วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รักตัวเองสักนิด! คุมอาหารออกกำลังกายห่างไกล'อ้วนลงพุง' เสี่ยงโรคหัวใจ-หลอดเลือด

รักตัวเองสักนิด! คุมอาหารออกกำลังกายห่างไกล'อ้วนลงพุง' เสี่ยงโรคหัวใจ-หลอดเลือด

วันพฤหัสบดี ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561, 12.01 น.
Tag : คุมอาหาร โรคหัวใจ-หลอดเลือด อ้วนลงพุง ออกกำลังกาย
  •  

29 พ.ย.61 สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์  เตือนชายรอบเอวเกินกว่า 36 นิ้ว / หญิงเกินกว่า 32 นิ้ว จัดเป็นโรคอ้วนลงพุง ปัจจัยเสี่ยงสำคัญนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดอันตรายถึงชีวิต แนะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดีห่างไกลจากการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า กลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก พบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเฉลี่ย  ชั่วโมงละ 2 คน โรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดจากภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งกระบวนการนี้จะเริ่มต้นและค่อยๆ เสื่อมจนทำให้เกิดอาการในระยะต่อมา หากพบว่าเป็นโรคดังกล่าวแล้วผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ตลอดชีวิต 


สาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คือโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย และภาวะน้ำหนักเกินจนเกิดโรคอ้วนลงพุง ดังนั้นเพื่อควบคุมป้องกันการเกิดโรค ประชาชนควรตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง โดยเริ่มต้นจากการควบคุมและการเลือกบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์และเหมาะสม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีห่างไกลจากการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

แพทย์หญิงวิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนลงพุง เป็น 1 ในสาเหตุที่สำคัญของโรคดังกล่าว เกิดจากการมีไขมันสะสมในช่องท้องหรืออวัยวะภายในช่องท้องมากเกินควร ส่งผลให้พุงยื่นออกมาอย่างชัดเจน  สามารถเกิดขึ้นได้ในเพศชายที่มีเส้นรอบเอวเกินกว่า 36 นิ้ว หรือ 90 ซม.และเพศหญิงที่มีเส้นรอบเอวเกินกว่า 32 นิ้ว หรือ 80 ซม. ร่วมกับการมีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 18.5 - 24.9 โดยสามารถคำนวณหาค่า ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)2  หากพบว่าร่างกายของตนเองมีภาวะเสี่ยงดังกล่าว อาจส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ 

ดังนั้น ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง สามารถทำได้ด้วยการลดน้ำหนัก โดยออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 วัน เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวและเส้นรอบเอว การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งยังช่วยลด ความอ้วน ช่วยในการควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูง 

นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคอื่นๆ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน อีกทั้งการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จึงควรเลือกบริโภคอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม เพื่อช่วยให้ห่างไกลจากโรคอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

เปิดสาเหตุ'แอร์อินเดีย'โหม่งโลก 'สวิตช์ควบคุมน้ำมัน'ถูกสับลง เสียงจากห้องนักบินเพิ่มเงื่อนงำ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved