วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
การทำสตัฟฟ์สัตว์

การทำสตัฟฟ์สัตว์

วันอาทิตย์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557, 06.00 น.
Tag :
  •  

สวัสดีครับ หลายท่านคงประสบเหตุการณ์ที่สัตว์เลี้ยงแสนรัก ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว กิ้งก่า งู กระรอกบิน กระต่าย หรือปลา เกิดป่วยจนมีเหตุที่เสียชีวิตลง ซึ่งบางท่านยังอยากเก็บความทรงจำดีๆ ของสัตว์เลี้ยงนั้นไว้  นอกจากเก็บภาพถ่ายที่เป็นที่ระลึกแล้ว  “การสตัฟฟ์” ก็เป็นวิธีหนึ่งครับ ที่ช่วยให้เราได้เก็บความทรงจำและความผูกพันของสัตว์เลี้ยงนั้นในเชิง 3 มิติ  ซึ่งวันนี้ ผมมีข้อมูลเรื่องการทำสตัฟฟ์สัตว์และการอบรมที่กำลังจะมีขึ้นปลายเดือนเมษายนนี้จาก ผศ.สพ.ญ. ภาวนา เชื้อศิริ มาฝากครับ 

การสตัฟฟ์ (Stuff or taxidermy)


เป็นเทคนิคทางกายวิภาคศาสตร์ ที่ใช้ในการคงสภาพร่างกายสัตว์หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว เป็นการเก็บรักษาแบบแห้งเพื่อให้คงอยู่ได้นาน และสามารถคงลักษณะของสัตว์ไว้ ให้เหมือนเดิมทุกประการ และจับต้องได้จริงๆ

ขั้นตอน และวิธีการทำสตัฟฟ์สัตว์

ขั้นตอนก็ดูเหมือนไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนอะไร แต่ต้องอาศัยเทคนิก และความชำนาญค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องทำให้สัตว์มีลักษณะที่เหมือนเดิมในขณะมีชีวิตให้มากที่สุด โดยมีข้อจำกัดดังนี้ครับ

1. สัตว์ที่นำมาสตัฟฟ์นั้นต้องมี ขนาดตัวที่ไม่เล็กจนเกินไป และยังมีความสดอยู่ ที่สำคัญ ควรมีลักษณะภายนอก และสภาพผิวหนังที่สมบูรณ์ เพื่อให้ได้สภาพสัตว์หลังการทำสตัฟฟ์มีความสวยงามใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุดครับ

2. อุปกรณ์ที่ต้องใช้ มีดังนี้ ชุดเครื่องมือผ่าตัด ได้แก่ ด้ามมีด ใบมีด กรรไกร ปากคีบ เข็มเย็บ เอ็นเย็บ (ซึ่งจะเป็นหมอกันก็คราวนี้ละครับ) ถุงมือ ผ้าปิดจมูก หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา แผ่นปูรอง ถังพลาสติก สำลี แผ่นโฟม เข็มหมุดหัวโต เส้นลวด ลูกตาปลอม แลกเกอร์ กาวตราช้าง ภาชนะใส่สาร และช้อนตักสารเคมี อุปกรณ์หลายชนิดมีคม ต้องระวังทั้งเด็กและสัตว์เลี้ยงครับ

3. สารเคมีที่ใช้เพื่อช่วยถนอมเนื้อ ได้แก่ ฟอร์มาลีน บอแรกซ์ สารส้มฯ (สารบางชนิดเป็นสารอันตราย จึงต้องระมัดระวังการสูดดมและการสัมผัสเป็นพิเศษ)

ขั้นตอนการทำ ก็มีหลักๆ ดังนี้

1. เลาะเอากล้ามเนื้อออกจากร่างกายให้ได้มากที่สุด (เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยและการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย) โดยใช้อุปกรณ์ผ่าตัด ซึ่งจะต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ผิวหนังที่ห่อหุ้มร่างกายของสัตว์มีความเสียหาย

2. โรยสารถนอมเนื้อ เพื่อช่วยในการย่อยสลายเนื้อเยื่อที่เอาออกไม่หมด

3. การขึ้นรูปโดยใส่โครง โดยใช้ลวดเป็นแกน และใช้สำลีเพื่อแทนที่กล้ามเนื้อที่เอาออกไป

4. เย็บปิดผิวหนังด้วยเอ็นเย็บ และจัดท่าทางให้ดูเหมือนตอนยังมีชีวิตให้มากที่สุด

5. ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างอันตราย คือการฉีดน้ำยารักษาสภาพ เพื่อให้มิให้เกิดการเน่าเปื่อย

6. ทำให้แห้งสนิท และหมดกลิ่นน้ำยา โดยการผึ่งลม หรือใช้ลมเย็นเป่าให้แห้ง

7. ขั้นตอนสุดท้ายเป็น เป็นการเคลือบเงาด้วยสเปรย์แลกเกอร์

เท่านี้ เราก็จะได้สัตว์สตัฟฟ์ที่เป็นตัวแทนความผูกพันที่เรามีต่อสัตว์เลี้ยงที่เสียชีวิตไปครับ

ท่านที่สนใจอยากเรียนรู้วิธีการทำสตัฟฟ์สัตว์ สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ “ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ”  ซึ่งจะให้คำแนะนำ และบริการสตัฟฟ์สัตว์ รวมถึงมีการอบรมการทำสตัฟฟ์สัตว์ให้แก่ผู้สนใจอีกด้วย และปลายเดือนเมษายนนี้ จะมีการจัดโครงการอบรมสตัฟฟ์สัตว์ฯ ให้กับนักเรียน คุณครู ผู้ปกครอง นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจด้วยครับ ที่สำคัญ “รับจำนวนจำกัด”  ด้วยครับ

ผู้ที่สนใจล่ะก็ อย่ารอช้า ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 02-218-9696 หรือเข้าไปยัง facebook ของกลุ่มคือ  “ ทีมงานอบรมสตัฟฟ์สัตว์ สัตวแพทย์ จุฬาฯ ” ครับ

อ.น.สพ.ดร. ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ภคมน ลิซ่า' สอน 'ณัฐวุฒิ' เก็บอาการหน่อย! บอกควรยืนข้างนายกฯ ไม่ใช่พ่อของนายกฯ

ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่! 'พานาโซนิค'เตรียมเลย์ออฟพนักงาน10,000ตำแหน่งทั่วโลก

เพื่อไทย ส่ง 'อนุสรณ์' ลุยช่วย 'อัศนี' เบอร์ 3 นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่

วิชัยเวชฯ จับมือโรงเรียนบ้านด่านโง ร่วมใจปลูกป่า เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved