วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
'มาเก๊า' ลมหายใจที่รวยรินของวิถีชุมชน

'มาเก๊า' ลมหายใจที่รวยรินของวิถีชุมชน

วันศุกร์ ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561, 07.47 น.
Tag : มาเก๊า วิถีชีวิต วิถีชุมชน
  •  

 มาเก๊า (Macau) เมื่อเอ่ยถึงชื่อนี้ มั่นใจได้ว่าภาพแรกที่คนส่วนใหญ่นึกออกคือ "แสงสี" จากดวงไฟที่ประดับประดาตามอาคาร "บ่อนการพนัน-โรงแรมหรู" อย่างแน่นอน เพราะที่นี่ได้รับฉายาว่าเป็น "ลาสเวกัสแห่งโลกตะวันออก" ทว่าในอีกมุมหนึ่งซึ่งเป็น "มุมเล็กๆ" บนเกาะที่มีเนื้อที่เพียง 29.5 ตารางกิโลเมตร ยังมีความพยายามของผู้คนที่ต้องการรักษา "อัตลักษณ์ท้องถิ่น" ไม่ให้ถูกทำลายหายไปท่ามกลางการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจการพนันและการท่องเที่ยวยามราตรี

ดังที่เว็บไซต์ นสพ. The Guardian ของอังกฤษ นำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง "Lost language: how Macau gambled away its past" (ภาษาที่เลือนหาย : มาเก๊าผู้เสียพนันด้วยรากเหง้าเดิม) โดยระบุว่า ภาษา "ปาตัว" (Patua) ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของคนมาเก๊าแทบจะเรียกได้ว่า "หายสาบสูญ" ไปแล้ว โดยมีเพียงผู้สูงวัยเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ยังสามารถพูดภาษาดังกล่าวได้


 

 "อาเซียน-จีน-มาเก๊า" เส้นทางการค้าในโลกตะวันออกของชาวโปรตุเกสเมื่อหลายร้อยปีก่อน

ภาษาปาตัวนั้นพัฒนาขึ้นโดยเหล่าพ่อค้าและนักเดินเรือชาวโปรตุเกสที่เดินทางมายังมะละกา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ราวศตวรรษที่ 16 (ปี 2044-2142) ต่อมาชาวโปรตุเกสได้เดินทางไปยังมาเก๊า ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ทางตอนใต้ของจีน จึงเกิดการผสมผสานระหว่างภาษาโปรตุเกส ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษามาเลย์ รวมถึงภาษาอื่นๆ ที่ชาวโปรตุเกสได้ยินได้ฟังมาตามสถานีการค้าต่างๆ ที่พวกเขาเคยเดินทางผ่าน และต่อมาเมื่อมีการแต่งงานระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวพื้นเมืองมาเก๊า ภาษาปาตัวก็ได้ "หยั่งรากลึก" ลงบนเกาะแห่งนี้ด้วย

ทว่าเมื่อถึงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 (ปี 2394) เป็นต้นมา ซึ่งเวลานั้นมาเก๊าเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสแล้ว ด้วยนโยบายปฏิรูปการศึกษาในโปรตุเกส บวกกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีเรื่องของภาษาเข้ามาเกี่ยวข้อง ภาษาปาตัวถูก "ตีตรา" ให้เป็นภาษาที่ "น่ารังเกียจ" นับแต่นั้นเป็นต้นมา การพูดภาษาปาตัวจึงถูกจำกัดอยู่แต่ภายในบ้านเรือนเท่านั้น ทั้งนี้ในปี 2552 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ENESCO) จัดให้ภาษาปาตัวเป็น 1 ในภาษาที่สุ่มเสี่ยงต่อการสูญหายไปจากโลก

 Aida de Jesus (นั่งด้านหน้า)

Aida de Jesus หญิงชราชาวมาเก๊าที่แม้จะอายุ 102 ปีแล้วแต่ยังเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว บอกเล่ากับผู้สื่อข่าวของ The Guardian ว่า สมัยยังเด็ก เมื่อไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน เด็กๆ จะต้องสื่อสารกันด้วยภาษาโปรตุเกสเท่านั้น หากไปพูดภาษาปาตัว ครูหรือบุคลากรในโรงเรียนจะไม่เข้าใจ ขณะที่ Elisabela Larrea ซึ่งใช้เวลาบางส่วนเรียนต่อระดับปริญญาเอก มีงานอดิเรกคือการทำเว็บบล็อกอธิบายคำในภาษาปาตัวเป็นภาษาอังกฤษและจีนสำหรับผู้สนใจ หรือพูดง่ายๆ คือเธอกำลังเป็นส่วนเล็กๆ ในชุมชนของมาเก๊าที่พยายามจะรักษารากเหง้าภูมิปัญญาของบรรพชน

Larrea กล่าวว่า เธอเคยได้ยินแม่ของเธอบอกว่าครอบครัวของเราเคยยอมแพ้ที่จะรักษาภาษาที่เป็นของเรา แต่ตอนนี้เราจะนำจิตวิญญาณและวัฒนธรรมที่แท้จริงของเรากลับคืนมา และปาตัวคือภาษาของเรา อย่างไรก็ตามเธอก็เข้าใจความจำเป็นของชาวมาเก๊าในอดีต เพราะในสมัยนั้นหากใครพูดภาษาปาตัว ก็จะถูก "ดูหมิ่น" ว่าเป็นพวก "ด้อยการศึกษา" ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่ยอมให้บุตรหลานพูดภาษาที่เป็นภาษาพื้นถิ่นของตนเอง อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ชาวมาเก๊าภูมิใจในอัตลักษณ์ดังกล่าวของตนมากขึ้นกว่าเมื่อหลายปีก่อน

Elisabela Larrea

เช่นเดียวกับ Miguel de Senna Fernandes ชาวมาเก๊าที่มีอาชีพหลักเป็นทนายความ และยังดำรงตำแหน่งประธานสมาคมชาวมาเก๊า กล่าวว่า เขาทำหน้าที่รักษาภาษาของบรรพชนมากว่า 20 ปี ผ่านการแสดงละครที่ใช้ภาษาปาตัว โดยมีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ จีนและโปรตุเกส และกลายเป็น 1 ในความคาดหวังของผู้คนที่จะได้พบเห็นการแสดงนี้ในเทศกาลศิลปะประจำปีของมาเก๊า

Fernandes กล่าวว่า ผู้คนมากมายเคยถามเขาว่า ในยุคสมัยที่ใครๆ ก็ไม่พูดภาษาปาตัวกันแล้ว ทำไมเขายังต้องพยายามที่จะรักษามันไว้ด้วยเล่า? ซึ่งเขาก็ตอบกลับไปว่า มันก็คงเหมือนกับโถเหยือกหรือว่าสมุดบันทึกที่พ่อของคุณทิ้งไว้นั่นแหละ คุณก็รู้ว่านั่นคือสิ่งของที่ทำให้คุณระลึกถึงคนที่คุณรัก แม้ว่าคุณจะไม่ได้ใช้งานมันเลยก็ตาม ถึงกระนั้นคุณก็จะไม่ทิ้งมันไปหรอกเพราะว่าคุณผูกพันกับมัน ภาษาปาตัวก็เช่นกัน แม้ว่าในชีวิตประจำวันเราจะไม่ได้ใช้มันแล้ว แต่มันคือสิ่งที่เชื่อมโยงกับบรรพชนของเรา และเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนเรา

นับตั้งแต่ที่มาเก๊ากลับคืนสู่การปกครองของจีนในปี 2542 ชุมชนที่แตกต่างและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวมาเก๊าก็ยังต้องต่อสู้กันต่อไป ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเศรษฐกิจบนเกาะแห่งนี้ ร้อยละ 80 มาจากกิจการบ่อนการพนัน แน่นอนมันทำให้เมืองเจริญเติบโต แต่มันก็เป็นประโยชน์น้อยมากกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ผู้คนจำนวนมากมองว่ากลยุทธ์ที่ดีที่สุดของมาเก๊าคือการ "เลียนแบบลาส เวกัส" (Las Vegas) เมืองในสหรัฐอเมริกาที่ขึ้นชื่อระดับโลกในด้านบ่อนการพนัน สำหรับคนมาเก๊า บ่อนและโรงแรมแห่งแล้วแห่งเล่าคือ "เป้าหมายในใจ" เพราะเป็นสิ่งที่ทำเงินได้ง่าย

"บ่อนการพนัน-โรงแรมหรู" 2 สิ่งที่คนส่วนใหญ่นึกถึงมาเก๊า

Fernandes ยังกล่าวอีกว่า บ่อนทั้งหลายพยายามอย่างหนักเพื่อนำเสนอว่าตนเองคือสัญลักษณ์ของมาเก๊า ที่นี่เรามีทั้งหอไอเฟล มีโรงแรมที่สื่อถึงความเป็นเมืองเวนิส และกำลังจะสร้างกรุงลอนดอนของอังกฤษแบบย่อส่วนขึ้นมาอีก ซึ่งในฐานะ “พลเมืองเต็มขั้น” ของมาเก๊าแล้ว มองว่าทั้งหมดนี่เป็นเพียง “ขยะ” เท่านั้น เพราะมันไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับเกาะแห่งนี้เลยแม้แต่น้อย

ทางด้าน Larrea นั้นกล่าวเสริมว่า เราไม่อาจโทษรัฐบาลหรือบรรดาเจ้าของบ่อนที่ไม่ยอมช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของมาเก๊า เพราะนี่คือความรับผิดชอบของชาวมาเก๊าที่ต้องขับเคลื่อนด้วยตัวของเราเอง ทว่าทุกวันนี้ชาวมาเก๊ายังมิได้ใส่ใจกับมันมากพอ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนความหวังที่จะรักษาอัตลักษณ์ภาษาปาตัวให้อยู่คู่กับชาวมาเก๊า คงจะหมดลงเสียแล้ว หลังต้องเผชิญคลื่นยักษ์ทางวัฒนธรรม นั่นคือการมาของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ และวิถีชุมชนแบบมาเก๊าคงถึงกาลอวสาน

Larrea ยังกล่าวอีกว่า แม้สามีของเธอจะเป็นชาวจีน แต่หากเธอมีลูกก็จะพยายามสอนภาษาปาตัวให้กับลูกๆ ของเธอ ถึงกระนั้นเธอไม่มั่นใจว่าในรุ่นหลานจะยังได้ยินภาษาท้องถิ่นอีกหรือไม่? เพราะภายใน 3-4 ชั่วอายุคน ภาษานี้คงจะไม่ถูกนำมาใช้อีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ใช่แต่เฉพาะประชากรที่พักอาศัยในมาเก๊าจำนวนมากจะเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ แม้กระทั่งนักท่องเที่ยวก็เช่นกัน โดยในปี 2559 มีชาวจีนข้ามไปเที่ยวในมาเก๊ามากถึง 28 ล้านคน

ไม่ต่างจาก Fernandes ที่ย้ำว่าคุณไม่อาจเพิกเฉยต่อการกลืนกินทางวัฒนธรรมจากจีนแผ่นดินใหญ่ได้ มันเกิดขึ้นทุกที่และทุกเวลา เราเคยคิดถึงขนาดว่าถ้าชาวจีนทะเลาะกันเกาะมาเก๊าอาจจะจมน้ำได้ อย่างไรก็ตามยังเชื่อมั่นว่าทุกคนมีวีธีรับมือการดูดกลืนนี้ และชุมชนชาวมาเก๊าโดยธรรมชาติคือผู้อยู่รอด ซึ่งหากจิตวิญญาณของชาวมาเก๊ามีความยืดหยุ่น และชุมชนจะอยู่ได้ถ้าเข้าใจวิธีการที่จะทำให้มันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมา

ทนายความและประธานสมาคมชาวมาเก๊าผู้นี้ กล่าวทิ้งท้ายว่า ถึงชุมชนชาวมาเก๊าแบบดั้งเดิมจะหายไป แต่คนรุ่นใหม่ของที่นี่ยังคงรู้ถึงวิธีการที่จะทำให้มันแตกต่าง พวกเขานั้นรู้จักบรรพชน รู้จักชาวโปรตุเกส ซึ่งคุณจะบอกว่าคุณมีตัวตนไม่ได้เลยถ้าคุณไม่รู้สึกแตกต่างจากคนอื่นๆ ดังนั้นถือว่าโชคดีที่ชาวมาเก๊ารุ่นใหม่ตระหนักและพยายามจะรักษามันไว้

อย่างน้อยวันนี้ก็ยังสามารถมองในแง่ดี!!!

เรียบเรียงจาก : www.theguardian.com 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ส่องปัญหาครอบครัวไทย(จบ) ขอนโยบายสอดคล้องวิถีชีวิต ส่องปัญหาครอบครัวไทย(จบ) ขอนโยบายสอดคล้องวิถีชีวิต
  •  

Breaking News

'กอบศักดิ์' ฟันธง 'ภาษีทรัมป์' รอบนี้ของจริง! เตือนไทยจับตาโครงสร้างการค้าโลกใหม่

รัฐบาลย้ำต้องขุดรากถอนโคนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังออกหมายจับแก๊ง 'ก๊ก อาน'

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568

'มทภ.2' นำสิ่งของพระราชทาน จาก'ในหลวง-กรมสมเด็จพระเทพฯ' มอบให้ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved