วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
เปิดประวัติและปฏิปทา 'หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล' พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน

เปิดประวัติและปฏิปทา 'หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล' พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน

วันเสาร์ ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 18.32 น.
Tag : ปฏิปทา พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน หลวงปู่เสาร์
  •  

ประวัติและปฏิปทา 'หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล' วัดเลียบ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พระครูวิเวกพุทธกิจ (หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล) มีนามเดิมว่าเสาร์ เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม 4 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายทาและนางโม่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 5 คน หลวงปู่เสาร์ ได้เข้าไปพำนักรับใช้เป็นศิษย์วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเรียกว่า วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้เทิง) ตั้งแต่อายุ 12 ปีต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรในปี พ.ศ. 2417 ขณะมีอายุได้ 15 ปี ที่วัดใต้ สังกัดคณะมหานิกาย ขณะที่อยู่วัดใต้นั้นท่านได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรไทยน้อย และหนังสือไทย ตามธรรมเนียมการศึกษาในยุคนั้น


เมื่อถึงคราวที่อายุครบบวช ในปี พ.ศ. 2422 หลวงปู่เสาร์ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในคณะมหานิกายที่วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดใต้ 10 พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 หลวงปู่เสาร์ ได้ฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์ม้าว เทวธมฺมี และเกิดความเลื่อมใส จึงขอมอบตัวเป็นศิษย์และกระทำญัตติกรรมใหม่ในคณะธรรมยุติกนิกาย ณ พระอุโบสถวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) มีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลวงปู่เสาร์ ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในทางสมถะวิปัสสนา มีความเพียรเป็นเลิศ มีความสงบเสงี่ยม กิริยามารยาทเรียบร้อย สุขุม พูดน้อย และพอใจแนะนำสั่งสอนผู้อื่นในทางนั้นด้วย เป็นผู้ใฝ่ใจในธุดงควัตรหนักแน่นในพระธรรมวินัย ชอบวิเวกและไม่ติดถิ่นที่อยู่ ต้องเดินธุดงค์ไปหาวิเวกเจริญสมณธรรมตามชายป่าดงพงเขาในที่ต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศลาว

ปีพุทธศักราช 2434-2436 หลวงปู่เสาร์ ได้ธุดงค์ผ่านหมู่บ้านคำบง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ได้เทศนาสั่งสอนพระอาจารย์มั่น (ภูริทัตโต) สมัยยังเป็นฆาราวาสจนเกิดศรัทธาเลื่อมใสติดตามออกบวช และจุดนี้เป็นความยิ่งใหญ่ของวงศ์พระกรรมฐานตราบจนถึงปัจจุบัน วงศ์พระกรรมฐานจึงขนานนามพระอาจารย์เสาร์ว่า "พระปรมาจารย์กรรมฐาน"

ปีพุทธศักราช 2459-2464 ท่านพำนักจำพรรษาที่ถ้ำจำปา ภูผากูด ตำบลหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร และได้จำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นด้วย วันหนึ่ง หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ในที่สงัดองค์เดียวท่านพิจารณาถึงอริยสัจ ได้รู้ได้เห็นตามความเป็นจริงนั้น ในวันนี้ท่านก็ได้ตัดเสียซึ่งความสงสัยได้อย่างเด็ดขาด จวนจะถึงกาลปวารณาออกพรรษา ท่านก็ทราบชัดถึงความเป็นจริงทุกประการ จึงได้บอกกับท่านพระอาจารย์มั่นว่า "เราได้เลิกการปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริงแล้ว" ท่านพระอาจารย์มั่น ได้ยินดังนั้นก็เกิดปีติเป็นอย่างมากและได้ทราบทางวาระจิตว่า "หลวงปู่เสาร์พบวิมุตติธรรมแน่แล้วในอัตภาพนี้"

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านเจริญพหรมวิหารอยู่เป็นนิจ ถ้าจะเรียกให้สมกับจริยวัตรของท่านแล้วจะกล่าวได้ว่า... ท่านบริสุทธิ์ด้วย กาย วาจา ใจ ล้นเปี่ยมด้วยคุณธรรม ท่านเจริญเดินตามทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทุกประการ คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขานำคณะศรัทธาทั้งหลายให้ได้เจริญคือ "ศีล สมาธิ ปัญญา" ให้ได้รู้เล่ห์เหลี่ยมของกิเลสตัณหาที่เข้ามารบกวน รบเร้าจิตใจให้เตลิดไปต่างๆ เพราะท่านมีความเมตตาสูงสุดนี้ ท่านได้พยายามรวบรวมหนังสือไว้ ชื่อว่า จุตราลักษณ์

จตุราลักษณ์ เป็นหนังสือที่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้แสดงแต่งไว้ สรุปได้ดังนี้

1. ให้มนุษย์เราทุกคน รู้จักระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือให้เจริญพุทธานุสติ

2. ให้มนุษย์เราทุกคน เมื่อเกิดมาแล้ว เข้าใจตนว่านับถือพระพุทธศาสนาแล้ว จงให้เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นอนุสติ

3. ให้มนุษย์เราทุกคน จงรู้ว่าเมื่อเกิดมาแล้ว จงรู้กฏของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่ได้ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงให้รู้ถึงความไม่เที่ยง มีความทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนเราเขา ฉะนั้น จงเจริญอสุภานุสติ

4. ให้มนุษย์เราทุกคน จงพิจารณากองทุกข์ นับตั้งแต่เกิดมาจนวาระสุดท้าย คือ ความตาย เพราะทุกคนหนีความตายไปไม่ได้ จงให้เจริญมรณานุสติ
หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พยายามเน้นให้ทุกคน เปิดใจมองดูตัวเราเองให้กว้างขวางออกไปและได้ปลูกฝังศรัทธาแห่งความเชื่อในเหตุผล ที่องค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเจริญมาแล้วจนสามารถสำเร็จผล หนทางแห่งความดีในที่สุดได้อย่างจริงแท้แน่นอน

 

 

จากหนังสือธรรมวิสัชนา เรื่องแนวปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้

โดยหลักการที่หลวงปู่เสาร์ ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหามานั้น ยึดหลักการบริกรรมภาวนา พุทโธ และอานาปานสติ เป็นหลักปฏิบัติ การบริกรรมภาวนา ให้จิตอยู่ ณ จุดเดียวคือ พุทโธ ซึ่ง พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิต เมื่อจิตมาจดจ้องอยู่ที่คำว่า พุทโธ ให้พิจารณาตามองค์ฌาน 5 คือ การนึกถึง พุทโธ เรียกว่า วิตก จิตอยู่กับพุทโธ ไม่พรากจากไป เรียกว่า วิจารณ์ 

หลังจากนี้ ปีติ และความสุข ก็เกิดขึ้น เมื่อปีติและความสุขเกิดขึ้นแล้ว จิตของผู้ภาวนาย่อมดำเนินสู่ความสงบ เข้าไปสู่ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ ลักษณะที่จิตเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ภาวะจิตเป็นภาวะสงบนิ่งสว่าง ไม่มีกิริยาอาการแสดงความรู้ ในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในสมถะ ถ้าจะเรียกโดยจิตก็เรียกว่า อัปปนาจิต ถ้าจะเรียกโดยสมาธิ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าเรียกโดยฌานก็เรียก อัปปนาฌาน บางท่านนำไปเทียบกับฌานขั้นที่ 5 จิตในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในอัปปนาจิต อัปปนาสมาธิ อัปปนาฌาน จิตย่อมไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้น นอกจากมีสภาวะรู้อยู่อย่างเดียวเท่านั้น

เมื่อนักปฏิบัติผู้ที่ยังไม่ได้ระดับจิต เมื่อจิตติดอยู่ในความสงบเช่นนี้ จิตย่อมไม่ก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอาจารย์เสาร์ผู้เป็นอาจารย์ สอนกรรมฐานในสายนี้ จึงได้เดินอุบายสอนให้ลูกศิษย์พิจารณา กายคตาสติ เรียกว่า กายานุปัสสนาปฏิปทา โดยการพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น โดยน้อมนึกไปในลักษณะความเป็นของปฏิกูลน่าเกลียด เป็นของโสโครก จนกระทั่งจิตมีความสงบลง รู้ยิ่งเห็นจริงตามที่ได้พิจารณา เมื่อผู้ปฏิบัติได้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เห็นสิ่งปฏิกูล ในที่สุดได้เห็นจริงในสิ่งนั้นเห็นว่าเป็นของปฏิกูล โดยปราศจากสัญญาเจตนาใดๆทั้งสิ้น จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นอสุภกรรมฐาน

และเมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาอสุภกรรมฐานจนชำนิชำนาญ จนรู้ยิ่งเห็นจริงในอสุภกรรมฐานนั้นแล้วในขั้นต่อไปท่านอาจารย์เสาร์ได้ได้แนะนำให้พิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นธาตุ 4 ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ จนกระทั่งเห็นเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อรู้จิตเป็นแต่เพียงสักแต่ว่าธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ จิตก้จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่าตามที่พูดกันมาว่า สัตว์ บุคคลตัวตน เรา เขา ไม่มี มีแต่ความประชุมพร้อมของธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตก็ย่อมรู้จักอำนาจของความคิดขึ้นมาได้ว่า ในตัวของเรานี้ ไม่มีอะไรอัตตา ทั้งสิ้น มีแต่ธาตุ 5 ดิน น้ำ ลม ไฟ 

ถ้าหากภูมิจิตของผู้ปฏิบัติจะมองเห็นแต่เพียงกายทั้งหมดนี้ เป็นแต่เพียงธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ รู้แต่เพียงว่าธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ และภูมิจิตของท่านอยู่แค่นั้น ก็มีความรู้เพียงแค่ขั้นสมถกรรมฐาน และในขณะเดียวกันนั้น ถ้าภูมิจิตของผู้ปฏิบัติปฏิบัติความรู้ไปสู่ พระไตรปิฎก คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่ท้จริง ถ้าหากมีอนิจจสัญญา ความสำคัญมั่นหมายไม่เที่ยง ทุกขสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นทุกข์ อนัตตสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่ามิใช่ตัวตนที่แท้จริง ภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ก้าวเข้าสู่ ภูมิแห่งวิปัสสนา

เมื่อผู้ปฏิบัติฝึกฝนอบรมจิตของตนเองให้มีความรู้ด้วยอุบายต่างๆ และมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะของอสุภกรรมฐานโดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จนมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะที่ว่า การเรานี้เป็นแต่เพียงธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ มีความเห็นว่า ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็เป็นแต่เพียงธาตุ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวตน บุคคล เรา เขา ด้วยอุบาย ดังกล่าวแล้ว ผู้ปฏิบัติยึดหลักอันนั้น ภาวนาบ่อยๆ กระทำให้มากๆ พิจารณาให้มากๆ พิจารณาย้อนกลับไปกลับมาจิตจะค่อยๆ ก้าวเข้าสู่ภูมิรู้ ภูมิธรรม เป็นลำดับๆ ไป หลักการปฏิบัติของท่านอาจารย์ก็มีดังนี้

นอกจากหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล จะเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วท่านยังมีความเคร่งครัดทางด้านพระวินัยอย่างมาก ลูกศิษย์ทุกคนสมัยนั้นท่านจะถือเอาวัตรปฏิบัติวิปัสสนาเป็นวิชาเอก คือหมายถึงว่า เมื่อท่านได้อบรมแล้วแสดงพระสัทธรรมให้เป็นที่เข้าใจแล้วท่านจะส่งเสริมลูกศิษย์ทุกรูปให้ถือข้อธุดงควัตร แกออกจากหมู่มุ่งสู่ราวป่า มุ่งความแจ่มแจ้ง ในธรรมที่องค์พระบรมศาสดาทรงรับรองผล

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล มรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบพระประธานครั้งที่ 3 ในพระอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากร จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประเทศไทย ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว) เมื่อวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 สิริอายุ 82 ปี 3 เดือน 1 วัน พรรษา 62 คณะศิษย์ได้เชิญศพของท่านกลับมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ทำการฌาปนกิจในวันที่ 15 - 16 เมษายน พ.ศ. 2486

 

ศิษย์องค์สำคัญ
พระครูวินัยธร พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
พระครูญาณโสภิต พระอาจารย์มี ญาณมุนี วัดป่าสูงเนิน จ.นครราชสีมา
พระอาจารย์สีเทา บ้านแวง จ.ยโสธร
พระอาจารย์พรม บ้านโคกก่อง จ.ยโสธร
พระอาจารย์บุญมาก ฐิตปญฺโญ วัดอำมาตย์ จำปาศักดิ์ ประเทศลาว
พระอาจารย์ดี ฉนฺโน
พระอาจารย์กินรี จนฺทิโย วัดป่ากันตสีลาวาส จ.นครพนม
พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล วัดป่าบ้านคุม จ.อุบลราชธานี
พระครูภาวนานุศาสตร์ พระอาจารย์อสาย จารุวณฺโณ วัดป่าหนองยาว จ.อุบลราชธานี
พระอาจารย์พรม กุดน้ำเขียว อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
พระอาจารย์ทา วัดถ้ำซับมืด อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
พระอาจารย์กงแก้ว ขนฺติโก วัดป่ากลางสนาม จ.มุกดาหาร
พระอาจารย์ปุ่น ฉนฺทโก วัดป่าฉันทาราม บ้านคำแดง จ.ยโสธร
พระอาจารย์กิ ธมมุตตโม วัดป่าสนามชัย จ.อุบลราชธานี
พระอาจารย์พร สจฺจวโร วัดบ้านแก่งยาง อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี
พระครูปัญญาวิสุทธิ์ พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส วัดป่าพระสถิตย์ จ.หนองคาย
พระเทพสังวรญาณ พระอาจารย์พวง สุขินฺทริโย วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร
พระอาจารย์กองแก้ว ธนปญฺโญ วัดป่าเทพบุรมย์ บ้านแก่งยาง อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
พระอาจารย์อวน ปคฺคุโณ วัดจันทิยาวาส บ้านนามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม
...................
ข้อมูล/ภาพจาก "วิกิพีเดีย" และ "ลานธรรมจักร"
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สายบุญร่วมรำลึก! 51 ปีมรณกาล‘หลวงปู่จันทร์ เขมิโย’พระเถระสายธรรมยุต สายบุญร่วมรำลึก! 51 ปีมรณกาล‘หลวงปู่จันทร์ เขมิโย’พระเถระสายธรรมยุต
  •  

Breaking News

'เอกนัฏ'ส่ง สุดซอย ปูพรมกวาดล้าง ปิดตาย โรงงานหล็กผี IF จัดโทษหนัก เช็คบิล ขรก.มีเอี่ยว

สืบกระทุ่มแบนบุกรวบ 2 ตีนแมวคารังนอนพร้อมอาวุธปืน

'ภคมน ลิซ่า' สอน 'ณัฐวุฒิ' เก็บอาการหน่อย! บอกควรยืนข้างนายกฯ ไม่ใช่พ่อของนายกฯ

ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่! 'พานาโซนิค'เตรียมเลย์ออฟพนักงาน10,000ตำแหน่งทั่วโลก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved