วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘ดนตรีมังคละ’…โรงเรียนไกรในวิทยาคม หนุนสืบสานมรดกทรงคุณค่า‘เมืองพระร่วง’

‘ดนตรีมังคละ’…โรงเรียนไกรในวิทยาคม หนุนสืบสานมรดกทรงคุณค่า‘เมืองพระร่วง’

วันจันทร์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 21.37 น.
Tag : ดนตรีมังคละ เมืองพระร่วง โรงเรียนไกรในวิทยาคม สุโขทัย
  •  

‘ดนตรีมังคละ’…โรงเรียนไกรในวิทยาคม หนุนสืบสานมรดกทรงคุณค่า‘เมืองพระร่วง’

15 กุมภาพันธ์ 2564 นายเคียง ชำนิ ครูสอนสังคมศึกษาและดนตรีไทย โรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก (นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น) ผู้อนุรักษ์ภาษาถิ่นสุโขทัยดีเด่น และรางวัลวัฒนคุณาธร ปี 2555 , รางวัลผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ปี 2562 , รางวัลครูเจ้าฟ้ามหาจักรีระดับจังหวัด ปี 2563 เปิดเผยว่า โรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ได้มีการถ่ายทอดวิชาความรู้ดนตรีมังคละ เอกลักษณ์สุโขทัย มาตั้งแต่ปี 2546 ถึงปัจจุบันก็นาน 17 ปีแล้ว ที่ร่วมอนุรักษ์และสืบสานมรดกอันทรงคุณค่านี้


“กลองมังคละ” หรือบังคละ หรือปี่กลอง หรือโจ๊กโกร๊ด หรือตุ๊บเก๋ง (ตามแต่ละท้องถิ่นเรียก) ซึ่งเหลือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาอยู่ในท้องที่ภาคเหนือตอนล่างหลายจังหวัด จากการสืบค้นก็พบร่องรอยหลักฐานหลายชิ้น ทั้งจากศิลาจารึกและวรรณกรรมสมัยสุโขทัย เช่น ศิลาจารึกหลักที่ 1 ไม่ได้กล่าวถึงกลองมังคละไว้โดยตรง แต่กล่าวถึงกลองชนิดหนึ่งที่มีขนาดไม่เล็ก ไม่ใหญ่ ไม่หนัก ไม่เบา พอที่จะอุ้มหรือสะพายไปได้โดยสะดวก เพราะกลองชนิดนี้จักต้องร่วมบรรเลงอยู่ในขบวนแห่ หรืออยู่ในขบวนรื่นเริง รวมทั้งศิลาจารึกหลักที่ 8 , หนังสือไตรภูมิพระร่วง , ศิลาจารึกวัดอโสการาม และตำนานพระธาตุแช่แห้ง หรือพื้นเมืองน่าน ก็มีการกล่าวถึง

นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานจากภาพลายเส้นประกอบจารึกสมัยสุโขทัย ในแผ่นภาพชาดกวัดศรีชุม ภาพที่ 71 ชื่อ “เภรีวาทกชาดก” ปรากฏภาพของเทวดากำลังตีกลอง ไม่เพียงเท่านั้น ภาพชาดกวัดศรีชุมแห่งนี้ ยังเหมือนกับภาพวาดวงกลองมังคละที่เก่าแก่ และเก็บไว้พิพิธภัณฑ์ประเทศเมียนมา

อีกทั้งยังมีหลักฐานจากภาพสลักนูนต่ำที่ปราสาทหินพิมาย ศิลปะลพบุรี , หลักฐานจากภาพสลักนูนต่ำที่ปราสาทหินนครวัด ศิลปะขอม , หลักฐานจากภาพสลักนูนต่ำ และเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวจาม ศิลปะจาม , หลักฐานจากภาพสลักนูนต่ำที่บูโรบูโด (บรมพุทโธ) ศิลปะชวา และหลักฐานจากภาพสลักนูนต่ำที่ซุ้มประตูสาญจี ศิลปะอินเดียโบราณ อีกด้วย

จากข้อมูลพอสรุปได้ว่า กลองมังคละนั้นมีกำเนิดมาจากอินเดียแน่นอน เพราะปรากฏภาพสลักนูนต่ำของดนตรีชนิดนี้ไว้เก่าสุดถึง 2,000 ปี อินเดียเรียกว่า “ปัญจดุริยพาทย์” ต่อมาปักหลักที่ลังกาพร้อมกับพระพุทธศาสนา และกระจายสู่สุวรรณภูมิ เช่น มอญ ชวา จาม ขอม ดังปรากฏในภาพสลักนูนต่ำของแต่ละอารยธรรม แล้วเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยสุโขทัย หรือก่อนหน้านั้น โดยจะเข้ามาทางมอญในสมัยพระญาลิไท หรือเข้ามาทางนครศรีธรรมราชในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือเข้ามาทางขอมในสมัยก่อนสุโขทัยก็ได้

กลองมังคละมีหน้าที่รับใช้ศาสนาและพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้คนทุกระดับชั้น ในราชสำนักเรียกว่า “วงปี่ไฉนกลองชนะ” นอกราชสำนักเรียกว่า “กลองมังคละหรือปี่กลอง” สามารถบรรเลงได้ทั้งงานมงคล และงานอวมงคล

ครูเคียง กล่าวอีกว่า สำหรับในภาคเหนือตอนล่าง ดนตรีชนิดนี้ลงหลักปักฐานอยู่ทั่วบริเวณลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำน่าน โดยเฉพาะที่เมืองสุโขทัย สวรรคโลก พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ มีผู้คนซึ่งสืบเชื้อสายไทเลือง และพูดภาษาถิ่นสุโขทัยเป็นผู้สืบทอด ส่วนใหญ่บรรเลงในงานที่เป็นมงคล แต่ก็มีบ้างที่บรรเลงในงานศพ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เอกลักษณ์สุโขทัยใกล้สูญ! ขนส่งส่อยกเลิกต่อทะเบียนรถโดยสารคอกหมู เอกลักษณ์สุโขทัยใกล้สูญ! ขนส่งส่อยกเลิกต่อทะเบียนรถโดยสารคอกหมู
  • ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง คือฟอสซิล‘ฟิวซูลินิด’ อายุ 359-252 ล้านปี ไขคำตอบ‘เมล็ดข้าว’ในหินพระร่วง คือฟอสซิล‘ฟิวซูลินิด’ อายุ 359-252 ล้านปี
  •  

Breaking News

พี่โต๊ะคืนสังเวียน!การกลับมาให้เสียง'แจ็คกี้ ชาน'งานพากย์เสียงไทยเรื่องแรกหลังปิดตำนานทีมพากย์พันธมิตร

BNK48 & CGM48 ฟิตจัด ชวนชมโชว์สุดเซอร์ไพรส์ใน '7 สีคอนเสิร์ตเฟสติวัล'

'บี้ ธรรศภาคย์'เคยถูกโจรตีหน้าด้วยไม้เบสบอล! เล่าจุดเปลี่ยนชีวิตจากความเจ็บปวด

ส.ก.จี้ผู้บริหารแก้ปัญหากลิ่นเหม็น-เขม่าควันโรงขยะอ่อนนุช ทำคนเดือดร้อน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved