แม่น้ำยมในพื้นที่พิจิตรแห้งเป็นพื้นทราย เกษตรกรยังไม่สามารถทำการเกษตรได้ในช่วงฤดูทำนา เนื่องจากน้ำในแม่น้ำยมไม่มีต้นทุน ขณะที่เกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดหลังประสบปัญหาภัยแล้งแหล่งน้ำธรรมชาติแห้ง ปริมาณไข่เป็ดลดลงเหลือเพียง 60 ฟองต่อวันจากที่เคยเก็บได้ 800-900 ฟองต่อวัน
วันที่ 20 พ.ค.63 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพิจิตรว่า สภาพแม่น้ำยมที่บริเวณบ้านวังปลาทู ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่ตอนบนของจังหวัดพิจิตร แม่น้ำยม ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านอำเภอสามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนาราง และอำเภอโพทะเล ของจังหวัดพิจิตร แห้งจนเห็นผืนทรายตลอดสายของแม่น้ำยมต่อเนื่องมากว่า 5 เดือน มองบนพื้นราบคล้ายใกล้เคียงกับทะเลทรายเนื่องจากมองเห็นท้องแม่น้ำที่เป็นผืนทรายเป็นทางยาวตลอดทั้งลำน้ำ โดยเฉพาะในช่วงกลาง ผืนทรายจะร้อนจัดคล้ายกับทะเลทราย ส่งผลกระทบระบบนิเวศน์ในพื้นที่แม่น้ำโดยเฉพาะพันธุ์สัตว์น้ำและส่งผลกระทบกับเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนาที่ไม่มีน้ำต้นทุนในการทำการเกษตร
ขณะที่โรงสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าที่คอยสนับสนุนการสูบน้ำในแม่น้ำยม ยังคงหยุดเดินเครื่องสูบน้ำ เนื่องจากไม่มีปริมาณน้ำในแม่น้ำยมส่งผลทำให้เกษตรกรชาวนาทั้งสองฝั่งแม่น้ำยม ยังไม่สามารถลงมือทำการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ เนื่องจากไม่มีน้ำต้นทุนในแม่น้ำยม
ทางด้านสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ส่งผลกระทบเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ในพื้นที่ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ที่กำลังประสบปัญหาขาดแหล่งน้ำในการเลี้ยงเป็ด โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ต้องใช้บ่อบาดาลใต้ดินของเกษตรกรชาวนา ที่สูบน้ำบาดาลพร้อมทั้งต้องช่วยจ่ายค่าน้ำมันให้กับชาวนา ทำการสูบน้ำบาดาลนำน้ำใต้ดินขึ้นมาเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งที่เลี้ยงไว้กว่า 2,000 ตัว แทนการเลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งหนอง คลอง บึง ในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งแหล่งน้ำแห้งจนไม่มีน้ำ เกษตรกรจึงต้องใช้วิธีสูบน้ำจากบ่อบาดาลเพื่อเลี้ยงเป็ดแทน
นายเสน่ห์ สารชาติ เกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง กล่าวว่า สำหรับการสูบน้ำบาดาลเพื่อนำมาเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง จากแหล่งน้ำที่แห้วงขอดลง การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง โดยอาศัยน้ำจากชาวนา โดยจะมีค่าใช้จ่ายช่วยชาวนา ด้วยการออกค่าน้ำมันสูบน้ำ ขึ้นมาเลี่ยงเป็ดไล่ทุ่ง ในส่วนช่วงนี้ปริมาณไข่เป็ดที่ลดลงจากที่เคยเก็บได้ 800-900 ฟอง เหลือเพียง 60 ฟองจากผลกระทบจาการภัยแล้งขาดน้ำการเลี้ยงดูเป็ดไล่ทุ่ง
5 ม.ค.64 เวลา 10.00 น. น.ส.พิชามญชุ์ แซ่จึง หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ และคณะ ลงพื้นที่ บ้านยางชุมน้อย ต.ยางชุมน้อย อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ หลั
1 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019หรือโควิด-19 ทำให้ได้รับความเดือดร้อนกันเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือภาค
ภายในสวนยางพาราพื้นที่หมู่ 8 ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง ชาวบ้านจำนวน 18 ครัวเรือนได้ร่วมกันปลูกพืชไร่หรือพืชล้มลุก (พืชระยะสั้น) ใช้พื้นที่ว่างกลางร่องสวนที่เจ้
33ปีที่รอคอย! เชียงรายพัฒนา‘หนองขี้บ้วน’สู่แก้มลิง ป้องน้ำท่วม-สู้ภัยแล้ง
30 สิงหาคม 2563 ที่ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีเกษตรกรหัวใสรู้จักพลิกโอกาสนำเหง้าบัวหลวงที่มีอยู่ในธรรมชาติมาปลูกบัวในถังพลาสติกเก็บสายบัวขายสร
‘คนเถิน’ได้เฮ! กูรูชุดช่วย‘หมูป่า’ ลุยเจาะเจอ‘น้ำบาดาล’ หลังแล้งหนักนับสิบปี
เกษตรกรชาวพิจิตร เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ ‘ปูนาพันธุ์พระเทพ’ ขาย ‘พ่อพันธุ์-แม่พันธ์’ให้กับเกษตรกรรายอื่น จำหน่าย เป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ รูปแบบอื่นๆ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 นางสำเนาว์ นามนไสย อายุ 40 ปี ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยอง หลังได้รับความเดือดร้อนจากกรณีถนนในซอยปู่ปิ่น ม.7 ต.ตาข
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี