วันเสาร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สดร.แนะเทคนิคถ่ายภาพ'ดวงจันทร์สีแดงอิฐ' จันทรุปราคาเต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี

สดร.แนะเทคนิคถ่ายภาพ'ดวงจันทร์สีแดงอิฐ' จันทรุปราคาเต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี

วันจันทร์ ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561, 12.58 น.
Tag : สดร. เทคนิคถ่ายภาพ ดวงจันทร์สีแดงอิฐ จันทรุปราคาเต็มดวงไกลโลก
  •  

23 ก.ค.61 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยเทคนิคถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวง ยาวนานที่สุดในรอบศตวรรษ หลังเที่ยงคืน 27 กรกฎาคม 2561 แนะคุมความเร็วชัตเตอร์เหมาะสม ปรับรูรับแสงกว้าง ใช้ขาตั้งกล้อง เหตุความสว่างของดวงจันทร์ลดลงมาก พร้อมเชิญชวนส่งภาพถ่ายร่วมประกวด หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์”ก่อนหมดเขตส่งผลงาน 3 สิงหาคม 2561 ชิงรางวัลรวม 160,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า หลังเที่ยงคืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ 2 ของปี 2561 ความน่าสนใจของปรากฏการณ์ครั้งนี้คือ เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่มีคราสเต็มดวงยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 เริ่มตั้งแต่เวลา 02.30 - 04.13 น. (ตามเวลาประเทศไทย) รวมเวลาถึง 1 ชั่วโมง 43 นาที และยังตรงกับช่วงดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่าง 406,086 กิโลเมตร


นอกจากนี้ คืนดังกล่าวดาวอังคารยังอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ จึงเป็นโอกาสพิเศษที่ผู้ชื่นชอบถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าจะสามารถบันทึกภาพ “ดาวอังคารสีแดง เคียงดวงจันทร์สีแดง” รวมทั้งถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวง ณ ตำแหน่งดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปี เปรียบเทียบกับจันทรุปราคาเต็มดวง ณ ตำแหน่งดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 ก็จะได้ภาพเปรียบเทียบ Super Full Moon กับ Micro Moon เป็นภาพดวงจันทร์เต็มดวงสีแดงอิฐที่สวยงาม แตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมา

“เทคนิคการถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวง คล้ายกับการถ่ายภาพดวงจันทร์เต็มดวงทั่วไป แต่ต่างกันที่ช่วงที่เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ความสว่างของดวงจันทร์จะลดลงมาก จึงต้องควบคุมความเร็วชัตเตอร์ และเร่งความไวแสงของกล้องถ่ายภาพให้เหมาะสมที่สุด ปรับรูรับแสงให้กว้าง ไม่ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำเกินไปเพื่อกันภาพสั่นไหวหรือไม่ทำให้ภาพดวงจันทร์เบลอ ใช้ขาตั้งกล้องที่มั่นคง และเลือกโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง นอกจากนี้ หากใช้เลนส์เทเลโฟโตจะสามารถเก็บรายละเอียดพื้นผิวดวงจันทร์อย่างชัดเจน” นายศุภฤกษ์ กล่าว

ในคืนดังกล่าว สามารถถ่ายภาพปรากฏการณ์ได้ตั้งแต่เริ่มเกิดจันทรุปราคาเงามัว ในเวลา 00.14 น. ก่อนจะเกิดจันทรุปราคาบางส่วนและจันทรุปราคาเต็มดวง ในเวลา 02.30 – 04.13 น. จนกระทั่งสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 05.19 น. หลังจากนั้นดวงจันทร์ตกลับขอบฟ้า จะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ตำแหน่งต่ำกว่าขอบฟ้า

“การถ่ายภาพปรากฏการณ์จันทรุปราคาสามารถสร้างสรรค์ได้หลากหลายแนวคิด ไม่จำกัดเฉพาะถ่ายปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบเต็มดวงเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถถ่ายภาพแบบเปรียบเทียบดวงจันทร์ขณะเกิดปรากฏการณ์กับขนาดวัตถุบนโลก ส่วนผู้ที่ใช้เลนส์กำลังขยายต่ำก็อาจถ่ายเป็นชุดปรากฏการณ์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ถ่ายภาพในพื้นที่ไร้แสงไฟรบกวนอาจถ่ายปรากฏการณ์จันทรุปราคากับใจกลางทางช้างเผือกได้อีกด้วย” นายศุภฤกษ์ กล่าว

นายศุภฤกษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า เชิญชวนส่งผลงานภาพร่วมประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ประจำปี 2561 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์”ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2561 ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 160,000 บาท และโล่เกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ www.NARIT.or.th สอบถามเพิ่มเติมโทร. 053-121268-9 ต่อ 305

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • นักวิชาการ สดร.ชี้\'โลกหมุนช้าลง-ดวงจันทร์กำลังถอยห่างอย่างช้าๆ\' นักวิชาการ สดร.ชี้'โลกหมุนช้าลง-ดวงจันทร์กำลังถอยห่างอย่างช้าๆ'
  • เผยจุดบนดวงอาทิตย์ขนาดใหญ่ AR3664 ต้นกำเนิดพายุสุริยะที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี เผยจุดบนดวงอาทิตย์ขนาดใหญ่ AR3664 ต้นกำเนิดพายุสุริยะที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี
  • เปิดภาพดูกันชัดๆวินาที\'ไร้เงา\'ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก กทม.ครั้งแรกของปี เปิดภาพดูกันชัดๆวินาที'ไร้เงา'ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก กทม.ครั้งแรกของปี
  • เปิดไทม์ไลน์ ‘ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก’ ประเทศไทยไร้เงา 2 ครั้งในปี 2567 เปิดไทม์ไลน์ ‘ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก’ ประเทศไทยไร้เงา 2 ครั้งในปี 2567
  •  

Breaking News

วงจรปิดจับภาพรถเก๋งสีดำปริศนา! เสียงอาก้าลั่น 2 ชุด ดับหนุ่ม 29 ปีกลางเมืองสงขลา

'สนธิรัตน์'เตือน! ประเทศขาดถ่วงดุล-ปชช.อ่อนแอ หวั่นไทยจมกับดักเศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง

(คลิป) สงครามน้ำลาย! เริ่มได้! แก๊งนางแบก ปะทะ แก๊งสาบ'ชินวัตร'

'อเล็กซ์ อัลบอน'นักขับF1ดีใจพบ'นายกฯอิ๊งค์' โพสต์ขอบคุณที่สละเวลามาหา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved