วันอาทิตย์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
โรคลมชักในเด็กทุกข์ของ ‘พ่อ-แม่’ ปัจจุบันพบมากขึ้น-รักษาได้

โรคลมชักในเด็กทุกข์ของ ‘พ่อ-แม่’ ปัจจุบันพบมากขึ้น-รักษาได้

วันพฤหัสบดี ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 10.21 น.
ปัจจุบัน พ่อแม่ เด็ก โรคลมชัก รักษาได้
  • Tweet

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เผยโรคลมชักในเด็ก ปัจจุบันมีเด็กที่เป็นโรคนี้มากขึ้น และเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ให้ผู้ที่เป็นพ่อและแม่อย่างมากมาย แต่หากได้รับการตรวจรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม สามารถรักษาให้หายขาดได้

13 มิ.ย.62 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์  อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคลมชักเป็นโรคระบบประสาทเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ทั่วโลกอุบัติการณ์ในเด็กประมาณ 41-187 ต่อแสนประชากร พบอุบัติการณ์สูงในขวบปีแรกความชุกของโรคลมชักรวมทุกอายุประมาณ 4-10 ต่อ 1000 ประชากร พบมากโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยประมาณการผู้ป่วยโรคลมชัก 500,000 คนเป็นผู้ป่วยเด็กประมาณ 1 ใน 3โรคลมชักเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าที่มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการแสดงเป็นอาการชักหลายรูปแบบ สาเหตุของโรคลมชักในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุและมีความแตกต่างในแต่ละกลุ่มอายุ 

อาทิ พันธุกรรม สมองได้รับบาดเจ็บจากการขาดออกซิเจน เลือดออกในสมอง การติดเชื้อที่ระบบประสาท หรือ โครงสร้างเซลล์สมองที่ผิดปกติ เป็นต้น ความสำคัญของโรคลมชักคือ เป็นโรคที่มีผลกระทบรุนแรงด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ต่อผู้ป่วยและพ่อแม่ผู้ปกครอง เด็กที่มีอาการชักบ่อยอาจมีภาวะทางสติปัญญา พัฒนาการ หรือพฤติกรรมผิดปกติร่วมด้วยการรักษาโรคลมชักที่ถูกต้องเหมาะสมนอกจากทำให้เด็กหยุดชักแล้ว ยังทำให้สติปัญญา พัฒนาการ หรือ พฤติกรรมกลับมาดีขึ้นได้ด้วย ในด้านสังคม ครอบครัวมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนใหญ่สามารถเรียนหนังสือ และโตขึ้นใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ ผู้ป่วยโรคลมชักในเด็กประมาณร้อยละ 30 ของโรคลมชักเป็นกลุ่มรักษายาก สามารถปรึกษากุมารแพทย์ระบบประสาทเพื่อการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม และการรักษาที่ซับซ้อน เช่น การผ่าตัดโรคลมชัก การใช้ยากันชักใหม่ๆ อาหารคีโตน เป็นต้น

แพทย์หญิงไพรัตน์ แสงดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการชักในเด็กมีรูปแบบที่เฉพาะและแตกต่างจากผู้ใหญ่ เช่น อาการชักผวาเป็นชุดในทารก อาการชักผงกหัวตัวอ่อน อาการชักเหม่อสั้นๆในเด็ก เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการชักที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จัก ไม่ทราบว่าเป็นโรคลมชักจึงไม่ได้พาไปปรึกษาแพทย์ ทำให้การรักษาล่าช้า ทำให้เด็กที่มีอาการชักดังกล่าวอาจมีพัฒนาการช้า หรือ พัฒนาการถดถอยได้ การรักษาเร็วจะช่วยให้มีโอกาสหายและพัฒนาการดีขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ป่วยเด็กก็อาจมีอาการชักแบบอื่นที่เหมือนกับผู้ใหญ่ เช่น ชักเกร็งกระตุกตาค้างที่เรียกว่าลมบ้าหมู ชักแบบมีพฤติกรรมแปลกๆ เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยโรคลมชักที่สำคัญ คือ ประวัติรายละเอียดอาการชักที่พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กแจ้งกับแพทย์ ร่วมกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ดังนั้นหากพ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตเห็นบุตรหลานมีอาการชัก หรือ สงสัยพฤติกรรมที่ดูแปลกไปกว่าปกติที่เกิดซ้ำๆ ควรสอบถามรายละเอียดอาการจากผู้เห็นเหตุการณ์ หรือ ถ่ายคลิปวีดีโอขณะเด็กเกิดอาการ และพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป  สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเด็กเกิดอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวคือ

1.ผู้ปกครองต้องตั้งสติให้ดี  2. จัดท่าเด็กให้นอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก และถ้าเห็นเศษอาหารให้กวาดออกมาจากปากได้ 3.ห้ามเอาอุปกรณ์ใดๆ รวมทั้งมือเข้าไปง้างปากผู้ป่วย สิ่งนี้เป็นความเข้าใจผิดของคนทั่วไปว่ากลัวผู้ป่วยกัดลิ้นจึงงัดปาก ในความเป็นจริงแล้วการงัดหรือง้างปากเด็กอาจทำให้ฟันหักและตกลงไปอุดหลอดลม หายใจไม่ได้และเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจได้ ในขณะที่เด็กกัดลิ้นแต่ไม่มีอันตรายถึงชีวิตและรักษาได้ โดยทั่วไป อาการชักมักจะหยุดได้ภายใน 2-3 นาที ยกเว้นบางรายที่รุนแรงมากเกิน 5 นาที  และหลังจากหยุดชักแล้วให้รีบพาผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด  

ผู้ป่วยที่มีอาการชัก มีสโลแกนว่า “ไม่งัด ไม่ง้าง ไม่ถ่าง ไม่กด ไม่ทั้งหมด ชักหยุดได้เอง”

 

  • Tweet

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เกาะติด! รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก

‘ไทยตอนบน’อุณหภูมิลด 4-6 องศาฯ ‘อ่าวไทย’คลื่นลมแรง

'ชูวิทย์'ถามเปิดบ่อนเสรีดีจริงหรือ? เหน็บ'บิ๊กตู่'ทำคึกตั้งกก.สอบ สักพักเรื่องเงียบ

12ข้อกระจ่างชัด! 'หมอวรงค์'บุกขึ้นดอยพิสูจน์ความจริงปมดราม่า'บ้านแม่เกิบ'

'จอห์น วิญญู'โพสต์เศร้าความรักจบ! เจ็บแทบขาดใจ สำนึกเมื่อสายไป

พรุ่งนี้รวย! โค้งสุดท้ายเลขเด็ดหางประทัดไอ้ไข่ วัดศรีทรงธรรม งวดนี้จัดเต็ม เลข 2 ตัว 3 ตัว

  • Breaking News
08:00 น. Goodnews : ยิ้มกันวันอาทิตย์
07:55 น. ‘เพจคณะราษฎร’สวนเดือดหลัง‘รุ้ง’เท แฉทุกคนคือแกนนำแค่เรื่องหลอกลวง
07:43 น. เกาะติด! รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก
07:34 น. ‘เฮียบุ๊ง’เปิดเบื้องลึก‘มติม็อบ3นิ้ว’ก่อนเกิดเรื่อง เตือนต้องยึดกติกา
07:30 น. สกู๊ปพิเศษ : ‘ยานรก’สูตรใหม่ จากเสพแล้ว‘ติด’สู่เสพแล้ว‘ตาย’
ดูทั้งหมด
  • Breaking News
08:00 น. Goodnews : ยิ้มกันวันอาทิตย์
07:55 น. ‘เพจคณะราษฎร’สวนเดือดหลัง‘รุ้ง’เท แฉทุกคนคือแกนนำแค่เรื่องหลอกลวง
07:43 น. เกาะติด! รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก
07:34 น. ‘เฮียบุ๊ง’เปิดเบื้องลึก‘มติม็อบ3นิ้ว’ก่อนเกิดเรื่อง เตือนต้องยึดกติกา
07:30 น. สกู๊ปพิเศษ : ‘ยานรก’สูตรใหม่ จากเสพแล้ว‘ติด’สู่เสพแล้ว‘ตาย’
ดูทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านโดยพลัน! เมื่อลูกขอไปม็อบ...20 ข้อคำแนะนำพ่อแม่

อ่านโดยพลัน! เมื่อลูกขอไปม็อบ...20 ข้อคำแนะนำพ่อแม่

25 ต.ค. 2563

อ่านโดยพลัน! เมื่อลูกขอไปม็อบ...20 ข้อคำแนะนำพ่อแม่

ระวัง! แพทย์เตือน \'หลอดเลือดอักเสบ\' ในเด็ก อาจเสี่ยงติดโควิด-19

ระวัง! แพทย์เตือน 'หลอดเลือดอักเสบ' ในเด็ก อาจเสี่ยงติดโควิด-19

11 พ.ค. 2563

กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้ความมั่นใจกับผู้ปกครอง ไม่ต้องวิตกกังวลกับข่าวที่พบมีรายงานการเกิดโรคหลอดเลือดอักเสบ ที่เรียก

น่ารัก!  หนูน้อยชวนเพื่อนๆ อายุน้อยกว่า 5 ขวบให้อยู่บ้านป้องกันไวรัสโควิด-19

น่ารัก! หนูน้อยชวนเพื่อนๆ อายุน้อยกว่า 5 ขวบให้อยู่บ้านป้องกันไวรัสโควิด-19

26 มี.ค. 2563

26 มีนาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด.ญ.ขวัญตะวัน กีรติเสริมสิน น้องแซลมอน อายุ 5 ขวบ และ ด.ญ.ขวัญเดือน กีรติเสริมสิน น้องทูน่า อายุ 3 ขวบ 3 เดือน สองพี่น้อง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved