ตั้งแต่ช่วงเวลา 08.00 น. (1 ต.ค.) องค์การสวนสัตว์ได้ทำการเคลื่อนย้ายสัตว์ที่สวนสัตว์ดุสิตล็อตแรกไปยังสวนสัตว์ขอนแก่น เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 3 ชนิด ประกอบด้วย เสือโคร่งขาว เพศเมีย 1 ตัว, ค่างหงอกตะนาวศรี เพศเมีย 2 ตัว, นาค เพศผู้ 2 ตัว เพศเมีย 4 ตัว ซึ่งออกเดินทางจากสวนสัตว์ดุสิตเมื่อช่วงเวลา 08.00 น.คาดว่าจะถึงสวนสัตว์ขอนแก่น ในช่วงเย็นวันเดียวกันนี้
ทั้งนี้ นายพิทักษ์ อุ่นซ้อน ผู้อำนวยการสวนสัตว์ดุสิต องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า วันนี้ทางองค์การสวนสัตว์ได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายสัตว์ หรือการจับบังคับสัตว์จำนวน 1,088 ตัว 179 ชนิดตามแผนที่ได้กำหนดไว้แล้ว โดยเริ่มวันนี้ (1ต.ค.) เป็นล็อตแรกตั้งแต่เช้ามืดไปยังสวนสัตว์ขอนแก่นคาดว่าจะถึงสวนสัตว์ขอนแก่น ในช่วงเย็นวันนี้
สำหรับล็อตที่ 2 จะเคลื่อนย้ายอีกครั้งระหว่างวันที่ 5-6 ต.ค.นี้ไปยังสวนสัตว์นครราชสีมา ประเภทสัตว์เลื้อยคลาน จำพวก งูเห่า งูสิง งูหลาม อนาคอน ด้า เต่าจมูกหมู เต่าคอยาว เต่าปาปัวกินี ส่วนสัตว์ป่าคุ้มครองที่เหลือ จะทยอยเคลื่อนย้ายตามลำดับ ไปยังสวนสัตว์ทั้ง 6 แห่งทั่วประเทศ คือสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี,สวนสัตว์เชียงใหม่ สงขลา นครราชสีมา อุบลราชธานี และขอนแก่น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละสวนสัตว์ ยังไม่สามารถบอกได้อย่างละเอียดไปมากกว่านี้
"สำหรับแผนการเคลื่อนย้ายกว้างๆ ที่วางไว้ก่อนหน้านี้ยังคงเดิมจะเริ่มต้นจากสัตว์ที่ขนย้ายจากง่ายสุดไปยากสุด เริ่มจากลำดับที่ 1 ประเภทสัตว์ปีก ลำดับที่ 2 ประเภทสัตว์เลื้อยคลาน ลำดับที่ 3 ประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดย ฮิปโปโปเตมัส, ยีราฟ, เก้ง ,กว้าง ,ค่าง5สี ,ชะนี ,ม้าแคะ ย้ายไปอยู่ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชุลบุรี, ช้าง ย้ายไปที่คชอาณาจักร จ.สุรินทร์, งู,ลิง ย้ายไปอยู่ที่สวนสัตว์นครราชสีมา, นกเหงือก ย้ายไปอยู่ที่สวนสัตว์สงขลา, ตระกูลสัตว์ปีก นกประเภทต่างๆ รวมถึงนกฟลามิงโก ย้ายไปที่สวนสัตว์อุบลราชธานี และ ตระกูลหมี หมีโคล่า ย้ายไปที่สวนสัตว์เชียงใหม่" นายพิทักษ์ กล่าว
นายพิทักษ์ กล่าวอีกว่า ส่วนสัตว์ใหญ่ เช่นช้าง 1 เชือกจะเคลื่อนย้ายไปยังโครงการคชอาณาจักร จ.สุรินทร์ ลำดับท้ายๆ สำหรับแม่มะลิ ฮิปโปโปเตมัส เพศเมีย อายุ 52 ปี และ ยีราฟ 2 ตัว เพศผู้และเพศเมีย จะถูกเคลื่อนย้ายล็อตสุดท้าย ราวๆ 2 เดือนข้างหน้าเนื่องจากเป็นสัตว์ใหญ่และมีน้ำหนักมาก จึงต้องใช้ความระมัด ระวังมาก ซึ่งแผนเคลื่อนย้ายแม่มะลิต้องใช้เทคนิคพิเศษ ค่อยๆ เปลี่ยนจุดการให้อาหารจนให้ใกล้ปากทางออกมากที่สุด คาดว่าต้องใช้เวลานับเดือน หลัง จากนั้นจึงจะเคลื่อนย้ายไปยังสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี ต้องใช้รถเครนยกกล่องหรือกรงที่บรรจุแม่มะลิขึ้นรถเทรลเลอร์ เนื่องจากมีน้ำหนักตัวถึง 3 ตัน ระหว่างเคลื่อนย้ายต้องฉีดน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา กรงได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ บุยางกันลื่น มีช่องฉีดสเปรย์พ่นน้ำให้แม่มะลิตลอดทาง หากผิวหนังแห้งอาจทำให้ไม่สบายตัวได้ ใช้เดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
ส่วนยีราฟ การเคลื่อนย้ายจะใช้เป็นรถชานต่ำ 50-60เซ็นติเมตร ลักษณะคล้ายรถขนอุปกรณ์ทางทหาร เนื่องจากยีราฟสูงถึง5.50 เมตร ขณะที่สัตว์ปีกบางชนิด เช่น นกฟลามิงโก ฝูงใหญ่ กว่า 40 ตัว ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพราะขายาว คอยาว บอบบาง ต้องใช้ผู้จับบังคับที่มีความเชี่ยวชาญ
**ภาพจากแฟ้มสวนสัตว์ดุสิต**
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี