วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
เปิดประวัติ ‘สะพานธนะรัชต์’ หลังพบระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่2

เปิดประวัติ ‘สะพานธนะรัชต์’ หลังพบระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่2

วันศุกร์ ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561, 14.17 น.
Tag : ระเบิด เปิดประวัติ สงครามโลกครั้งที่2 สะพานธนะรัชต์
  •  

จากเหตุการณ์ตรวจพบว่า มีระเบิด 3 ลูก พร้อมกับหัวรถจักรที่ถูกทิ้งไว้ ตั้งแต่สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 บริเวณ “สะพานธนะรัชต์” จ.ราชบุรี  ทำให้หลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างมากแต่ก่อนที่จะมีการเก็บกู้ระเบิด ลองไปดูก่อนว่าประวัติและความเป็นมาของสะพานธนะรัชต์นั้นเป็นอย่างไรบ้าง ตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน  ก่อนอื่นเลยสะพานดังกล่าวสร้างขึ้น เมื่อปี 2503 หลังจากเกิดไฟไหม้เมืองราชบุรี ซึ่งบริเวณดังกล่าวนั้นเกิดเหตุไฟไหม้ใหญ่ด้วยกันถึง 2 ครั้ง คือ พ.ศ.2499 และพ.ศ.2503

ภายหลังเหตุการณ์ไฟไหม้ เมื่อปี 2503 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มาตรวจเยี่ยมหลังเกิดเหตุแล้ว จึงได้มีคำสั่งให้สร้างสะพานธนะรัชต์ขึ้น เนื่องจากตอนที่เกิดเหตุไฟไหม้ รถดับเพลิงเข้าไปยังพื้นที่ได้ลำบาก และรถดับเพลิงจากพื้นที่ใกล้เคียงไม่สามารถเข้าดับไฟได้ทันที รวมถึงเรือดับเพลิงซึ่งลอยลำเรืออยู่ริมแม่น้ำแม่กลองก็ไกลจากที่เกิดเหตุมากนัก จึงมีคำสั่งให้สร้างสะพานธนะรัชต์ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองคู่ขนานกับสะพานรถไฟหรือสะพานจุฬาลงกรณ์ โดยใช้ชื่อสะพานจากนามสกุลของท่าน “สะพานธนะรัชต์ ราชบุรี” และนี่คือประวัติและที่มาของสะพานธนะรัชต์ 


 

 

เมื่อทราบข่าว “นายชยาวุธ จันทร” ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้ลงนามในประกาศจังหวัดราชบุรี เรื่อง แจ้งเตือนบุคคลหรือกลุ่มหรือกลุ่มบุคคลมิให้เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดสาธารณภัย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในพื้นที่บริเวณแม่น้ำแม่กลอง ใต้สะพานจุฬาลงกรณ์และสะพานธนรัชต์ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

โดยในคำสั่งดังกล่าวได้ระบุว่า ด้วยจังหวัดราชบุรี ได้รับแจ้งว่ามีการตรวจพบวัตถุระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 3 ลูก ขนาดประมาณลูกละ 1,000 ปอนด์ หรือประมาณลูกละ 500 กิโลกรัม จมอยู่ใต้แม่น้ำแม่กลองบริเวณสะพานจุฬาลงกรณ์และสะพานธนรัชต์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นจุดบริเวณที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วง นครปฐม – หัวหิน และสื่อมวลชนได้เผยแพร่ข่าวจนทำให้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลให้ความสนใจเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว

เนื่องจากวัตถุระเบิดดังกล่าว เป็นวัตถุที่มีอันตรายโดยสภาพอย่างร้ายแรง ซึ่งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง เข้าไปในพื้นที่เสี่ยง อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยอันส่งผลกระทบต่อสาธารณชนเป็นวงกว้าง เพื่อเป็นการป้องกันสาธารณภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ จังหวัดราชบุรีจึงแจ้งเตือนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมิให้เข้าไปทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อพื้นดินใต้แม่น้ำแม่กลอง บริเวณที่คาดว่ามีระเบิด เช่น ดำน้ำ ทอดแห ลาดอวน ตกปลา ฯลฯ ในแม่น้ำแม่กลองบริเวณใต้สะพานจุฬาลงกรณ์และสะพานธนรัชต์ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ภายในระยะ 200 เมตร จากตอหม้อสะพานทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก อนึ่ง ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปทำกิจกรรมในพื้นที่ดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีก่อนเท่านั้น โดยคำสั่งนี้มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

 

 

ทั้งนี้ นายอยู่ กลั่นเกตุ อายุ 99 ปี (อดีตคนตรวจค่ายญี่ปุ่น) ซึ่งในอดีตค่ายตั้งอยู่ใกล้บริเวณสะพานจุฬาลงกรณ์ ที่กำลังมีการกู้หัวรถจักรและระเบิดที่ถูกทิ้งตั้งแต่สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นคนไทยในยุคสงครามโลกคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่และยังสามารถเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ โดยปัจจุบันนายอยู่ ยังอาศัยอยู่ใน จ.ราชบุรี  เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นชาวราชบุรีโดยกำเนิดอาศัยอยู่ในบ้านที่ได้รับสืบทอดมาจากคุณปู่มีอายุกว่า 300 ปี ปัจจุบันตนอยู่กับภรรยาและหลานๆ ส่วนลูกทั้ง 7 คน เสียชีวิตหมดแล้ว

เหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนที่ทหารญี่ปุ่นได้มาตั้งค่ายตั้งแต่ปี 2485 โดยใช้พื้นที่ของวัดเกาะนัมมทาปทวลัญชาราม ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี และพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ทอดข้ามลำน้ำแม่กลอง ที่จะออกสู่กรุงเทพฯ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯให้มีกิจการรถไฟ เฉพาะสำหรับสายใต้ได้เชื่อมถนนรถไฟ จากสถานีรถไฟบางกอกน้อยไปถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ทรงโปรดฯให้มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองสำหรับทั้ง รถยนต์และรถไฟ และทรงเสด็จเปิดพร้อมพระราชทานนามว่า "สะพานจุฬาลงกรณ์" เมื่อปี พ.ศ.2444 การคมนาคมขนส่ง จากกรุงเทพฯ มาราชบุรี สู่ภาคใต้จึงสะดวกมากยิ่งๆขึ้น

 

 

ขณะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แถบเอเชียก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เช้าวันที่ 8 ธ.ค.2484 กองทัพญี่ปุ่นอันเป็นฝ่ายอักษะ ได้ยกพลขึ้นบกที่ฝั่งทะเล จ.นครศรีธรรมราช เพื่อใช้ไทยเป็นทางผ่าน เข้ายึดประเทศพม่า ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ฝ่ายสัมพันธมิตร ศัตรูของญี่ปุ่น โดยที่กองทัพญี่ปุ่นได้เคลื่อนพลจากนครศรีธรรมราช ผ่านสุราษฎร์ธานี-ชุมพร-ประจวบคีรีขันธ์-เพชรบุรี-ราชบุรี สู่กาญจนบุรี ซึ่งที่กาญจนบุรี กองทัพญี่ปุ่นต้องเกณฑ์เชลยศึกมาสร้างสะพาน เพื่อยกพลทางรถไฟเข้าสู่พม่า เกิดตำนาน"สะพานข้ามแม่น้ำแคว" มีเชลยศึกล้มตายจำนวนมาก

คุณปู่อยู่ เล่าให้ฟังต่อว่า เหตุการณ์ในขณะที่กองทัพญี่ปุ่นผ่านที่จ.ราชบุรี ได้นำกำลังส่วนหนึ่งมาตั้งค่ายอยู่ที่นี่ ตนเองในตอนนั้นอายุประมาณ 22 ปี ทำหน้าที่คอยโบกธงตรวจตราเรือของทหารญี่ปุ่นที่เดินทางมายังค่ายบริเวณท่าน้ำหัวเกาะวัดเกาะนัมมทาปทวลัญชาราม และยังทำหน้าที่คอยเดินตรวจตราค่ายของทหารญี่ปุ่นเพื่อให้เกิดความสงบสุขสามารถอยู่กันได้ โดยที่บ้านของตนเองจะเป็นสถานที่เก็บเหล้าที่ทหารญี่ปุ่นบรรทุกมากับเรือ ซึ่งทำอยู่ราว 3 ปี ก่อนที่ทางการจะแต่งตั้งให้ตนเองเป็นไทยเสรี เพื่อทำหน้าที่ดูกองทัพญี่ปุ่น

หลังจากที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิด 3 ครั้ง แบบระเบิดตั้งเวลาทำให้สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ฝั่งตัวเมืองราชบุรีขาดได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้สัญจรได้ ส่งผลให้กองทัพญี่ปุ่นไม่สามารถซ่อมแซมสะพานจุฬาลงกรณ์กลับได้ทันเวลา จึงเลือกที่สร้างทางรถไฟใหม่ ทางด้านเหนือน้ำ (แนวสะพานธนะรัชต์ปัจจุบัน) โดยระดมไม้เสา ไม้ซุง ต่างๆ มาปักทำเป็นตอม่อชั่วคราว

 

 

กลยุทธที่ทำสะพาน คือ ทหารญี่ปุ่นให้ทางชาวไทยไปหาท่อนซุงหรือ ต้นไม้มาทำเสาตอหม้อ โดยชาวไทยได้นำไม้นิ้ว หรือไม่นุ่น ขนาดใหญ่มาให้ทางญี่ปุ่น ซึ่งเห็นว่าเป็นไม้ท่อนใหญ่จึงให้นำไปเสาตอหม้อสะพาน โดนไม้นิ้ว หรือไม้นุ่น เป็นไม้ที่เปาะและหักโค่นง่าย ส่วนที่พื้นสะพานและราวสะพานทางญี่ปุ่นได้เลือกใช้ไม้สักทองเพราะคิดว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง จนสามารถสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลงอได้สำเร็จเรียบร้อย ญี่ปุ่นจึงนำหัวรถจักรของ รฟท. มาลองวิ่งทดสอบดู เริ่มต้นตั้งแต่หัวสะพานฝั่งด้านเมืองราชบุรี ขาล่องใต้ วิ่งข้ามไปยังฝั่งค่ายบูรฉัตร ขาเข้ากรุงเทพฯ การวิ่งบนสะพานรถไฟชั่วคราวผ่านไปได้ด้วยดี จากนั้นได้ทดลองวิ่งถอยหลังกลับมาทางฝั่งเมืองราชบุรี ปรากฏว่า ตอม่อชั่วคราวไม่สามารถทานน้ำหนักได้เนื่องจากเป็นไม้ที่เบาะหักง่าย สะพานจึงหัก ส่งผลให้หัวรถจักรที่นำมาทดลองวิ่งจมลงสู่ใต้น้ำบริเวณใต้สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ ที่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบัน

ทำให้ทหารญี่ปุ่นไม่สามารถใช้เส้นทางสู่ทางภาคใต้ ส่วนผู้นำทัพทหารญี่ปุ่นไม่สามารถดูแลกองกำลังผลและปฏิบัติภารกิจไม่ทำเสร็จ จึงได้จบชีวิตตนเองต่อหน้ากำลังพลด้วยการใช้มีดคว้านท้อง ส่วนศพได้ทำการฝังที่บริเวณวัดเกาะนัมมทาปทวลัญชาราม และที่หน้าวัดศรีชมพูราชศรัทธาราม ถนนมนตรีสุริยวงศ์ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ในปัจจุบัน

ลูกระเบิดที่ทางฝ่ายสัมพันธมิตรได้นำมาทิ้งเพื่อระเบิดสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์นั้นตนจำได้ว่า ลูกระเบิด ขนาด 1,000 ปอนด์ หลงเหลือจำนวน 3 ลูกที่อยู่ในแม่น้ำแม่กลอง บริเวณใกล้เคียงกับหัวรถจักรที่จมอยู่ใต้แม่น้ำแม่กลองและไม่มีการระเบิดมาจนถึงปัจจุบันก็ราวกว่า 73 ปีแล้ว หลังจากที่ค่ายญี่ปุ่นแตกตนก็กลับมาใช้ชีวิตตามปกติและก็ยังคงเป็นไทยเสรี ซึ่งก็ได้ไม้สักทองที่ได้จากการก่อสร้างสะพานรถไฟที่พังทลายลงจำนวน 7 ชิ้น และได้นำมาแปลรูปเป็นไม้เท้าแขนผนังบ้านกับหลังคาที่ด้านหน้าของตัวบ้านหลังดังกล่าว และยังคงจำภาพและเรื่องราวในเหตุการณ์ครั้งนั้น หรือ สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เป็นอย่างดีไม่มีวันลืมเรือนแม้จะอายุยาวนานมาจนถึงวันนี้ 99 ปี

 

 

พล.ท.จักรชัย โมกขะสมิต เจ้ากรมการทหารช่าง กองทัพบก ได้เปิดเผยว่า จะมีการหารือรายละเอียดร่วมกันในวันที่ 10 ก.ย.61 เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินการตามขั้นตอนและแผนงานว่าหน่วยไหนจะทำอะไร และอย่างไรบ้าง ซึ่งคาดว่าจะให้กรมสรรพาวุธทหารเรือเป็นผู้ปฏิบัติทำการเก็บกู้ เพราะทหารเรือจะมีความชำนาญใต้น้ำมากที่สุด

"ระเบิดทั้งหมดทางเจ้าหน้าที่ทราบมานานแล้วว่าจุดไหนมีระเบิดบ้าง โดยเป็นระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  แต่ยังไม่ได้ดำเนินการเก็บกู้ อีกทั้งปัจจุบันน้ำในแม่น้ำมีจำนวนมากขึ้น เราต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ จึงต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้ถูกต้องและเป็นไปตามแผนงาน คาดว่าในวันที่ 10 ก.ย.61 จะมีความชัดเจนมากขึ้นว่าใครจะรับผิดชอบเรื่องไหนและอย่างไรบ้าง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีเป็นประธานการประชุม ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เป็นเจ้าของเรื่อง” พล.ท.จักรชัย กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สื่อดังญี่ปุ่นส่งทีมบุกถ่ายทำอุโมงค์ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ค้นพบในพื้นที่สังขละบุรี สื่อดังญี่ปุ่นส่งทีมบุกถ่ายทำอุโมงค์ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ค้นพบในพื้นที่สังขละบุรี
  • เครื่องบินเกี่ยวสายไฟฟ้าระเบิดก่อนตก นักบินดับ1ศพ เผยเพิ่งไปทำภารกิจดับไฟป่า เครื่องบินเกี่ยวสายไฟฟ้าระเบิดก่อนตก นักบินดับ1ศพ เผยเพิ่งไปทำภารกิจดับไฟป่า
  •  

Breaking News

(คลิป) 'จตุพร'เปลือยนิสัย'ทักษิณ' เล่าหมดเปลือกแผนหนี'ตระกูลชินวัตร'หากบอก ไม่หนี คือ หนี !!

มาทีมแรก!เพเซอร์สทุบแคฟส์คารังลิ่วชิงแชมป์สายNBA

ดับฝันขาโจ๋!!! 'พิชัย'รับทบทวนเงินหมื่นเฟส 3 เซ่นพิษภาษีทรัมป์

ตำรวจเตรียมนำตัว 'สจ.กอล์ฟ' พร้อมลูกน้องรวม 7 คนฝากขังต่อศาลจังหวัดสงขลา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved