วันอังคาร ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘สารทดแทนความหวาน’  หวานไม่จริง..ยิ่งทำให้อ้วน

‘สารทดแทนความหวาน’ หวานไม่จริง..ยิ่งทำให้อ้วน

วันพฤหัสบดี ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
Tag : สารทดแทนความหวาน อ้วน
  •  

“ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและมาตรการเก็บภาษีที่สูงขึ้น ทำให้สารพัดแบรนด์เครื่องดื่มต่างทยอยเปิดตัวสินค้าสูตรแคลอรีต่ำรับความต้องการของตลาด”..หากในเวลาเดียวกันนี้ผู้บริโภคบางส่วนกลับให้ความนิยมเครื่องดื่มที่มีการใช้ “สารทดแทนความหวานแทนน้ำตาล” ด้วยความเชื่อที่ว่าตัวเลือกนี้จะดีต่อสุขภาพไปพร้อมๆ กับได้บริโภคเครื่องดื่มแสนชื่นใจเช่นเดิม


“สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Sweetener) ไม่ใช่เรื่องใหม่” แต่ถูกจัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2552 โดยสารที่ว่านี้สามารถนิยามได้กว้างๆ เป็น 2 ประเภทคือ 1.สารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุกโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลจากผลไม้ มอลทิทอล ซอร์บิทอล และไซลิทอล “สารให้ความหวานกลุ่มนี้ ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก”รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวาน

กับ 2.สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส สตีเวีย ซึ่งเป็นสารสกัดจากหญ้าหวาน แอสปาแตม อะซิซัลเฟม-เค แซคคารีน หรือที่เรียกว่าขัณฑสกร “สารให้ความหวานกลุ่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก” มักใช้ทดแทนน้ำตาลสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถบริโภคได้

ข้อดีของสารให้ความหวานคือการกระตุ้นต่อมรับรสหวานได้ และทำให้ผู้บริโภครับรสหวานไม่แตกต่างจากการบริโภคน้ำตาลทรายตามปกติ สารให้ความหวานแทนน้ำตาลหลายชนิดได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และถูกนำมาผสมในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มหลากชนิดจำนวนมาก ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่พยายามลดการบริโภคน้ำตาล ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายและสุขภาพในช่องปาก

ขณะเดียวกัน “ผู้บริโภคมักเข้าใจว่าการบริโภคสารเหล่านี้แทนน้ำตาลจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ภาวะหัวใจวาย อ้วนลงพุง” ถึงตรงนี้ “สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลดีต่อสุขภาพในระยะยาวจริงหรือไม่” จึงเป็นคำถามที่ยังคาใจใครหลายคน ซึ่ง รศ.ทญ.อรนาฏ มาตังคสมบัติ อาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ มีหลักฐานจากการวิจัยในสัตว์ทดลอง และการศึกษาในมนุษย์แบบสังเกตการณ์หลายการศึกษา พบว่า..

“การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลอย่างต่อเนื่องในระยะยาวมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มน้ำหนักหรือดัชนีมวลกาย และการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคสมองเสื่อมได้ ถึงแม้ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าการบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นสาเหตุของการเกิดโรค

แต่ผลการศึกษาเหล่านี้แสดงว่า การบริโภคสารทดแทนน้ำตาล อาจไม่สามารถลดผลเสียต่อสุขภาพได้ ยิ่งการส่งเสริมการขายอาหารและเครื่องดื่มที่ผสมสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เป็น อาหารเพื่อสุขภาพ นั้นทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า การบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มเหล่านี้จะส่งผลดีต่อสุขภาพ และช่วยลดผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดจากการบริโภคน้ำตาลได้อย่างสมบูรณ์”

ผลเสียต่อสุขภาพนี้อาจเนื่องมาจากกลไกการทำงานซึ่งพบว่าหากมีการบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดต่างๆ ซึ่งมีการศึกษาพบว่าสารเหล่านี้สามารถส่งผลต่อเมตาบอลิซึม และกระบวนการทางสรีระวิทยาของร่างกาย เช่น การตอบสนองต่อน้ำตาล การหลั่งอินซูลิน เป็นต้น และอาจส่งผลต่อกลุ่มจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการควบคุมการดูดซึมอาหาร เมตาบอลิซึม และการทำงานของอวัยวะในระบบอื่นๆ

รศ.ทญ.อรนาฏ กล่าวสรุปว่า “การให้คำแนะนำกับผู้บริโภคในการเลือกบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นประจำในระยะยาว เพื่อการควบควบคุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ จึงควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ของการเกิดผลเสียต่อสุขภาพด้วย” โดยควรสนับสนุนให้ผู้บริโภคทดแทนเครื่องดื่มผสมน้ำตาลด้วยน้ำดื่มที่ไม่ได้ปรุงรสหวานมากกว่า

มากกว่านั้น “น้ำตาลเทียมกระตุ้นการตอบสนองของอินซูลินในร่างกาย อีกทั้งการใช้น้ำตาลเทียมนั้น ยังทำหน้าที่หลอกลิ้นซึ่งเป็นอวัยวะรับรสว่าหวาน แต่สมองที่ต้องการน้ำตาลจริงไม่ได้รับน้ำตาลความหวานตามที่ต้องการ จึงอาจเกิดการกระตุ้นทำให้อยากกินน้ำตาลมากขึ้นๆ เพื่อให้หายอยากในภายหลัง และนั้นจึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคอ้วน” สารให้ความหวานที่เราอยากให้เป็นตัวช่วยในการดูแลสุขภาพในตอนแรก

จึงกลายเป็นตัวร้ายในตอนหลังที่ทำโรคภัยที่เราไม่คาดคิดมาก่อนแบบไม่รู้ตัว!!!

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า ปริมาณน้ำตาลที่เติมในอาหารไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน หรือไม่ควรเกิน 4 ช้อนชา สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี ไม่เกิน 6 ช้อนชา สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี และไม่เกิน 8 ช้อนชา สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงาน 2,400 กิโลแคลอรี โดยได้มีการเผื่อไว้สำหรับการได้รับน้ำตาลจากอาหารอื่นโดยไม่ทราบปริมาณ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้จดจำได้ง่ายและเกิดความเข้าใจตรงกัน จึงมีการแนะนำปริมาณน้ำตาลสำหรับคนทั่วไปไว้ว่า ในแต่ละวันไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม (น้ำตาล 1 ช้อนชา จะเท่ากับประมาณ 4 กรัม) โดยให้คำนึงถึงสุขภาพและโรคประจำตัวของแต่ละบุคคลด้วย ปริมาณ 6 ช้อนชาที่ว่านี้ ไม่ได้หมายความว่าในแต่ละวันจะต้องตั้งเป้าว่ากินน้ำตาลได้ 6 ช้อนชา แต่ควรลดปริมาณน้ำตาลต่อวันให้น้อยที่สุด (ข้อมูลจากบทความ “คนแต่ละวัย กินน้ำตาลได้แค่ไหน?” โดยแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ 2019 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ-สสส.)

เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน  

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ทำตามกฎหมาย! 'พงศ์กวิน'แจงโอนหุ้นให้บิดา เป็นการซื้อขาย

ศาลทหารชั้นฎีกา พิพากษาคดี 'น้องเมย' คุก 4 เดือน 16 วัน ให้จำเลยรับใช้ชาติต่อ

'กรมทรัพยากรทางทะเลฯ'ลงพื้นที่'ภูเก็ต'ลุยตรวจสุขภาพเต่าตนุ ประเมินความสมบรูณ์ประชากรเต่าทะเล

'สหรัฐฯ'เปิดเผยเอกสารลับ คดีลอบสังหาร'มาร์ติน ลูเธอร์ คิง'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved