วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
มาดูกัน! สคบ.เอาจริงหรือเป็นเพียงแค่เสือกระดาษแก้ปมปัญหา 'ผู้เช่า-เจ้าของหอ'

มาดูกัน! สคบ.เอาจริงหรือเป็นเพียงแค่เสือกระดาษแก้ปมปัญหา 'ผู้เช่า-เจ้าของหอ'

วันอาทิตย์ ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561, 07.10 น.
Tag : ค่าน้ำ สคบ. ผู้เช่าหอ เจ้าของหอ หอพัก ค่าไฟ เสือกระดาษ
  •  

เมื่อไม่นานมานี้ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้นำเรื่องเข้าร่วมพิจารณา ในกรณีเจ้าของหอพักที่ได้เก็บเงิน "ค่าน้ำ - ค่าไฟ" เกินกว่าปกติ และได้มีประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้เช่าและเจ้าของที่พักอาศัย จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พ.ค. 2561 นี้เป็นต้นไป เพื่อแก้ปัญหาการใช้บริการเช่าที่พักอาศัย เนื่องจากมีการร้องเรียนว่าถูกผู้ประกอบการหอพักเก็บค่าน้ำค่าไฟแพง ซึ่งเป็นการเข้าข่ายเอาเปรียบผู้บริโภคหรือไม่ 

ทั้งนี้ ได้มีการประกาศราชกิจจาฯ ห้ามเก็บค่าเช่าล่วงหน้าเกิน 1 เดือน และห้ามเก็บค่าน้ำ ค่าไฟ เกินกำหนด และผู้ให้บริการต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการเช่า เช่น เขียนชื่อ ที่อยู่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่า กำหนดระยะเวลาในการเช่า อัตราค่าบริการต่าง ๆ ให้ชัดเจนอีกด้วย ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีโทษ จำคุกไม่กิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องยกเลิกสัญญาฉบับเก่าที่เคยทำไว้กับผู้เช่าทั้งหมด แล้วมาทำสัญญาใหม่ ภายใต้ข้อกำหนดใหม่ที่ประกาศไว้ในกฎหมาย 


เมื่อไม่นานมานี้ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้นำเรื่องเข้าร่วมพิจารณา ในกรณีเจ้าของหอพักที่ได้เก็บเงิน "ค่าน้ำ - ค่าไฟ" เกินไป ที่ปกติจะเก็บค่าไฟ 3-4 บาทต่อหน่วย ส่วนค่าน้ำประปา 8-11 บาทต่อลูกบาศก์เมตร แต่ทางเจ้าของหอกลับคิดแพงกว่า 

 

 

นอกจากนี้ ผู้เช่ายังมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า ก่อนที่จะสิ้นสุดสัญญาได้ โดยทำเป็นหนังสือบอกกล่าวให้รับทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน และผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินค่าเช่าล่วงหน้าเกินกว่า 1 เดือน แต่สามารถเรียกเก็บเงินประกันเกินกว่า 1 เดือนได้ และยังห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการ เรียกเก็บค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เกินกว่าอัตราที่มีการเรียกเก็บจากการไฟฟ้าและการประปา และผู้ให้เช่าสามารถเข้าตรวจสอบห้องของผู้เช่าได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอีกด้วย

น.ส.พัชรพรรณ โอภาสพินิจ ผู้เช่าหอพักย่านเตาปูน เปิดเผยกับ "ทีมข่าวแนวหน้าออนไลน์" ว่า ทางผู้ประกอบการยังไม่มีประกาศตามกฎหมายกำหนด ซึ่งเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เก็บค่าน้ำหน่วยล่ะ 18 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนค่าไฟ 7 บาทต่อหน่วย ถือว่ายังไม่มีประกาศออกมา ตนจะรอดูเดือนพ.ค.นี้ เพราะกฎหมายจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.นี้ หากสิ้นเดือนนี้ยังไม่มีประกาศใดๆ จากผู้ประกอบการหอพักที่ตนเช่าอยู่ ตนก็จะเข้าไปคุยกับเขาก่อน และถามว่าทำไมถึงยังไม่ทำตามกฎหมาย และไม่ปรับเปลี่ยนให้ถูกต้อง และถ้าเขายังไม่ปรับเปลี่ยนอีกก็จะโทรศัพท์ไปปรึกษา สคบ.ดูว่าควรจะทำอย่างไร 

"ต้องดูว่า สคบ.จะทำอะไรได้บ้าง หากไม่ทำอะไรเลย รับแต่เรื่องร้องเรียนอย่างเดียว แล้วจะออกกฎหมายมาทำไม หรือออกมาเล่นๆ อย่างนั้น" น.ส.พัชรพรรณ กล่าว

น.ส.พัชรพรรณ เล้าต่ออีกว่า มีคนเริ่มออกมาร้องเรียน สคบ.แล้ว เกี่ยวกับค่าส่วนกลางที่เพิ่มขึ้น หลังจากผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนค่าน้ำ ค่าไฟ ลงอยู่ที่  3-4 บาทต่อหน่วย ค่าน้ำประปา 8-11 บาทต่อลูกบาศก์เมตร แต่กลับมาเพิ่มค่าส่วนกลาง และค่าอื่นๆ เพิ่มขึ้น ปกติค่าส่วนกลางเราจ่ายอยู่แล้วจะจ่ายเพิ่มทำไมอีก มันไม่เป็นธรรมต่อผู้เช่าอยู่ดี 

 

 

ส่วน น.ส.หน่อย (ขอสงวนชื่อ-นามสกุลจริง) อายุ 58 ปี ผู้เช่าหอพักย่านปากเกร็ด เปิดเผยว่า ทางหอพักมีประกาศลดค่าไฟจากเดิมคิด 7 บาทต่อหน่วย เหลือ 4 บาทต่อหน่วย ส่วนค่าน้ำเดิม 20 บาทต่อลูกบาศก์เมตร เหลือ 18 บาทต่อลูกบาศก์เมตร แต่มาคิดค่าหม้อแปลงเพิ่มกว่า 100 บาท และค่าจอดรถ 300 บาทต่อคัน ถ้าจอดประจำ 600 บาทต่อคัน โดยผู้ประกอบการหอพักจะเรียกทำสัญญาใหม่เร็วๆ นี้ และแว่วมาว่าจะปรับค่าห้องเพิ่มขึ้นด้วย ห้องล่ะ 500 บาท ซึ่งจากเดิมตนเช่าห้องราคา 4500 เพิ่มขึ้นมาเป็น 5000 บาท รู้สึกต้องใจกับสิ่งที่ต้องจ่ายเพิ่ม แต่คงต้องทน เพราะไม่อยากย้ายไปที่อื่น 

"เขายอมลดค่าน้ำ ค่าไฟ ก็จริง แต่ไม่คุ้มเลยกับสิ่งที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสิทธิต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นมันคือสิทธิที่ผู้เช่าควรได้รับ อยู่ๆ มาขึ้นแบบนี้มันไม่เป็นธรรมต่อผู้เช่า ที่จริงกฎหมายที่ออกมาควรจะมาแก้ปัญหาให้กับผู้เช่า ไม่ใช่มาเพิ่มภาระแบบนี้" 

ด้าน นายเอ (ขอสงวนชื่อ-นามสกุลจริง) ผู้ประกอบการย่านลาดพร้าว-รามคำแหง กล่าวว่า เราก็ต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดมา โดยให้คิดค่าน้ำ ค่าไฟ ตามหน่วยจริง และให้ระบุไปว่าค่าส่วนกลางเท่าใดบ้าง ถ้ามองแบบนี้ปกติเราจะเอาค่าส่วนกลางไปเฉลี่ยต่อหน่วย แล้วรวมเป็นจำนวนเท่าใด ส่วนค่าไฟฟ้านั้นจากเดิมตนคิดหน่วยละ 8 บาท ลดลงมาที่หน่วยละ 5 บาท แต่เราไปบวกค่าส่วนกลางแทน ผลที่ออกมาคือ คนที่ใช้ค่าน้ำ ค่าไฟ แบบประหยัด ซึ่งผลที่ตามมาเขาจะต้องไปจ่ายค่าส่วนกลางจากหน่วยที่หารออกมาแล้วทุกเดือน ปรากฏว่ามากกว่าค่าน้ำ ค่าไฟเสียอีก 

"คนที่ออกกฎหมายไม่เคยมาถามผู้ประกอบการ คิดจะออกก็ออกเขาไม่ได้เป็นคนประกอบกิจการ เพราะการทำธุรกิจก็จะต้องมีต้นต้นเป็นเดิมอยู่แล้ว ในเมื่อมากำหนดให้เราทำกฎหมาย ผลที่ออกมาก็เป็นแบบนี้ ถามว่าเป็นธรรมหรือไม่ ก็ต้องอยู่ที่คนมอง หากคนที่ใช้หน่วยค่าน้ำ ค่าไฟ จำนวนมากก็คุ้ม แต่คนที่ใช้น้อยก็ต้องยอมรับ เพราะว่าผู้ประกอบการไม่มีใครค้าขายแล้วจะขายทุน เพราะหากขายของขาดทุนคงไม่มีใครทำ" นายเอ กล่าว

 

 

นายเอ กล่าวต่ออีกว่า พอกฎหมายออกมาผู้ประกอบการปรับตัวให้ตัวเองอยู่รอด ค่าน้ำ ค่าไฟ เราปรับให้เป็นราคาจริงอยู่แล้ว แต่สิ่งที่รับไม่ได้เลย คือ  ห้ามเก็บค่าเช่าล่วงหน้าเกิน 1 เดือน ซึ่งมีปัญหามากสำหรับผู้ประกอบการ เนื่องจากคนออกกฎหมายไม่เคยออกมาสำรวจเลยว่า ผู้เช่าทำความเสียหายไว้กับห้อง และบางรายทิ้งห้องไปจำนวนมาก ทั้งนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวบอกให้ไปฟ้องเอาเอง หากผู้เช่ากระทำเช่นนี้ มันเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ออกกฎหมายมาเพื่อสร้างปัญหา เพราะเราระบุอยู่แล้วว่าหากผู้เช่าออกเราจะต้องคืนเงินให้เขา ถ้าไม่คืนเราจะผิดกฎหมายทันที แต่มีบางหอพักที่ไม่เก็บค่าเช่าล่วงหน้า เพราะพื้นที่เหล่านั้นมีการแข่งขันสูง ซึ่งเขารับความเสี่ยงได้ 

"ห้องเช่าผมราคา 2,000 บาท เก็บเงินประกันห้องแค่ 3,000 บาท แต่ตอนนี้ผมปรับขึ้นเป็น 5,000 บาท โดยคิดเป็นค่าห้องล่วงหน้า 2,000 บาท เก็บค่าประกันห้องล่วงหน้า 2,000 บาท ค่าน้ำค่าไฟล่างหน้า 1,000 บาท สำหรับคนเช่าเดิมผมก็ใช้สัญญาเดิมต่อไป ส่วนผู้เช่ารายใหม่ก็ต้องทำสัญญาใหม่ตามที่กฎหมายกำหนดมา ผมเห็นว่าสคบ.มาเข้มงวดกับผู้ประกอบการมากเกินไป" ผู้ประกอบการห้องพักให้เช่า กล่าว 

นายเอ กล่าวต่ออีกว่า เรื่องเงินประกันเป็นปัญหาที่สุดของผู้ประกอบการ สคบ.จะต้องไปปรับแก้กฎหมายข้อนี้ ตนอ่านหมดทุกข้อแล้ว เห็นว่าสคบ.ออกกฎหมาย เพื่อเอาใจผู้บริโภคหลายข้อ หลายเรื่อง เมื่อ10-20ปี ที่ผ่านมา เขาก็เก็บค่าห้องล่วงหน้ากันแบบนี้ 
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘ดุสิตโพล’เผยคนไทยกังวลค่าครองชีพ-ปัญหาเศรษฐกิจ อึ้งมีเงินสำรองฉุกเฉินต่ำกว่า 1 เดือน

ฝนถล่มไม่กระทบ‘เลือกตั้งเทศบาล68’ กกต.เร่งสอบซื้อเสียง‘กาฬสินธุ์’หัวละ 3 พันบาท

‘รพ.ราชทัณฑ์’ร่อนหนังสือแจง ยังไม่ได้ฟ้องศาลเพิกถอนมติ‘แพทยสภา’

ตกใจเจอตำรวจ! กลุ่มวัยรุ่นขี่จยย.กลับรถกระทันหัน กระบะทางตรงพุ่งชนซ้ำดับ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved