29 กันยายน 2562 เพจเฟซบุ๊ค “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช” ได้โพสต์ข้อความว่า เราสามารถพบ “ว่านแผ่นดินเย็นแม่โขง” ได้ตามป่าผลัดใบ จะพบมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย จะออกดอกช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน
โดยแอดมินเพจได้ระบุเนื้อหาข้อความบรรยายว่า #ว่านแผ่นดินเย็นแม่โขง ว่านแผ่นดินเย็นแม่โขง Nervilia mekongensis S. W. Gale, Schuit. & Suddee วงศ์ Orchidaceae เป็นกล้วยไม้ดินชนิดใหม่ของโลก พบตามป่าผลัดใบ พบในไทยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในลาวตอนเหนือ ในเวียดนามตอนเหนือและตอนใต้ และทางด้านตะวันออกของกัมพูชา ออกดอกช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน
คำระบุชนิด “mekongensis” หมายถึงลุ่มน้ำโขง แหล่งที่พบกล้วยไม้ชนิดนี้ ตัวอย่างต้นแบบ Sando 02 เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่านแผ่นดินเย็นแม่โขงมีรูปร่างและขนาดของใบใกล้เคียงกับแผ่นดินเย็นหรือว่านพระฉิม (Nervilia aragoana Gaudich.)
แต่ใบไม่มีแถบหรือแต้มสีม่วงเหมือนชนิดหลัง ลักษณะและรายละเอียดของกลีบปากก็แตกต่างกัน เป็นกล้วยไม้ที่พบมานานแต่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญศึกษาอย่างจริงจัง ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายสถาบันช่วยกันศึกษาและตีพิมพ์ออกมา #กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ #กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่มา : สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี