วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘ชุมชนนำ’โอบอุ้มเด็กและครอบครัว

‘ชุมชนนำ’โอบอุ้มเด็กและครอบครัว

วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : ชุมชนนำ เด็ก ครอบครัว กลุ่มเปราะบาง
  •  

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และภาคีเครือข่ายครอบครัวยิ้ม จัดเวทีเชิงนโยบาย “การขับเคลื่อนกลไกและนโยบายของระบบสนับสนุนเด็กและครอบครัวระดับพื้นที่แบบชุมชนนำ” เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2568 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเดอะ ระวีกัลยา แบงค็อก กรุงเทพฯ

น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว (สสส.) กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ปี 2567 จัดทำโดย สสส. และศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์) พบว่า เด็กและเยาวชน 7.8 ล้านคน อาศัยอยู่กับครอบครัวในภาคเกษตรที่มีรายได้ไม่แน่นอน และมีรายได้ไม่ถึง 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าเส้นความยากจน กระทบต่อการศึกษาและพัฒนาการของเด็ก


ครอบครัวจึงต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนในการเลี้ยงดูเด็กให้มีคุณภาพ รวมถึงกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและทักษะต่างๆ สสส. จึงร่วมกับ สคช. ภาคีเชิงยุทธศาสตร์ และเครือข่ายครอบครัวยิ้ม พัฒนาแนวทางห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ในพื้นที่รังสรรค์นวัตกรรมทางนโยบาย (Policy Sandbox) 3 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ลำปาง กาฬสินธุ์ และตรัง

ด้วยแนวคิด “ชุมชนนำ” เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างนิเวศรอบตัวเด็ก บูรณาการภารกิจหน่วยงานและกลไกสำคัญในระดับพื้นที่ ร่วมออกแบบห้องปฏิบัติการเชื่อมโยงนโยบายในมิติทางการศึกษา สุขภาพ และสวัสดิการทางสังคม รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย สนับสนุนให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและครอบครัว เฝ้าระวังความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและครอบครัว ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาวะของเด็กทุกช่วงวัย

นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน ผู้อำนวยการศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า ผลจากการขับเคลื่อนงานใน 3 พื้นที่นำร่องข้างต้น ใน จ.ลำปาง เกิดกระบวนการทำงานคุ้มครองเด็กระดับตำบลในระดับพื้นที่และจังหวัดอย่างไร้รอยต่อ โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นหน่วยงานหลักเชื่อมโยงการทำงาน

 ขณะที่ จ.ตรัง เกิดโมเดล Policy Sandbox ที่มุ่งพัฒนาแผนการทำงานด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ บูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น ภาคเอกชน และเครือข่ายอาสาสมัครในจังหวัด จ.กาฬสินธุ์ เกิดการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสหวิชาชีพในการขับเคลื่อนงานด้านเด็กและครอบครัวระดับจังหวัด พร้อมยกระดับเป็นพี่เลี้ยงต้นแบบ ขยายผลการดำเนินงานในระดับตำบล

น.ส.วรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการ สศช. กล่าวว่า สศช. เห็นความสำคัญในการสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ และพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการมีและลี้ยงดูบุตร ตอบโจทย์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565-2580) ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาประชากรไปสู่การ “เกิดดี อยู่ดี และแก่ดี”  โดยได้ขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการพัฒนาเด็กที่มีคุณภาพ ผลักดันนโยบายที่เป็นมิตรต่อครอบครัว พัฒนาระบบหนุนการวางนโยบายเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว และร่วมกับ สสส. สนับสนุนการพัฒนาครอบครัวและเด็กผ่านแนวคิดชุมชนนำ

นางนัฏญา วรชินา ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กล่าวว่า สค. พร้อมสนับสนุน สศช. และ สสส. ขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน ให้เป็นพื้นที่สำหรับครอบครัวมาใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน มีแนวทางการทำงาน 5 ด้าน 1.พัฒนาแนวทางการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) แบบชุมชนนำ โดยให้ชุมชนร่วมกำหนดทิศทางและกิจกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่

2.อบรมทีมวิทยากรด้านครอบครัวระดับจังหวัด ให้สามารถถ่ายทอดแนวคิดชุมชนนำ สนับสนุนการขับเคลื่อน ศพค. ได้อย่างต่อเนื่อง 3.สนับสนุนงบประมาณพัฒนาศักยภาพทีม ศพค. เพื่อให้ทีมวิทยากรที่ผ่านการอบรม เป็นพี่เลี้ยงร่วมพัฒนาแผนงานและกระบวนการเรียนรู้กับ ศพค. ที่สนใจเข้าร่วม 4.สนับสนุนงบประมาณเงินอุดหนุนแก่ ศพค. ที่มีความพร้อม เพื่อดำเนินกิจกรรมตามแนวทางชุมชนนำ และ 5.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของพื้นที่ และเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อยกระดับการทำงานอย่างยั่งยืน

น.ส.วราภา สยังกูล ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานบ้านพักเด็กและครอบครัว กองคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กล่าวว่า การทำงานของ ดย. ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะการทำงานกับเด็กเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบนิเวศรอบตัวเด็ก ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม ผ่านแนวทางที่เรียกว่า “การคุ้มครองเด็กเชิงระบบ” โดยแนวคิดชุมชนนำของ สสส. เป็นการเปิดพื้นที่ให้ชุมชนมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ช่วยให้ชุมชนเห็นคุณค่าของตนเองและเกิดการมีส่วนร่วมจริงจัง

ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวเปราะบาง ผ่านกลไกการเยี่ยมบ้าน ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมวางแผนพัฒนาพื้นที่ ทำให้เกิดนโยบายที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ ดย. เตรียมปรับแนวทางการทำงาน ในปี 2569 เพื่อหนุนให้จังหวัดเกิดระบบการทำงานที่มาจากชุมชน 3 ด้านสำคัญ 1.ปรับตัวชี้วัดจาก “ปริมาณงาน” เป็น “คุณภาพของกระบวนการ” 2.สนับสนุนให้จังหวัดกำหนดตัวชี้วัดร่วมกับชุมชน 3.สร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วม (Learning Space) ที่ทำให้เจ้าหน้าที่เห็นคุณค่าของการฟังเสียงจากชุมชนมากขึ้น

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เปล่าคว่ำงบฯปี69! ‘ภท.’ ยันไร้เหตุไม่หนุนประโยชน์ประชาชน-พัฒนาชาติ

กม.ไม่ได้ปล่อย‘ผี’ นักวิชาการ มธ.จี้รัฐเคลียร์ให้ชัด‘ขายเหล้าวันพระใหญ่’

ฮือฮา! ปชช.แห่อาบน้ำมนต์‘วัดไผ่เหลือง’ เชื่อแก้‘ปีชง’ พลิกดวงเป็นเศรษฐี

'สมศักดิ์'เผยยังไม่พบผู้ป่วย'โรคแอนแทรกซ์'เพิ่ม เตือนปชช.ในพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังใกล้ชิด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved