว่า หากอัตราภาษีนำเข้าไปตลาดสหรัฐฯ ที่ไทยถูกเรียกเก็บสูงกว่าประเทศคู่แข่งสูงกว่าเวียดนามและอินโดนีเซีย จะมีผลอย่างมากต่อการลดลงทั้งเชิงปริมาณและมูลค่า ผลที่ตามมาคือการลดกำลังการผลิตซึ่งจะมีผลต่อแรงงานส่วนเกินทั้งทางตรงและทางอ้อมที่อาจต้องสูญเสียตำแหน่งงาน ผลกระทบขึ้นอยู่กับว่าแรงงานเหล่านั้นทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมหรือภาคบริการที่ต้องพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ เป็นสัดส่วนเท่าใด ยิ่งสัดส่วนมากผลกระทบก็ยิ่งสูง

ตัวอย่างภาคส่วนที่อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีทรัมป์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ-ทรานซิสเตอร์ เหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหารสัตว์ อาหารทะเล/ผลไม้กระป๋องและแปรรูป

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดของประเทศส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยที่จะลดลงกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงภาคค้าส่ง-ค้าปลีกและการซื้อสินค้าประเภทถาวร เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ยานพาหนะหรืออสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะได้รับผลกระทบตามมาอย่างแน่นอน ยอดขายที่หดตัวนำมาซึ่งปัญหาสภาพคล่องในภาคธุรกิจ การเลิกจ้างต่อยอดไปถึงหนี้เสียหรือ NPL ของสถาบันการเงิน

ตอนนี้ คงทำอะไรไม่ได้มาก นอกจากขอเอาใจช่วย ทีมเจรจา หรือ Thailand Team ซึ่งเชื่อว่า ต้องมีงานหนักในช่วงเวลาที่เหลือไม่มากนี้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เปิดงาน \'Crafts Bangkok 2025\' หนุน SACIT ดันไทยเป็นศูนย์กลางหัตถกรรมแห่งอาเซียน เปิดงาน 'Crafts Bangkok 2025' หนุน SACIT ดันไทยเป็นศูนย์กลางหัตถกรรมแห่งอาเซียน
  • คุยกัน7วันหน : จีนผนึกกำลัง ‘อาเซียน’ รับมือกำแพงภาษีทรัมป์ คุยกัน7วันหน : จีนผนึกกำลัง ‘อาเซียน’ รับมือกำแพงภาษีทรัมป์
  •  

Breaking News

ศบภ.มทบ.38 ผนึกกำลังจิตอาสา ฟื้นฟูโรงเรียนบ้านน้ำพางหลังน้ำลด

บิ๊กไบค์ซิ่งเสียงสนั่นกลางชุมชน ก่อนชนกระบะเจ็บสาหัส

‘คำชะโนด’แทบแตก! ปชช.แห่ไหว้ขอพร‘ปู่ศรีสุทโธ-ย่าประทุมมา’

‘ศาลปกครอง’มีคำสั่ง คุ้มครองที่ดิน 995 ฉบับ-แปลงอื่นๆในพื้นที่‘เขากระโดง’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved